ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ที่ปรึกษาและกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจ… พ.ศ กล่าวถึงคดี พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผู้กำกับโจ้ อดีต ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ส่งผลให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยไม่มั่นใจต่อกระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่ว่า เรื่องนี้ขอใช้คำว่าอย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ เพราะว่าออกมาเหมือนกันเลยล่อนว่าการกระทำเป็นอย่างไรบ้างมันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดียอย่างไม่มีใครยับยั้งได้เหมือนพายุร้ายที่กวาดล้างความไม่ดีงามต่างๆ social media มีอิทธิพลเพราะฉะนั้นใครจะทำอะไรต้องระวังไม่ใช่ระวังว่าทำอะไรแล้วไม่อยากให้ใครเห็นเพราะเดี๋ยวนี้หนูตาประชาชนหรือคนในวงการเขาทนไม่ไหวถ้าไม่ใช่คนในวงการถ่ายคลิปไว้ก็ไม่สามารถมาเปิดเผยได้เพราะเขาเปิดกล้องออกหมดแสดงให้เห็นว่าแนวทางการป้องกันปราบปรามทุจริตหรือประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในขณะนี้ใช้หลักการแจ้งเบาะแสแจ้งข้อมูลไม่ว่าอยู่ที่ไหนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามมีอำนาจอยู่ในมือ คือโทรศัพท์มือถือ ที่แม้แต่เด็กสามารถที่จะถ่ายภาพเหตุการณ์และเป็นพยานหลักฐานสามารถเอาผิดคนให้ถึงกับจำคุกได้มาแล้ว
ขณะที่วิธีการนำถุงมาคลุมเพื่อเป็นการสอบสวนเคยมีเกิดขึ้นหรือไม่ นายวิชาระบุว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ ในคำสั่งศาลที่ 5332/2560 ว่า ตำรวจที่ใช้วิธีการนี้แล้วพยายามอ้างว่าไม่ได้เจตนาฆ่าแค่ทำร้ายจนถึงความตาย ซึ่งศาลฎีการะบุชัดว่าการที่นำถุงที่ขาดอากาศหายใจมาคลุม แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าเล็งเห็นว่าคนที่ถูกคลุมหัวจะขาดอากาศหายใจและอาจตายได้เพราะฉะนั้น ศาลฎีกาจึงวางหลักไว้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า ซึ่งไม่ใช่แค่ถุงดำครอบหัวชั้นเดียวครอบถึง 3 ชั้น และภาพในคลิปออกมากว่า 10 นาที ชัดเจนมากเหมือนเป็นการไต่สวนกลางเมือง ทำให้ผู้กระทำผิดจึงพยายามเบี่ยงเบนว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่าแต่คำสั่งศาลฎีกาออกมาชัดเจนแล้ว ซึ่งสามารถไปติดตามอ่านย้อนหลังคำสั่งศาลฎีกาฉบับยาวได้เพราะศาลฎีกาไม่มีคำว่าไม่ยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็คงต้องติดตามการทำงานของคณะกรรมการในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งส่วนตัวมองว่ามีความผิดปกติเนื่องจากการสอบสวนนั้นจะต้องดำเนินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ และกระบวนการอื่นๆในการพิจารณาร่วมกันเพื่อค้นหาความจริงว่ามีใครร่วมมือหรืออยู่เบื้องหลังและมีการทำแบบนี้ก่อนหน้านี้หรือไม่
“เพราะวิธีการแบบนี้เขาเรียกว่าจารีตนครบาลเป็นวิธีการที่ล้าสมัย รัชกาลที่ 5 ทรงต้องการให้เลิกวิธีการดังกล่าวเพื่อให้มีความเป็นสากลซึ่งเรื่องนี้พูดมาเป็นร้อยปีแล้ว”
ฉะนั้น ศาสตราจารย์พิเศษวิชา เห็นด้วยว่าการปฏิรูปตำรวจ นั้นจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการในการสอบสวนควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติสอบสวนคดีอาญา ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธาน ได้ส่งเรื่องมาแล้วขณะนี้อยู่ชั้นการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระบวนการก็พยายามเร่งเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาโดยเร็ว