หงายเงิบ 3 นิ้วปั่นดราม่า “VATภาษีเหลื่อมล้ำ เพิ่มเป็น 10%” เจอเบิกเนตรประเทศในฝันเก็บ 22%

หงายเงิบ 3 นิ้วปั่นดราม่า "VATภาษีเหลื่อมล้ำ เพิ่มเป็น 10%" เจอเบิกเนตรประเทศในฝันเก็บ 22%

กำลังเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟสบุ๊กยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ซึ่งเป็นแนวร่วมม็อบ 3 นิ้ว ได้โพสต์ข้อความเรื่อง “VAT คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ” โดยระบุรายละเอียดตอนหนึ่งว่า การที่ไม่นานมานี้สภาพัฒน์เสนอขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 10% นั้น โดยอ้างว่าต้องการเก็บเพื่อนำมาจัดสรรสวัสดิการให้คนสูงวัยในอนาคต คือการพยายามขูดรีดคนรากหญ้า แทนที่จะเป็นการลดงบกองทัพ หรืองบที่ไม่ได้มีความจำเป็นแก่การพัฒนาประเทศเพื่อนำมาสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าให้กับคนทุกวัย พร้อมให้ข้อมูลอีกว่า สาเหตุที่ VAT ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาษีที่ไม่เป็นธรรม เพราะ “ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงเท่ากับผู้ที่มีรายได้สูง” ทำให้หากมีการขึ้นภาษี VAT ไปมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ เราจึงสามารถเรียกได้ว่า VAT คือ “ภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ” ส่วน “ภาษีขั้นบันได” ถือเป็นคำตอบให้กับการแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสังคมไทย

ซึ่งโพสต์ดังกล่าว ได้มีผู้ใช้เฟสบุ๊กเข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ต่างแสดงความไม่เห็นด้วย พร้อมกับให้ข้อมูลอีกด้าน เช่น นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตทีมโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ที่ได้เข้ามาแสดงความเห็นว่า “ประเทศที่พวกคุณไปชื่นชมเขาซะเหลือเกินในยุโรป VAT เฉลี่ยอยู่ที่ 22% นะครับ โดยเฉพาะสแกนดินิเวีย ที่ชอบบอกว่าเป็นกลุ่มประเทศในฝัน หากวันๆจะโวยวายไม่อยากจ่ายภาษีสูงขึ้น (10% นี่ก็โคตรต่ำละ) แต่อยากมีคุณภาพชีวิตดี ใครจะเสกสิ่งนี้ให้ได้บ้าง มีแต่พวกขี้แพ้นะ ที่คิดแต่จะได้แบบนี้”

นอกจากนี้ยังมีความเห็นของผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ Katanyoo Tungmepol ที่ได้แชร์ข้อความว่า คนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องอยากได้รัฐสวัสดิการแบบประเทศในกลุ่มสแกนดินิเวีย เลี้ยงดูกันไปตั้งแต่เกิดจนตาย โดยอ้างว่า ตัวเองจ่าย VAT เยอะแล้ว พอมีแนวคิดจะขึ้น VAT เป็น 10% ซึ่งเป็นอัตราปกติ ที่เราจ่าย 7% นี่เป็นอัตราลดมาเนิ่นนาน ก็โวยวายว่า VAT เป็นภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ ควรจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า
1.Income Tax เก็บเป็นขั้นบันไดอยู่แล้ว แต่มีคนจ่ายแค่ 4 ล้านคน ต้องแบกรับภาระคนทั้งประเทศ
2.VAT ที่ไหนก็เก็บเป็น flat rate แล้วมันก็ยุติธรรม เพราะคนรวยที่ซื้อของเยอะ ก็ต้องจ่าย VAT เยอะ ธุรกิจที่ขายของได้เยอะ ก็ต้องนำส่ง VAT เยอะ
3.ถ้าอยากได้รัฐสวัสดิการแบบสแกนดินิเวีย ก็ช่วยดูด้วยว่า เค้าจ่าย VAT กัน 25% ไหวไหมล่ะ นี่ยังไม่นับ Income Tax ที่เค้าจ่ายอัตราสูงสุดเกิน 50% แถมยังมีฐานภาษีที่กว้างมากด้วย
4.หลายคนไม่ยอมศึกษาระบบประกันสังคมของไทย ซึ่งออกแบบมาดูแลแรงงานในระบบตั้งแต่เกิดจนตาย โดยใช้หลักคิด co-pay ร่วมกันจ่าย 3 ฝ่าย : รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง เมื่อคน 10+ ล้านคนอยู่ในระบบนี้แล้ว รัฐจึงมีภาระดูแลเฉพาะคนที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ ซึ่งรัฐต้องจ่ายฝ่ายเดียว
5.ประเทศที่ล้มละลายเพราะให้สวัสดิการมากไปก็มี แม้แต่สวีเดนเองก็ต้องทยอยลดสวัสดิการลงเพราะรัฐแบกภาระไม่ไหว
การที่อินฟลูเอนเซอร์ นำเสนอข้อมูลบิดเบือน ก็ไม่ต่างอะไรกับ Propaganda ที่หวังผลทางการเมือง แล้วเราก็จะอยู่กันในโลกที่ถกเถียงกันด้วยข้อมูลผิดๆ แบบนี้ไปอีกนาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับประเด็นนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก นางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยถึงแนวทางการออมเงินของผู้สูงอายุว่า คณะกรรมการปฏิรูปสังคม และ สศช. เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีคือ การปรับเพิ่มอัตราภาษี VAT 10% จากเดิม 7% เพื่อนำเอาภาษีที่ปรับขึ้นมาทำระบบเงินออมให้กับประชาชนเพื่อให้มีเงินใช้ในวัยเกษียณ โดยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอีก 3% รัฐบาลอาจออกกฎหมายเฉพาะมาเพื่อนำเงินที่รัฐเก็บภาษีในส่วนนี้มาเป็นเงินออมของประชาชนเพื่อใช้ในวัยเกษียณ แต่ต่อมา นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่าขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นภาษีVAT เป็น 10% แต่อย่างใด

ทั้งนี้ประเทศไทย ได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แต่ได้บรรเทาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เป็นระยะ จะมีเพียงในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เท่านั้นที่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10

 

ส่วนประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก มีการเก็บภาษี VAT ในอัตราต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น VAT 8% เกาหลีใต้ VAT 10% จีน VAT 17% ออสเตรเลีย VAT 10% นิวซีแลนด์ VAT 12.5% นอร์เวย์ VAT 25%สหราชอาณาจักร VAT 20% เยอรมนี VAT 19% ออสเตรีย VAT 20% เดนมาร์ก VAT 25%ฟินแลนด์ VAT 23% ฝรั่งเศส VAT 19% อิตาลี VAT 20% แคนาดา VAT 7 25%
ขณะที่สหรัฐอเมริกา การเก็บภาษีการค้าไม่ได้เรียกว่า VAT แต่เป็นภาษีการขายเรียกว่า Sales Tax ซึ่งแต่ละรัฐจะเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน และเป็นการเรียกเก็บค่าบริการโดยตรงกับผู้ซื้อ ยังไม่รวม ภาษีรัฐ หรือ Stage Tax ที่เพิ่มเติมมาต่างหาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วส่วนใหญ่รจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงมาก ซึ่งนั่นทำให้รัฐบาลมีงบประมาณมากเพียงพอจะไปจัดสรรการบริหารราชการแผ่นดินได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ประชาชนต้องการ นอกจากจะเก็บ VAT ได้สูงแล้ว ภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ก็ยังจัดเก็บในอัตราที่สูงและครอบคลุมประชาชนเกือบทั้งหมด โดยจัดเก็บกันที่ 40% ขึ้นไป และครอบคลุมประชากรมากกว่า 80%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น