โรค "ไอกรน" โรคร้ายในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้ เช็ค 4 อาการสำคัญ เรื่องใหญ่ต่อระบบหายใจ อาการคล้ายหวัด แต่อันตรายถึงชีวิต
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้จักโรค “ไอกรน” ภัยเงียบร้าย เรื่องใหญ่ต่อระบบทางเดินหายใจ
- เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการอักเสบของเบื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ
- ติดต่อกันได้ง่ายจากไอ จาม และสัมผัสสารคัดหลั่ง เฉลี่ย 7-10 วัน
- ลักษณะพิเศษ คือ ไอซ้อน ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึก ๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุด ๆ
- บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis)
- เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก
- จะพบเชื้อได้ในลำคอ ในส่วน nasopharynx ของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์แรก ก่อนมีอาการไอเป็นแบบ paroxysmal
เช็คลิสต์ 6 อาการสำคัญ เตือนโรค “ไอกรน”
- ไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูก ไอ ต่อเนื่องประมาณ 1 สัปดาห์
- **ไอซ้อน ๆ ถี่ ๆ ติดต่อกัน 5-10 ครั้ง/มากกว่านั้น จนทำให้หายใจไม่ทัน**
- หายใจมีเสียดังวู๊ป
- อาการอาจเป็นเรื้อรัง ติดต่อกันนานถึง 2-3 เดือน
หากมีอาการดังกล่าว รีบไปพบแพทย์ ไม่ซื้อยามาทานเอง
อาการของโรค แบ่งได้ 3 ระยะ
ระยะที่ 1
- เด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดา
- อาจมีไข้ต่ำ ๆ ตาแดง น้ำตาไหล จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์
- ระยะนี้ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอ กรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้ง ๆ
ระยะที่ 2
- ไอเป็นชุด ๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะ
- เริ่มมีลักษณะของไอ กรน
- อาการไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง
- ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง
- ช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพองการไอเป็นกลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่เหนียวออกมาได้
- บางครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะ หายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย
- และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วย อาการหน้าเขียวอาจจะเกิดจากเสมหะอุดทางเดินหายใจได้
- ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุด ๆ ระยะไอเป็นชุด ๆ นี้จะเป็นอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ได้
ระยะที่ 3
- กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุด ๆ จะค่อย ๆ ลดลงทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง
- แต่จะยังมีอาการไอหลายสัปดาห์ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
โรคแทรกซ้อน
- โรคแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของโรคไอ กรนในเด็กเล็ก โรคในปอดที่อาจพบได้อีกจะเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิด atelectasis
- จากการไอมาก ๆ ทำให้มีเลือดออกในเยื่อบุตา (Subconjunctival hemorrhage) มี petechiae ที่หน้าและในสมอง
- ระบบประสาทอาจมีอาการชัก พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในขณะที่ไอถี่ ๆ และอาการชักอาจเกิดจากมีเลือดออกในสมอง
การให้วัคซีนป้องกัน
เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี : รับวัคซีนน 4-5 ครั้ง
- ครั้งท่ 1 : เริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน
- ครั้งที่ 2 : เมื่ออายุ 4
- ครั้งที่ 3 : เมื่ออายุ 6 เดือน
- ครั้งที่ 4 : เมื่ออายุ 18 เดือน
- ครั้งที่ 5 : เมื่ออายุ 4 ปี
เด็กที่มีอายุเกิน 7 ปี แล้วจะไม่ให้วัคซีนไอ กรน ทั้งนี้ เพราะจะพบปฏิกิริยาข้างเคียงได้สูง
ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง