เปิดมาตรการอุดหนุน ซื้อรถ EV ผลักดันไทยฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

เปิดมาตรการอุดหนุน ซื้อรถ EV ผลักดันไทยฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 พ.ย.66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

บอร์ดอีวี ได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการใหม่นี้เพิ่มเติมได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการด้วย

 

 

ย้อนดู มาตรการ EV 3.0 ที่มอบส่วนลดสูงสุดให้กับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ โดยส่วนลดสูงสุดที่ได้คือ 1.5 แสนบาท ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม บอร์ดอีวี เมื่อ 1 พ.ย.66 ได้เห็นชอบให้กรมสรรพสามิต ขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -11 ธันวาคม 2566 ยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567

โดยหากเปรียบเทียบกับมาตรการ EV 3 กับ EV 3.5 พบว่า EV 3.5 มีการปรับเกณฑ์ใหม่ทั้งขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น แต่เงินอุดหนุนลดลง โดยของเดิม EV 3 ให้เงินอุดหนุนตั้งแต่ 18,000 – 150,000 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับการเดินหน้า มาตรการ EV 3.5 เพื่อเดินหน้าตามนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573 ผลักดันไทยขึ้นแท่นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาค และ 10 อันดับแรกของโลก

โดยมาตรการ EV 3.5 รัฐจะให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้

– กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh (กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000 – 50,000 บาท/คัน

– กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท/คัน

– กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาท/คัน

 

 

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสมและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป

สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรนำเข้าไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 – 2568) กรณีเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท

 

 เงื่อนไขกระตุ้นการลงทุนในประเทศ สำหรับมาตรการ EV3.5

– ผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยการนำเข้า ในอัตราส่วน 1:2 ภายในปี 2569 ตัวอย่างเช่น นำเข้ามา 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 2 คัน (มาตรการเดิม EV 3 นำเข้ามา 1 คัน ผลิตชดเชย 1 คัน เริ่มผลิตภายในปี 2567) และเพิ่มอัตราส่วน 1:3 ภายในปี 2570 กล่าวคือ นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 3 คัน

– แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU ) ที่นำเข้าและที่ผลิตในไทยจะต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานสากลจากศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC)

– เงื่อนไขการใช้แบตเตอรี่และชิ้นส่วนเป็นไปตามมาตรการ EV 3

 

 

ด้านนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เปิดเผยว่า มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะแรก หรือ EV 3 ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมมาตรการสนับสนุนฯ แล้ว รวมทั้งสิ้น 13 แบรนด์ จาก 15 บริษัท ทั้งในประเภทรถยนต์นั่งไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สร้างผลสำเร็จในการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – กันยายน 2566) มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จำนวน 50,340 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.6 เท่า และนับตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2560 ได้ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น