logo

“เงินสนับสนุนเกษตรกร” สูงสุด 1 หมื่นบาท หมดเขต 31 สิงหาคม นี้

เงินสนับสนุนเกษตรกร

"เงินสนับสนุนเกษตรกร" ข่าวดี เกษตรกรผู้เลี้ยง สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ยื่นขอรับการสนับสนุนค่าอาหารสัตว์ สูงสุด 10,000 บาท ได้ถึง 31 สิงหาคม นี้

“เงินสนับสนุนเกษตรกร” เงินช่วยเหลือเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ปี 66 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร เงินค่าอาหารสัตว์เกษตรกร เป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับเกษตรกร เมื่อทางด้าน กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวเกษตรกรผู้เลี้ยง สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ยื่นขอรับการสนับสนุนค่าอาหารสัตว์ สูงสุด 10,000 บาท จากเดิมหมดเขต 12 สิงหาคม เลื่อนเป็น 31 สิงหาคม นี้ ดูเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ 2566 ดำเนินการโดยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สามารถยื่นเข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นี้ หลังจากโครงการดังกล่าว ได้ขยายเวลาในการยื่นขอรับการสนับสนุน จากเดิมที่สิ้นสุดในวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

เงินสนับสนุนเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ปี 66 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร เงินค่าอาหารสัตว์เกษตรกร

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โครงการดังกล่าว ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อย รายเล็ก และรายกลาง ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์ ได้รับมาตรฐานฟาร์มไม่น้อยกว่า GFM (มีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม) หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์

โดยจะสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ ในอัตราไม่เกินกิโลกรัมละ 1 บาท ปริมาณรายละไม่เกิน 10 ตัน หรือวงเงินสนับสนุนรายละไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ได้กำหนดจำนวนการเลี้ยงสัตว์ตามเกณฑ์ คือ ผู้เลี้ยงสุกร ไม่เกิน 5,000 ตัว , ผู้เลี้ยงไก่ไข่  ไม่เกิน 100,000 ตัว , ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ  ไม่เกิน 100,000 ตัว

เงินสนับสนุนเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ปี 66 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร เงินค่าอาหารสัตว์เกษตรกร

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ เพื่อดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ซึ่งเป็นสินค้าปศุสัตว์สำคัญและจำเป็นต่อการบริโภคของประชาชน

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ต้องการยื่นคำร้อง ขอรับการสนับสนุน สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอจากระบบขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ (http://feed.dit.go.th) หรือติดต่อขอรับที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัด โดยยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมประชาสัมพันธ์

เงินสนับสนุนเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ปี 66 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร เงินค่าอาหารสัตว์เกษตรกร

OfficeMate จัดแคมเปญ Health Wellness

ไอเทมเพื่อสุขภาพ ลดสูงสุด 17% ซื้อ 1 แถม 1 + แถมฟรี* พรีเมียมอีกเพียบ

ระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2566

อยากช้อป : คลิกเลยที่นี่ 

เงินสนับสนุนเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ปี 66 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร เงินค่าอาหารสัตว์เกษตรกร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น