Sir Ian Wilmut ผู้สร้าง “แกะดอลลี่” เสียชีวิตในวัย 79 ปี

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

อาลัย Sir Ian Wilmut นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้าง "แกะดอลลี่" สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตในวัย 79 ปี

อาลัย ศาสตราจารย์ Ian Wilmut นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้กำเนิด “แกะดอลลี่” การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่ สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตในวัย 79 ปี  ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

วงการวิทยาศาสตร์สูญเสียบุคคลสำคัญอีกครั้ง เมื่อนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist) ชื่อดังก้องโลกอย่าง Sir Ian Wilmut ผู้ให้กำเนิด “แกะดอลลี่” สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตแล้วในวัย 79 ปี

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นผลงานอันโด่งดังที่เกิดขึ้นในปี 1996 โดย Sir Ian Wilmut เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ที่สามารถสร้างสิ่งมีชีวิตแบบที่ไม่ต้องผสมพันธ์ุกัน (ระหว่างไข่และอสุจิ) แต่ใช้วิธีโคลนนิ่งตัดต่อพันธุกรรมแทน โดยใช้นิวเคลียสของเซลล์ร่างกายฝากไว้ในเซลล์ไข่ แล้วฝากไว้ในท้องของแม่อุ้มบุญ

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

 

ผ่านการทดลองและวิจัยกว่า 277 ครั้ง และความพยายามตั้งครรภ์ในแม่อุ้มบุญอีกว่า 13 ตัวต่อครั้ง จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ เกิดเป็น แกะ ดอลลี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 1996 แต่สุดท้าย แกะ ดอลลี่ ก็มีอายุอยู่ได้แค่ 6 ปีเท่านั้น จากปัญหาสุขภาพ

แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จครั้งหนึ่งในปี 1996 ถึงแม้จะดูเป็นข่าวดี แต่ก็กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ประชาชนหวาดกลัวว่าจะเกิดการโคลนนิ่งในมนุษย์ขึ้น จนประธานาธิบดี Bill Clinton สั่งแบนการใช้เงินรัฐบาลกลางในการวิจัยโคลนนิ่งมนุษย์

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

ผลงานของ Sir Ian Wilmut

ปี 2005

  • นอกจากเจ้าแกะ ดอลลี่แล้ว ในปี 2005  Wilmut ก็ได้วิจัยทางการแพทย์ เป็นหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่มหาวิทยาลัย Edinburgh
  • หันมาเน้นการใช้เทคนิคการโคลนนิ่ง เพื่อสร้างสเต็มเซลล์ ที่สามารถนำไปใช้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ และรักษาโรคทางพันธุกรรมและความเสื่อม ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายได้

ปี 2008

  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางชั้นอัศวิน จากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เป็นท่านเซอร์คนใหม่แห่งอังกฤษ จาก Dr. Ian Wilmut เขาจึงได้กลายเป็น Sir Ian Wilmut ทันที

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

 

ปี 2012

  • เกษียณจากมหาวิทยาลัย หันมามุ่งศึกษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) โรคความเสื่อมของระบบประสาท
  • ซึ่งในปี 2018 เขาเปิดเผยให้สังคมรู้ว่า เขาเองก็ป่วยด้วยโรคนี้เช่นกัน

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา Sir Ian Wilmut จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ด้วยโรคพาร์กินสัน

ข้อมูล : theguardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น