ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ หรือ NIDA โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
"ดร.อานนท์" ชี้หนุ่มส้มคลั่ง โชคดี "หมอพรทิพย์" ไม่เอาเรื่อง ทั้งที่พฤติกรรมผิดกม.ชัดเจน
ข่าวที่น่าสนใจ
การข่มขู่และไล่คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ที่เมืองเรยาวิค ประเทศไอซ์แลนด์นั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไอซ์แลนด์อย่างรุนแรง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมหรือการแบ่งแยกระหว่างความเชื่อทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ผมได้แปลรัฐธรรมนูญมาตรา 65 ของไอซ์แลนด์เป็นภาษาไทยและแนบฉบับแปลภาษาอังกฤษมาด้วย รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ มาตรา 65 ทุกคนย่อมเท่าเทียมภายใต้กฎหมายและได้รับสิทธิมนุษย์ที่เท่าเทียมไม่ว่าจะเพศ ศาสนา ความเชื่อ ต้นกำเนิดชาติ เชื้อชาติ สีผิว สินทรัพย์ การถือกำเนิดและสถานะอื่นๆ ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน ผมว่านี่ถือว่าเป็นโชคดีของนายคนนี้ที่คุณหญิงหมอท่านไม่เอาเรื่อง ไม่ถือสาหาความ ถ้าท่านจะเอาเรื่อง ฟ้องตามรัฐธรรมนูญไอซ์แลนด์ได้เลยครับ CONSTITUTION OF THE REPUBLIC OF ICELAND (No. 33, 17 June 1944, as amended 30 May 1984, 31 May 1991, 28 June 1995 and 24 June 1999) Article 65 Everyone shall be equal before the law and enjoy human rights irrespective of sex, religion, opinion, national origin, race, colour, property, birth or other status. Men and women shall enjoy equal rights in all respects. สามารถไปดาวน์โหลดรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษโดยรัฐบาลไอซ์แลนด์ได้ที่ลิงค์ด้านล่างในคอมเมนต์แรกครับ สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ก็ได้บัญญัติเรื่อง unfair treatment และ discrimination ไว้เช่นเดียวกัน มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง