“นิพิฏฐ์” ยกคำวินิจฉัยศาลฎีกา ไขอายุความคดี “อิทธิพล คุณปลื้ม” จะนับย้อนหลังได้หรือไม่

"นิพิฏฐ์" ยกคำวินิจฉัยศาลฎีกา ไขอายุความคดี "อิทธิพล คุณปลื้ม" จะนับย้อนหลังได้หรือไม่

8 ก.ย. 2566 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ *คดีอาญานับอายุความย้อนหลังได้หรือไม่” โดยระบุว่า

มีข่าวใหญ่เรื่อง พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอออกหมายจับอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งคดีจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566

ปัญหามีว่า คดีนี้เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 และคดีนี้มีอายุความ 15 ปี ซึ่งจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566

ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ศาลออกหมายจับใหม่ อ้างว่า ผู้ต้องหาหลบหนี เพราะตามกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ ปี 2561 มาตรา 7 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 13 หากหลบหนีระหว่างคดีจะไม่นับอายุความ (ไม่ขาดอายุความ)

 

นิพิฏฐ์' เรียกลูกสาวกลับจากอังกฤษ หลังขาดแคลนอุปกรณ์ป้องโควิด ยันสถานการณ์ไทยยังดีกว่ายุโรป - สยามรัฐ

ข่าวที่น่าสนใจ

แล้วคดีนี้ จะนับอายุความอย่างไร? เห็นว่า

1.คดีนี้ เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 ขณะนั้นยังไม่มีเรื่องการไม่นับอายุความเพราะหลบหนี จึงต้องนับอายุความทั่วไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 เมื่อไม่ได้ตัวมาฟ้องภายในอายุความ (คือ 15 ปี) จึงขาดอายุความ

2.แม้อายุความไม่ใช่โทษทางอาญา แต่การนำอายุความย้อนหลังมาใช้กับคดีที่เกิดก่อนกฎหมายบังคับใช้ ศาลไทยก็เคยวินิจฉัยไว้ว่า จะนำอายุความมาใช้ย้อนหลังไม่ได้

3.ศาลฎีกา เคยวินิจฉัยไว้ ไม่ให้นำอายุความมาใช้ย้อนหลัง และยืนแนวนี้มาตลอด คือ ฎีกาที่ 17905/2557, ฎีกาที่ 9955/2558, ฎีกาที่ 10166/2558, ฎีกาที่ 10616/2558, ฎีกา (ประชุมใหญ่ ที่ 14/2560, คดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อม.ที่1/2551 และ อม.4/2551

กล่าวโดยสรุป เห็นว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีจนเลยวันที่ 10 กันยายน 2566 แม้ศาลอาญาทุจริต (ศาลชั้นต้น) จะออกหมายจับใหม่ การจับตามหมายจะชอบหรือไม่ชอบ ก็คงต้องสู้เรื่องนี้กันก่อนจนถึงศาลฎีกา และหากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจับได้ เนื่องจากอายุความยังไม่ขาด ก็ต้องกลับคำวินิจฉัยเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยไว้ทั้งหมด ขอยกคำวินิจฉัยเดิมที่เคยวินิจฉัยไว้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 14/2560 ความว่า” บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันยื่นฟ้อง ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 25 ไม่นำมาใช้บังคับแก่คดีที่ยื่นคำร้องไว้ แต่ยังไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามายังศาลจนครบอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95″

4.การสู้กันตามหลักกฎหมาย สู้ไปเถอะครับ ไม่ผิดอะไร หนีเพียง 3 วัน ให้ขาดอายุความ ง่ายกว่าหนี 17 ปี แล้วกลับมานอนโรงพยาบาล

 

 

 

ผมเขียนเรื่องนี้ มิใช่เพราะผู้หลบหนี เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นหลังผม แต่เห็นว่า เรื่องนี้มีอะไรแปลกๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่แปลกอย่างไร อย่าเขียนดีกว่า

อย่าลืมนะครับ เราอยู่ในประเทศไทย ที่ไม่มีอะไรแน่นอน

กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่มีความแน่นอน ดีกว่ากฎหมายที่เป็นธรรมแต่มีความไม่แน่นอน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น