“จุลพันธ์” เลื่อนถกคณะอนุกรรมการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ย้ำหลายประเด็นยังไม่ได้ข้อสรุป

รมช.จุลพันธ์ เลื่อนการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ เติมเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต หลังมีหลายประเด็นยังไม่ได้ข้อสรุป รับกังวลหากแจกไม่ทัน 1 ก.พ.67 ก็พร้อมบอกนายกรัฐมนตรีเพื่อขอเลื่อนโครงการ

วันนี้ (19 ต.ค.66) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ ได้สั่งเลื่อนประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ครั้งที่ 2 จากเดิมที่มีการนัดหารือในช่วงบ่าย เนื่องจากการประชุมคณะทำงานเมื่อวานนี้(18 ต.ค.66) ยังมีหลายประเด็นที่ไม่ได้ข้อสรุป เพื่อจะมาเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ และกระบวนการในการทำข้อสรุปค่อนข้างใช้เวลา จึงขอให้มีการเลื่อนประชุมไปก่อน โดยให้คณะทำงานกลับไปประชุมเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังค้างอยู่ เพื่อให้เกิดความรอบคอบรัดกุมที่สุด และให้ฝ่ายเลขาฯ นัดประชุมอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า ยืนยันว่ายังอยู่ในกรอบเวลาไม่ได้ทำให้โครงการล่าช้า

 

 

พร้อมยืนยันว่า การประชุมในวันนี้ ไม่เกี่ยวกับที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเป็นห่วง นโยบายแจกเงินดิทิล และคัดค้านนโยบาย ซึ่งทุกประเด็น มีการหยิบเข้าไปหารือในที่ประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ครั้งก่อน

นายจุลพันธุ์ ระบุว่า ในส่วนที่มาของเงินงบประมาณ ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอการประชุมของคณะอนุกรรมการครั้งถัดไป ส่วนจะเป็นการใช้งบประมาณปี 2567 หรือเป็นการกู้จากธนาคารออมสิน ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะมีหลายตัวเลือกให้กับรัฐบาลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาอีกที พร้อมยืนยันว่า โครงการนี้ จะต้องจัดทำระบบบล็อกเชนขึ้นใหม่ ผ่านแอปพลิเคชั่นของรัฐ เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูล Big Data ในการจัดทำสวัสดิการทุกด้านของรัฐ จึงต้องใช้เวลาทดสอบระบบ เพื่อให้ระบบบล็อกเชน มีความปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีระบบป้องกันแฮกเกอร์ เข้ามาล้วงข้อมูลของรัฐ

 

 

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ยังตั้งเป้าว่าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต จะเริ่มแจกเงินได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ก็ยอมรับว่ากังวล เพราะมีข้อจำกัด หลายเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งไม่คุ้มที่จะแลกกับการทำให้โครงการให้เกิดขึ้นเร็ว เช่นเรื่องของความปลอดภัยระบบ หากไม่ทัน 1 กุมภาพันธ์ 2567 ก็พร้อมที่จะไปบอกนายกรัฐมนตรีเพื่อขอเลื่อนโครงการ แต่อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะต้องเดินหน้าต่อ

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ในการจัดทำแอปพลิเคชั่นของรัฐ จะทยอยพัฒนาเป็นระยะ เมื่อวางระบบพร้อมแล้ว จะเปิดให้ประชาชนยืนยันตัวตนผ่านระบบ KYC ตามแบงก์รัฐ หลังจากที่ผ่านมามีประชาชนยืนยันตัวตนเพื่อรับบริการสวัสดิการต่างๆกับภาครัฐไปแล้ว 40 ล้านคน ยังเหลืออีก 10 ล้านคน ต้องยืนยันตัวตน เพื่อกดยืนยันรับสิทธิ์ร่วมโครงการ โดยอาจต้องกำหนดกรอบเวลาให้ประชาชน ยืนยันตัวตนกับแบงก์รัฐอีกครั้ง

 

เบื้องต้นเริ่มโอนเงินได้ประมาณไตรมาสแรกปี 2567 การใช้เงินจะไม่ยุ่งยากสำหรับประชาชน ด้วยการใช้สมาร์ทโฟน แสกน QR Code เพื่อซื้อสินค้าเหมือนที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ ในช่วงเศรษฐกิจไทยชะลอตัว และเงินงบประมาณปี 2567 ออกสู่ระบบล่าช้า

 

 

ส่วนกรณีของที่มีการไปยื่นหนังสือหลายหน่วยงานให้ตรวจสอบ นโยบายเติมเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต นายจุลพันธ์ ระบุว่า กลไกในการยื่นตรวจสอบ เป็นสิทธิ์ ที่สามารถทำได้ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ซึ่งยินดีที่จะได้รับการตรวจสอบ ยืนยันว่าทุกอย่างทำภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่มีช่องทางในการทุจริตคอรัปชั่น และพร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังความเห็นในทุกประเด็น

 

ส่วนกรณีที่มีการออกมาระบุว่า ในการจัดทำซุปเปอร์แอปจะต้องใช้งบถึง 1.2 หมื่นล้านบาท นายจุลพันธุ์ ระบุว่า ตนเองไม่สามารถตอบคำถามได้ทั้งหมดเพราะไม่ทราบว่าข้อมูลมาจากไหน รวมไปถึงข้อมูลการทำแอพพลิเคชั่น 1.2 หมื่นล้านบาท ก็ไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่รู้ว่ามาจากไหน

 

 

ส่วนจะสิ้นเปลืองงบประมาณในการทำแอปพลิเคชั่นหรือไม่ และเหตุใดไม่นำแอปฯ อันเดิมไปต่อยอด นายจุลพันธุ์ ระบุว่า มันไม่ได้มีค่าทำแอปฯ ลักษณะนี้ ตนมองว่า ค่าทำแอปฯไม่น่าจะเเพง การไปคิดว่า ค่าทำแอปเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท ตนได้ฟังก็ตกใจตัวเลข ไม่มี และไม่รู้แหล่งที่มาจึงไม่กล้าตอบคำถาม

 

 

นายจุลพันธ์ ระบุด้วยว่า โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ของตัวเอง และมีข้อจำกัด รายละเอียด ซึ่งแตกต่าง สิ่งสำคัญคือ มองไกลไปถึงซุปเปอร์แอป ไม่ได้หมายความว่า ต้นปีทุกอย่างจะเรียบร้อย แต่มันคือก้าวถัดไป ซึ่งกระบวนการในการพัฒนาต่อยอด ความเป็นเจ้าของของแอปสำคัญมาก แอปตัวใหม่นี้จะต้องเป็นของรัฐบาล ข้อมูลจะต้องเป็นของรัฐบาล ระบบบล็อกเชน สุดท้ายต้องเป็นของรัฐบาลทั้งหมด เพื่อสามารถพัฒนาต่อยอดมิติต่างๆ ได้ครบถ้วน ขณะที่ในอดีต แอปพลิเคชั่นบางตัวไม่ได้เป็นของรัฐ แต่ฐานข้อมูลเป็น

เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า เงื่อนไขของแอปเป๋าตังค์ ไม่สามารถต่อยอดได้ใช่หรือไม่ นายจุลพันธ์ ระบุว่า เราทำแอปใหม่

 

ส่วนที่หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายนี้จะทำให้เกิดการฟอกเงิน และฮั้วกับร้านค้าในการทุจริต ยืนยันว่า การใช้จ่าย ไม่ต่างจากการใช้เงินบาทแต่มีการกำหนดมีเงื่อนไข ส่วนถ้าใครจะไปยอมแลกส่วนต่าง เพื่อเอาเงินสดไปใช้ ก็ถือว่าขาดทุน แต่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกตรวจสอบและถูกบันทึก ด้วยระบบ blockchain ซึ่งไม่มีใครสามารถแก้ไขตัวเลขข้อมูลได้ สุดท้ายจะสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปได้ และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และล่าสุด ได้เตรียมข้อเสนอ ตั้งคณะอนุกรรมการอีกชุดหนึ่ง ในการติดตามตรวจสอบเรื่องทุจริตในโครงการ

 

 

 

ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ ที่ 9 ต.ค.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง / นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง / นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงข่าวความคืบหน้า Digital Wallet ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 1 กระทรวงการคลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กลุ่มชายปริศนา" แหวกวงล้อมสื่อ เข้ารุมทำร้าย "พระปีนเสา" ขณะให้สัมภาษณ์
เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น