“ดร.อานนท์” ชงข้อเสนอน่าคิด “ก้าวไกล-เป็นธรรม” โชว์ใหญ่ตั้งกมธ.แก้ปัญหาผู้ลี้ภัยเกือบแสนชีวิตในไทย

"ดร.อานนท์" ชงข้อเสนอน่าคิด "ก้าวไกล-เป็นธรรม" โชว์ใหญ่ตั้งกมธ.แก้ปัญหาผู้ลี้ภัยเกือบแสนชีวิตในไทย

จากกรณีเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2566 ตัวแทน สส.ก้าวไกล นำโดย มานพ คีรีภูวดล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ธิษะณา ชุณหะวัน สส.กทม.พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย กัณวีร์ สืบแสง สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม แถลงข่าวการขอยื่นญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งในประเทศไทย และผู้หนีภัยจากการสู้รบแนวชายแดนไทยพม่า

โดยมานพ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยและผู้หนีภัยการสู้รบในประเทศไทยมากกว่า 70,000-90,000 คน กระจายอยู่ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และคงอยู่ในสถานะที่ไม่ได้ถูกยอมรับว่าเป็นผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการ เพราะประเทศไทยไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย สถานะของผู้ลี้ภัยจึงใช้คำว่าผู้พักพิงชั่วคราว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ชีวิตความเป็นมนุษย์ ความเป็นคน ในสถานะที่เป็นผู้ลี้ภัย อยู่อย่างยากลำบาก ซึ่งประเทศไทยต้องแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้ได้ ในบทบาทสภาผู้แทนราษฎร จึงขอเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อที่จะแก้ไขเรื่องนี้ เพื่อที่จะสามารถดึงบุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องการระหว่างประเทศ เรื่องความมั่นคง และเรื่อง อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเป็นคณะกรรมการวิสามัญได้ เพื่อพิจารณาว่าจะแก้ไขปัญหาคนเหล่านี้ในระดับภายในประเทศอย่างไร จะร่วมมือกับนานาประเทศได้อย่างไร รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านต้นทาง จะร่วมมือกันอย่างไร


ส่วนทางด้านนายกัณวีร์ สืบแสง พรรคเป็นธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยยังนิยามว่าประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย 0 คน แต่ความจริงผู้หนีภัยอยู่ในไทยมากกว่า 91,000 คน ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งในแนวชายแดนมานานกว่า 43 ปีแล้ว เรายังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ความจำเป็นที่ต้องมีกรรมาธิการ เพื่อใช้กรอบของกฎหมายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการออกแบบกฎหมายนำไปสู่การแก้ปัญหา ยุติสุญญากาศทางกฎหมาย ประเทศไทยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกลไกในการพิจารณาสถานะผู้ที่ไม่สามารถกลับสู่มาตุภูมิได้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจะมีผลบังคับใช้ในเดือนหน้า เป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องแก้ไขด้วยกฎหมาย

“พี่น้องที่อยู่บริเวณชายแดน 91,000 กว่าคน นาน 43 ปี ยังไม่ทราบเลยว่าเขาจะอยู่อย่างไร เกิด แก่ เจ็บ และตายอยู่ในศูนย์พักพิงโดยไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยังไม่นับถึงชาวอุยกูร์ที่ถูกขังลืมในห้องกัก ตม.นานถึง 9 ปี เป็นจำนวนเกือบ 50 คน หรือชาวโรฮิงญาที่หนีภัยประหัตรประหารมาเป็นคนไร้สัญชาติ จึงต้องมองเห็นแก่นของปัญหาคือการลี้ภัย หนีภัยประหัตประหาร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเร่งด่วนโดยใช้กรอบกฎหมาย”

รัฐไทยต้องไม่มองผู้ลี้ภัยเป็นภาระในการดูแล ไม่ใช่ภัยความมั่นคง แต่ต้องผลักดันให้เขาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ให้เขาทำงาน จ่ายภาษีให้ประเทศไทย เป็นมนุษย์เหมือนเราทุกคน หากเราไม่มองมนุษย์เป็นมนุษย์แล้ว ประเทศไทยจะมีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศยากจริงๆ ในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศอย่างสง่าผ่าเผย ต้องเป็นผู้นำ ทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม

 

ล่าสุดดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุถึงประเด็นนี้ว่า “ให้สองพรรคนี้ออกเงินรับไปดูแล​ เอาไปเป็นคนงานของไทยซัมมิทสิ” ท่ามกลางคอมเมนต์จากโซเชียลที่มองว่า 2 พรรคนี้เป็นอะไร ที่สนใจคนชาติอื่น มากกว่าคนไทยด้วยกันเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น