“กรุงเทพธนาคม” เล็งใช้ผลป.ป.ช.ชี้มูลผิดว่าจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้างดจ่ายหนี้กว่า 4 หมื่นล้าน

บอร์ดกรุงเทพธนาคม ถกด่วน เตรียมแนวทางรับมือ หลัง ป.ป.ช.ชี้มูล ประธานบอร์ดจ่อนำมูลความผิด ไปสู้คดีต่อศาลปกครอง หวังชนะอีกคดีที่กทม. โดน BTS ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กว่า 11,000 ล้านบาท ย้ำแม้พิพาท แต่เคยตกลงร่วมกับ BTS แล้วว่า จะไม่หยุดเดินรถ ไม่ให้กระทบประชาชน

วันที่ 15 ก.ย.66 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ( บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยให้สัมภาษณ์พิเศษ ไทยพีบีเอส ระบุว่า หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทางคณะกรรมการได้หารือกันถึงกระแสข่าวที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด เกี่ยวกับการทำสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว และการต่อสัมปทานของบอร์ดชุดเดิม ที่มีรายงานผ่านสื่อมวลชน ว่า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดด้วย

โดยกรณีสำนวนที่นำเข้าสู่ ป.ป.ช. นั้น ก่อนหน้านี้ มีผู้ร้องเรียนว่า การทำสัญญาระหว่างกรุงเทพฯและ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส มีข้อพิรุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งวันนี้ คณะกรรมการรับทราบจากข้อมูลสาธารณะ และได้สอบถามในที่ประชุมทราบว่า ทาง ป.ป.ช. ยังไม่ได้แจ้งเป็นทางการถึงมติที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร มาให้บริษัท กรุงเทพธนาคม รับทราบ

แต่แนวทางของทางบริษัท กรุงเทพธนาคม คือพร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ ซึ่งหากพนักงานอัยการ หรือ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ต้องการเอกสาร ต้องการพยานหลักฐานใดๆ เพิ่มเติม ในฐานะที่บริษัท ปรากฎชื่อตามรายงานของสื่อว่า โดนชี้มูลความผิดด้วย

 

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ระบุว่า ผมคิดว่ากรุงเทพธนาคม เราไม่มีข้อกังวลสงสัยใดๆ พร้อมให้ความร่วมมือในการปฏิบัติเต็มที่ แต่ก็มีประเด็นที่หากอนาคตเราได้รับหนังสือเป็นทางการแล้ว น่าจะเป็นเรื่องที่เราสามารถนำไปแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้ศาลปกครองสูงสุด ในอีกคดีที่ บีทีเอส ฟ้องทวงหนี้เราอยู่ กว่า 11,000 ล้านบาท ซึ่งเราได้แจ้งศาลปกครองสูงสุดไปแล้วก่อนหน้านี้ต่อสัญญาที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดขึ้นระหว่าง กรุงเทพธนาคม และ บีทีเอส และหากได้รับเอกสาร จาก ป.ป.ช. ก็จะใช้ประกอบการพิจารณายื่นต่อศาลปกครองสูงสุดหลังจากนี้ ว่า อาจจะกระทบความสมบูรณ์ของสัญญาหรือไม่ซึ่งต้องรอความเห็นของศาลปกครองสูงสุด และข้อมูลส่วนนี้จะเข้าไปรวมในสำนวนได้

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ยังระบุถึงความเป็นไปได้ในการสู้คดีในศาลปกครองสูงสุดว่า ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ผมยึดหลักกฎหมายทั่วไปว่า ถ้าสัญญาความผูกพันระหว่างในกรณีเป็นไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย ไม่มีความเป็นโมฆะ ความผูกพันก็เกิดขึ้นตามนั้นในการปฏิบัติตามสัญญา

แต่ว่าถ้าสัญญาระหว่าง “นาย ก.” และ “นาย ข.” มีข้อพิรุธข้อบกพร่อง มีข้อทักท้วงขึ้นมาว่า เป็นโมฆะ โมฆียะ ด้วยเหตุใดก็ต้องทบทวนกัน แต่ต้องดูว่าข้อสัญญาที่ไม่สมบูรณ์นั้น จะเป็นไปอย่างไร

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในขณะเดียวกันวันนี้ ถ้าเราพูดอยู่ก็คิดว่าเป็นเรื่องเร็วเกินไปที่จะเห็นข้อสรุป และขอให้เกิดความชัดเจนจากนี้ก่อน ในส่วนของการพิจารณาของ ทั้ง ป.ป.ช. เป็นที่ปรากฏอยู่ในกระบวนการพิจารณา และการตัดสินวินิจฉัยของศาล ซึ่งสุดท้ายเป็นอย่างไร ก็พร้อมเคารพความเห็น คำพิพากษาของศาล

ส่วนข้อกังวลของประชาชนที่ว่า ข้อพิพาทนี้ จะนำไปสู่การยกเลิกสัมปทานหรือไม่ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ระบุว่า คิดว่าผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพทหานคร, กรุงเทพธนาคม หรือ BTS เราพูดคุยกันเป็นระยะที่ผ่านมา ระหว่างเป็นคดี และเปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันได้ทุกคนที่เราพบหน้ากัน มีการพูดคุยกัน ต่างเห็นตรงกันถึงท่าทีความชัดเจนการบริการสาธารณะการที่ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ต่อเนื่อง ไม่ขาดหาย ไม่เว้นระยะวรรคตอนเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญระดับต้น

โดย BTS ได้เคยเข้ามาคุย เป็นระยะ มีพัฒนาการเป็นระยะ แต่ผมเรียนว่าเราไม่เคยปิดโอกาส หรือปิดประตูในการเจรจา ซึ่งในเรื่องคดีก็ว่ากันไปตามทางนั้น แต่เมื่อใดที่มีโอกาสพูดคุยกันแล้วเป็นข้อตกลงร่วมกันได้กรุงเทพธนาคมก็ยินดี

 

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ให้กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินให้แก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระตามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จากการว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 (ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า) และส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) จำนวน 2 คดี

โดยคดีแรก เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ศาลปกครองกลางได้มีการตัดสินให้กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคม ร่วมกันชำระหนี้ก้อนดังกล่าว ภายในเวลา 180 วัน หลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งภาระหนี้ก้อนแรก วงเงิน 11,755.06 ล้านบาท โดยไม่นับรวมในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ที่ยังคงเคลื่อนไหวเพิ่มเติมทุกวัน

 

 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565 BTSC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ที่กทม.ติดค้างตามสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และ ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. 64 – 22 พ.ย. 65 ซึ่งเป็นการฟ้องเพิ่มเติมจากคดีก่อนหน้า โดยส่วนต่อขยายที่ 1 มีวงเงิน 2,895 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) และส่วนต่อขยายที่ 2 มีวงเงิน 8,173.5 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) ทำให้มีวงเงินเพิ่มขึ้นอีก 11,068.5 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่ผ่านมา เฉพาะในส่วนการว่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ก่อให้ความเสียหายต่อบีทีเอส เป็นเม็ดเงินถึงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมมูลหนี้ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า/เครื่องกล (E&M) ด้วยวงเงินอีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น