1 ตุลาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “มีลูกกันเถอะน่า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการมีลูกในปัจจุบัน การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อถามถึงสถานะการแต่งงานและการมีลูก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 29.39 ระบุว่า เป็นโสดและไม่มีแฟน , รองลงมา ร้อยละ 26.57 ระบุว่า แต่งงานจดทะเบียนสมรสและมีลูกแล้ว , ร้อยละ 20.92 ระบุว่า เป็นโสดแต่มีแฟนแล้ว , ร้อยละ 10.99 ระบุว่า แต่งงาน ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีลูกแล้ว , ร้อยละ 4.58 ระบุว่า แต่งงานจดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีลูก
ร้อยละ 2.52 ระบุว่า เป็นแม่หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว (หม้ายที่มีลูกแล้ว โสดและมีลูกแล้ว) , ร้อยละ 1.98 ระบุว่า แต่งงานไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีลูก และมีคู่ครอง (อยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้แต่งงาน) และมีลูกแล้ว ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.07 ระบุว่า มีคู่ครอง (อยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้แต่งงาน) แต่ไม่มีลูก
เมื่อสอบถามผู้ที่ยังไม่มีลูก (จำนวน 759 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการอยากมีลูก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 53.89 ระบุว่า อยากมี , รองลงมา ร้อยละ 44.00 ระบุว่า ไม่อยากมี และร้อยละ 2.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อสอบถามผู้ที่ไม่อยากมีลูก (จำนวน 334 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับสาเหตุที่ไม่อยากมีลูก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.32 ระบุว่า ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก และเป็นห่วงว่าลูกเราจะอยู่อย่างไรในสภาพสังคมปัจจุบัน ในสัดส่วนที่เท่ากัน , รองลงมา ร้อยละ 37.72 ระบุว่า ไม่อยากมีภาระต้องดูแลลูก , ร้อยละ 33.23 ระบุว่า ต้องการชีวิตอิสระ , ร้อยละ 17.66 ระบุว่า กลัวเลี้ยงลูกได้ไม่ดี
ร้อยละ 13.77 ระบุว่า อยากให้ความสำคัญกับงานมากกว่า , ร้อยละ 5.39 ระบุว่า สุขภาพตนเองหรือคู่ครองไม่ค่อยดี , ร้อยละ 2.10 ระบุว่า กลัวพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์จะไม่ดี ทำให้ลูกที่เกิดมาไม่ดีไปด้วย และร้อยละ 0.90 ระบุว่า กลัวกรรมตามสนองเนื่องจากเคยทำไม่ดีไว้กับพ่อ แม่
ส่วนความกังวลต่อจำนวนเด็กเกิดใหม่ในอนาคตว่าจะมีน้อยมาก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.53 ระบุว่า ไม่กังวลเลย , รองลงมา ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล , ร้อยละ 17.79 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล และร้อยละ 8.55 ระบุว่า กังวลมาก
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงมาตรการที่รัฐควรสนับสนุนเพื่อให้คนไทยมีลูก พบว่า
+ ร้อยละ 65.19 ระบุว่า สนับสนุนการศึกษาฟรี ในประเทศจนถึงขั้นสูงสุดสำหรับคนมีลูก
+ ร้อยละ 63.66 ระบุว่า รัฐอุดหนุนค่าเลี้ยงดูลูกจนถึงอายุ 15 ปี
+ ร้อยละ 30.00 ระบุว่า ลดภาษีเงินได้สำหรับคนมีลูก
+ ร้อยละ 29.47 ระบุว่า เพิ่มวันลาให้แม่และพ่อในการเลี้ยงดูลูก
+ ร้อยละ 21.91 ระบุว่า มีเงินรางวัลจูงใจที่สูงสำหรับเด็กแรกเกิด
+ ร้อยละ 19.92 ระบุว่า อุดหนุนทางการเงินแม่ พ่อเลี้ยงเดี่ยว
+ ร้อยละ 17.18 ระบุว่า พัฒนาและอุดหนุนการเงิน ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก
+ ร้อยละ 9.85 ระบุว่า มีบริการฟรี ศูนย์ผู้มีบุตรยาก
+ ร้อยละ 7.48 ระบุว่า เพิ่มภาษีเงินได้สำหรับคนไม่มีลูก
+ ร้อยละ 5.50 ระบุว่า รัฐเปิดช่องทางในการอุ้มบุญมากขึ้น
+ ร้อยละ 4.89 ระบุว่า รัฐมีหน่วยงานจัดหาคู่ให้กับคนไทย
+ ร้อยละ 2.75 ระบุว่า รัฐไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใด ๆ
+ ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง