“หมออ๋อง” แจงงบดูงานสิงคโปร์ เป็นไปตามสิทธิ์ ย้อนถามกลับผล กระทรวงอื่นดูงาน ลั่นหากงบเหลือพร้อมคืนคลัง

“หมออ๋อง” แจงงบดูงานสิงคโปร์ เป็นไปตามสิทธิ์ ย้อนถามกลับผล กระทรวงอื่นดูงาน ลั่นหากงบเหลือพร้อมคืนคลัง

วันที่ 20 ก.ย. 66 ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 แถลงชี้แจงกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์การใช้งบประมาณ เพื่อไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ ว่า โครงการนี้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว จากการประชุมทั้งในส่วนของกรรมการชุดใหญ่ กรรมการขับเคลื่อน และอนุกรรมการนั้น เราเจอโจทย์ ที่ต้องการเห็นภาพและรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพัฒนาสภาให้เป็นสากลให้ได้ ซึ่งเราพบว่า การดูงานในประเทศที่ไกลเกินไปไม่มีความจำเป็น เราควรเริ่มต้นศึกษาประเทศที่เป็นพันธมิตรในระดับอาเซียน จึงเลือกประเทศสิงคโปร์

นายปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า โดยงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ครั้งแรกก็เป็นไปตามระเบียบการคลัง ในส่วนของค่าใช้จ่ายของรองประธานสภาคนที่ 1 เพราะฉะนั้น กรณีที่หลายคนกังวลว่า งบประมาณที่ตั้งไว้นั้นสูงเกินไปหรือไม่ ข้อเท็จจริงคือ เป็นการตั้งในตอนที่เรายังไม่ได้มีการจองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบินจริง และยังไม่สามารถลงรายละเอียดในทริปได้ เจ้าหน้าที่โครงการจึงตั้งโครงการและงบประมาณตามสิทธิที่อยู่ในระเบียบทุกประการไว้ก่อน ซึ่งค่าใช้จ่ายจริงบางส่วนก็สามารถเปิดเผยได้ในวันนี้ และจะเปิดเผยแบบละเอียดได้เลยในช่วงที่เดินทางกลับมา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายปดิพัทธ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องของคณะเดินทาง มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ 1.กรรมการ ซึ่งมีตน นายณัฐพงศ์ เรืองปัญญาวุฒิ นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.พรรคก้าวไกล ที่เป็นคนที่ตนตั้งใจให้ไปดูในเรื่องระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูลโปร่งใส เพราะเราจะได้มีโอกาสไปเยี่ยมเทคโนโลยีของรัฐบาลสิงคโปร์ด้วย โดยในงานด้านเทคนิคเช่นนี้ เราจำเป็นต้องได้คนที่เหมาะสมกับงานเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปดูได้ ตนจึงต้องเชิญทั้ง 2 คนนี้ไป 2.ตอนที่เราตั้งคณะทำงานนี้ขึ้นมายังไม่มีทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล รวมถึงยังไม่มีกรรมาธิการกิจการสภา ความตั้งใจแรกของตนที่ตั้งขึ้นมาคือ ถ้าเรากำหนดทริปดูงานได้แล้วจะเชิญประธานกรรมาธิการกิจการสภาไปด้วย และจะให้เลือกสรร หรือคัดเลือกคนที่จะเดินทางไปด้วยกัน แต่เนื่องจากยังไม่มี ตนจึงใช้วิธีแบ่งคร่าวๆ คือพรรคก้าวไกล 3 คน ที่มีความจำนงค์อยากทำงานในกรรมาธิการกิจการสภา ตนไม่ได้ดูว่าเป็นใครอย่างไร และได้เชิญอีกสองพรรคการเมืองใหญ่ คือพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยเดินทางไปด้วยกัน

แต่สถานการณ์การเมืองตลอด 1 เดือนที่ผ่านมานั้น เรารู้ว่ามีทั้งความแปรปรวน มีการตัดสินใจหน้างานมาก เพราะฉะนั้น สมาชิกที่ไม่มีความพร้อมจึงไม่ได้ส่งชื่อเข้ามา จึงมีเพียงคนจากพรรคเพื่อไทย 2 คน ที่เดินทางไปด้วยกันกับเรา หนึ่งในนั้นคือ นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ซึ่งมีบทบาทชัดเจนในการขับเคลื่อนสภาของพรรคเพื่อไทย และนายพชร จันทรรวงทอง ที่เป็นคนรุ่นใหม่และเป็นวิศวกรที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี เราคิดว่าการเลือกสรรบุคลากรไปในที่นี้ จะนำมาซึ่งองค์ความรู้และภาคปฏิบัติในการนำกลับมาพัฒนาสภาของพวกเราด้วย ในส่วนของพรรคภูมิใจไทยที่ไม่ได้เดินทางไปด้วยนั้น เนื่องจากไม่สามารถส่งรายชื่อมาในเวลาที่กำหนด จึงทำให้มีเพียง 12 รายชื่อ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สภา 4 คน ทั้งฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และถิ่นทำงานของสำนักเลขาธิการประธานสภา

สำหรับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นนั้น ได้สรุปออกมาแล้วว่า ค่าตั๋วเครื่องบินจากที่ตั้งไว้ตามสิทธิ 52,000 บาท เราจองจริงได้ในราคา 28,000 บาท และจะส่งส่วนที่เหลือกลับคืนคลังทั้งหมด ค่าโรงแรมตามสิทธิเบิกได้ 12,500 บาท จองจริง 9,000 บาท เราพยายามประหยัดให้ได้มากที่สุด แต่ในฐานะที่ตนทำหน้าที่เป็นฑูตของสภา การเยี่ยมคารวะ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงการเลี้ยงรับรองบุคคลต่างๆ ที่เข้าพบ ก็ต้องรับรองให้สมเกียรติกับประเทศไทยด้วย

ในส่วนของงบรับรองที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามากเกินไปหรือไม่นั้น เนื่องจากตอนที่ตั้งงบประมาณไว้ตอนแรก เรายังไม่ทราบโปรแกรมละเอียด ยังไม่ได้มีการหักออก เช่น เมื่อสถานฑูตเลี้ยงรับรองเรา เราจะหักส่วนนี้ออกจากเบี้ยเลี้ยงของคณะที่ไป ทำให้จ่ายเบี้ยเลี้ยงไม่เต็ม หรือในกรณีที่เราไปพบปะกับคนงานไทย นักศึกษาไทย ในสิงคโปร์ ตนก็ใช้งบรับรองนี้ในการดูแลและรับประทานอาหารง่ายๆ ร่วมกัน หักลบกลบหนี้แค่ไหน เท่าไหร่ อย่างไร ส่งกลับคืนคลังทั้งหมด ทั้งนี้ ตนยินดีที่จะแสดงใบเสร็จทั้งหมด ว่าใช้ไปเท่าไหร่อย่างไรบ้าง

สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมต้องไปวันเสาร์และวันอาทิตย์นั้น เนื่องจากภารกิจของตนจำเป็นต้องอยู่ในสภาเต็มเวลา วันจันทร์-วันศุกร์ ทำให้การจัดทริปเช่นนี้ปลอดภัยที่สุด ในตอนที่เราไม่รู้วาระการประชุม หากประธานสภา มอบหมายให้ตนดำเนินการประชุมในวันพุธหรือวันพฤหัสบดี ตนก็ไม่สามารถหลักเลี่ยงได้ เราจึงเริ่มเดินทางในช่วงเย็นของวันพฤหัสบดี และพร้อมทำงานในวันศุกร์ เพราะฉะนั้น การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาสิงคโปร์ ทั้งการเยี่ยมคารวะ และการติดต่อราชการ จะเกิดขึ้นในวันศุกร์และวันจันทร์ที่เป็นวันทำการของสิงคโปร์ ส่วนในวันเสาร์และวันอาทิตย์นั้น เราให้การติดต่อหรือขอความช่วยเหลือไปยังสถานฑูตไทยในสิงคโปร์ สถานฑูตจึงเป็นผู้จัดการให้เราไปดูงานในสถานที่ต่างๆ

เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการล้างท่องบประมาณหรือไม่เพราะเป็นช่วงปลายงบประมาณ นายปดิพัทธ์กล่าวว่างบประมาณที่จัดไว้ประมาณล้านเศษ เทียบกับงบประมาณที่ค้างมีมหาศาล ถ้าตะช้างท่อจริงต้องไปประเทศที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ เราใช้เท่านี้ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการเคลียร์ท่อ เราวางแผนตั้งแต่ต้นเทอม ซึ่งมาพอดีกันในช่วงเดือนกันยายน

เมื่อถามว่าทำไมไม่รอให้มีความพร้อมก่อนแล้วค่อยเดินทางไป นายปดิพัทธ์กล่าวว่าตนได้สอบถามไปยังฝ่ายต่างประเทศว่าเตรียมงานสั้นที่สุดต้องใช้เวลาเท่าไหร่ เขาบอกว่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือนซึ่งตอนแรกเราก็คิดว่าได้กรรมาธิการแล้ว แต่พอล่าช้าออกมาโครงการของตนก็ยังเดินหน้าต่อด้วย จึงไม่สามารถทำตามแผนที่ตั้งใจไว้ได้

“ฝ่ายสภาเองถ้าเรายึดโยงกับการจัดตั้งรัฐบาล ให้มีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลก่อน งานของผมก็ไม่สามารถเดินไปตามไทม์ไลน์ที่วางไว้ได้ ซึ่งงานนี้ไม่ได้กำหนดสัดส่วนว่าต้องมีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลเท่าไหร่ ผมคิดว่าหากมีสามส่วน คือ ทีมงานของรองประธาน ฝ่ายค้าน และรัฐบาลในสัดส่วนที่เหมาะสม เราก็สามารถดำเนินการได้”

นายปดิพัทธ์ ย้ำว่า หากมีการเลื่อนการเดินทาง ทุกคนก็ต้องเคลียร์ค่าใช้จ่ายส่งคลังเอง ซึ่งเรามีการเตรียมการไว้ทั้งไทย และสิงคโปร์แล้ว ข้อมูลและการประชุมถูกจัดวางไว้แล้ว ตนยืนยันว่าที่ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ

เมื่อถามว่าการเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศจะขัดกับนโยบายของพรรคก้าวไกล ที่เคยหาเสียงไว้ว่าจะลดงบส่วนนี้นำไปเป็นสวัสดิการหรือไม่ นายปดิพัทธ์ ระบุว่า ยังคงเป็นนโยบายเดิม แต่การดูงานในไทยของกระทรวงต่าง ๆ จะเห็นชัดเจนว่าในชั้นการอบรมสัมนางบประมาณที่ใช้มหาศาล แต่ไม่สามารถตอบกลับมาเป็นผลสัมฤทธิ์ได้ ยกตัวอย่าง ไปดูงานประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่มีอะไรที่นำได้กลับมาใช้ได้ จึงต้องตั้งคำถามถึงผลสัมฤทธิ์ นโยบายไปดูงานการทำงานต้องให้ ให้ประหยัด คุ้มค่า ไม่ใช่วัฒนธรรมการดูงาน แต่เป็นจุดประสงค์ของการไปดูงาน ซึ่งคิดว่าพรรคก้าวไกลก็เห็นด้วยกับผมในการไปดูงานครั้งนี้ และภายหลังจากการไปดูงานต้องสามารถตอบคำถามของสังคมได้ ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ของข้าราชการหลายท่านตอบไม่ได้เลยว่า ดูไปแล้วได้อะไร หรือหลายท่านมองว่า ผมอยากไปเที่ยวหรือไม่ ผมต้องบอกว่าประเทศสิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศท่องเที่ยว ผมไปดูงานจริง ๆ ไปดู Smart Parliament และคิดว่าถ้าสิ่งที่ผมทำได้รับการตรวจสอบแล้วสามารถพิสูจน์ได้ถึงผลลัพธ์ของการดูงานก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของการดูงานในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน

“หากเราทำโครงการอะไร ต้องตรวจสอบกับทางสำนักเลขาฯ ก่อนว่ามีงบประมาณในการดำเนินการหรือไม่ ซึ่งทางสำนักเลขาฯ แจ้งว่ามีงบประมาณ ซึ่งได้ประสานกับการทูต และการต่างประเทศ ว่ามีงบประมาณ 1,300,000 บาท ผมจึงมีหน้าที่ในการจัดโปรแกรมยังไงก็ได้ให้ไม่เกินงบและต้องเป็นการบริหารจัดการเงินให้ต่ำงบประมาณที่ได้มา” นายปดิพัทธ์ กล่าว

ส่วนเรื่องของผู้ติดตามที่เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศนั้น นายปดิพัทธ์ ระบุว่า สำหรับโครงการนี้มีผู้ติดตามเพียงท่านเดียวคือนายไกลก้อง ไวทยการ ซึ่งเป็นอดีตกรรมาธิการกิจการสภา และเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง โดยการใช้จ่ายของผู้ติดตามจะเป็นการออกค่าใช้จ่ายโดยส่วนตัวเองทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับงบประมาณของสภา ใครก็ไปได้ แต่ต้องออกเอง และต้องไม่กระทบต่อแผนการดูงานของสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น