7 สัญญาณเตือนโรค “นอนเกิน” ง่วงตลอดเวลา ความสุขบนความเสี่ยง

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

รู้หรือไม่ ขี้เซา ง่วงนอนตลอดเวลา เสี่ยงโรค "นอนเกิน" โรคแห่งความสุขบนความเสี่ยง จาก 7 สัญญาณเตือนที่ไม่เคยรู้ กระทบ 5 เสี่ยงร่างกายพังไม่รู้ตัว

ใครมีปัญหาขี้เซา ง่วงนอนตลอดทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เช็ค 7 สัญญาณเตือนนี้ เข้าข่าย โรค “นอนเกิน” กระทบร่างกายพังไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ใครมีอาการขี้เซา ไม่อยากลุกจากเตียง ง่วงนอนตลอดทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ อย่าชะล่าใจ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค “นอนเกิน” (Hypersomnia) ชวนทำความรู้โรคใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้ พร้อมแนะเคล็ดลับการนอนอย่างไร ให้สุขภาพดี

โรคนอนเกิน คืออะไร ?

  • เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้
  • มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว
  • แต่เกิดจากโรคทางกาย หรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

7 สัญญาณอันตรายโรคนอน เกิน

  • ตื่นนอนยาก ขี้เซามาก
  • นอนเท่าไรก็ไม่พอ เพราะ ยังรู้สึกง่วง เพลีย อยู่ตลอดเวลา
  • อยากจะงีบนอนวันละหลาย ๆ ครั้ง
  • หากมีอาการหนักมาก อาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ที่ไม่ควรหลับ เช่น
    • ทานข้าว
    • อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดัง
    • ระหว่างทำงาน
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกับเรื่องเล็กน้อย
  • ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดช้าทำช้า
  • วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

 

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายตอบสนองนอนเท่าไรก็ไม่พอ

  • อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อยจนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
  • นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก
  • ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกานนอนมากผิดปกติ
  • นอนกรน มีภาวการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
  • เนื้องอกในสมอง และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้อยากนอนตลอดเวลา

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

5 ผลเสียจากการนอนมากเกินไป

สมองทำงานช้า

  • พอสมองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา
  • ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

อ้วนง่าย

  • การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน
  • ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน

มีบุตรยาก

  • ผลจากการศึกษาผู้หญิงเกาหลีใต้ ในปี 2013 พบว่า ผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเกิดภาวะมีบุตรยากกว่าคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง ถึง 650 คน
  • เพราะ ฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี

อายุสั้น

  • คนที่หลับง่ายและนอนนาน ๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย
  • ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%

โรคซึมเศร้า

  • ในปี 2012 ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมง นั้นจะมีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลง เพราะ สารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง
  • ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

5 วิธีจัดการอาการง่วงนอนตลอดเวลา

ตั้งเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม

  • เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะปกติร่างกายของคนเราจะนอนหลับเป็นรอบ
  • ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ
  • ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้เรามีโอกาสที่จะนอนได้หลับลึกมากยิ่งขึ้น

กำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน

  • ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่นโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก

จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี

  • ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมอง เซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา

ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ

  • สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และยังทำให้ร่างกายแอ็คทีฟด้วย

งดอาหารจังค์ฟู้ด น้ำอัดลม แป้งขัดขาว เบเกอรี่

  • ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ร่างกายคุมไม่ได้ ทำให้ง่วง เนือย ตอนที่ระดับน้ำตาลตก

ข้อมูล : princsuvarnabhumi


Mercular : NOTEBOOK WEEK

ลดสูงสุด 40,000.- เก็บคูปองลดเพิ่มสูงสุด 10,000.-

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น