พบแสงออโรราบน “ดาวยูเรนัส” เป็นครั้งแรก หลังพยายามมา 40 ปี

ดาวยูเรนัส,​ กล้องโทรทรรศน์, กล้องโทรทรรศน์เค็กทู, แสงออโรรา, ภูเขาไฟเมานาเคอา, คลื่นอินฟราเรด, แสงเหนือ, ดาวเคราะห์, สนามแม่เหล็ก

นักดาราศาสตร์ ตรวจจับออโรราบน "ดาวยูเรนัส" ในช่วงคลื่นอินฟราเรด เป็นครั้งแรก หลังพยายามมาเกือบ 40 ปี

นักดาราศาสตร์ พบแสงออโรราบน “ดาวยูเรนัส” ในช่วงคลื่นอินฟราเรดครั้งแรก หลังจากพยายามมาเกือบ 40 ปี จากกล้องโทรทรรศน์ Keck II บนภูเขาไฟเมานาเคอา หมู่เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

การค้นพบนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินขนาดยักษ์ ชื่อว่า Keck II บนภูเขาไฟเมานาเคอา หมู่เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา และงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Nature Astronomy เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2023 นำทีมโดย Emma Thomas

กล้องโทรทรรศน์เค็กทู (Keck II) เป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูง ติดตั้งอยู่บริเวณจุดสูงสุดของภูเขาไฟเมานาเคอา (Mauna Kea) ในหมู่เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา กล้องโทรทรรศน์เค็กเป็นกล้องแฝด ประกอบด้วย Keck I และ Keck II โดยแต่ละตัวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระจกหลักประมาณ 10 เมตร โดยกระจกหลักของกล้องประกอบขึ้นจากกระจกรูปหกเหลี่ยมขนาดเล็กจำนวน 36 บาน ซึ่งกล้องโทรทรรศน์เค็กทั้ง 2 ตัว สามารถทำงานร่วมกันได้ ภาพถ่ายจึงมีคุณภาพสูง

 

ดาวยูเรนัส,​ กล้องโทรทรรศน์, กล้องโทรทรรศน์เค็กทู, แสงออโรรา, ภูเขาไฟเมานาเคอา, คลื่นอินฟราเรด, แสงเหนือ, ดาวเคราะห์, สนามแม่เหล็ก

 

แสงออโรรา (Aurora) คืออะไร

  • เกิดขึ้นเมื่อประจุอนุภาคที่มากับลมสุริยะ ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ และเคลื่อนไปตามเส้นสนามแม่เหล็กเข้าหาขั้วแม่เหล็ก
  • เมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ อนุภาคที่มีประจุจะชนกับโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้โมเลกุลเหล่านั้นเรืองแสง เกิดเป็นแสงสีสันสวยงามเหนือชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์
  • สำหรับการเกิดออโรราบนโลกนั้น เป็นผลมาจากอนุภาคที่มีประจุจากลมสุริยะชนกับอะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจน จนเกิดเป็นแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน สามารถมองเห็นได้แถบพื้นที่บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

แสงออโรราบน “ดาวยูเรนัส” เกิดได้อย่างไร

  • ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาของมนุษย์โดยตรงเหมือนกับบนโลกของเรา เพราะ เกิดขึ้นจากโมเลกุลของไฮโดรเจนและฮีเลียมในชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบนโลกมาก
  • เมื่อถูกกระตุ้นโดยอนุภาคที่มีประจุของลมสุริยะ จึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเลตและอินฟราเรด
  • ออโรราบนดาว ยูเรนัสในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเลต ถูกพบเห็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอเจอร์ 2 ของ NASA ซึ่งได้บินผ่านดาวเคราะห์ในปีนั้น
  • และต้องใช้เวลาอีกเกือบ 40 ปี จึงจะสามารถบอกได้ว่า ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดเราก็สามารถพบออโรราได้เช่นกัน

 

ดาวยูเรนัส,​ กล้องโทรทรรศน์, กล้องโทรทรรศน์เค็กทู, แสงออโรรา, ภูเขาไฟเมานาเคอา, คลื่นอินฟราเรด, แสงเหนือ, ดาวเคราะห์, สนามแม่เหล็ก

การค้นพบครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2006 Emma Thomas นักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ใช้ข้อมูลจาก Keck II Near-Infrared Spectrometer หรือ NIRSPEC ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้ ศึกษา “ดาวยูเรนัส” แล้วพบเส้นสเปกตรัมของ ไตรไฮโดรเจน แคทไออน (trihydrogen cation) หรือ H3+ ซึ่งเป็นโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นประจุบวก ประกอบไปด้วย โปรตอน 3 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว

ลมสุริยะที่ปะทะเข้ากับชั้นบรรยากาศของดาว ยูเรนัส จะทำให้แก๊สไฮโดรเจนแตกตัวเป็นไอออน แล้วก่อตัวเป็นโมเลกุล H3+ ขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด เกิดขึ้นบริเวณขั้วเหนือของดาว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสิ่งนี้ คือ แสงเหนือบนดาว ยูเรนัสนั่นเอง

 

ดาวยูเรนัส,​ กล้องโทรทรรศน์, กล้องโทรทรรศน์เค็กทู, แสงออโรรา, ภูเขาไฟเมานาเคอา, คลื่นอินฟราเรด, แสงเหนือ, ดาวเคราะห์, สนามแม่เหล็ก

 

นักดาราศาสตร์พบว่า อุณหภูมิที่วัดได้ของดาว ยูเรนัส และดาวเคราะห์ที่เป็นดาวแก๊สยักษ์ทุกดวง ต่างก็มีอุณหภูมิที่สูงกว่าในแบบจำลองเกือบร้อยองศาเซลเซียสแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปได้ยากว่าจะเป็นผลมาจากความร้อนของดวงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว หนึ่งในสมมติฐานที่เป็นไปได้คือ

  • แสงออโรราพลังงานสูงที่เกิดขึ้น อาจเป็นต้นกำเนิดพลังงานความร้อนที่แพร่กระจายจากขั้วแม่เหล็ก ไปสู่แนวเส้นศูนย์สูตรของสนามแม่เหล็ก
  • จึงทำให้ตัวดาวเคราะห์มีอุณหภูมิสูงกว่าตามที่แบบจำลองได้คำนวณไว้
  • โดยปกติแล้วแกนสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ จะมีทิศทางที่สอดคล้องกันกับแกนการหมุนรอบตัวเอง
  • แต่สำหรับดาว ยูเรนัสและดาวเนปจูน มีแกนสนามแม่เหล็กที่เอียงไปจากแกนการหมุนรอบตัวเองมากถึง 59 องศา และ 47 องศาตามลำดับ

ดังนั้น การศึกษาแสงออโรราที่มีความเกี่ยวข้องกับทิศทางของสนามแม่เหล็ก อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้เบาะแสอะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับความผิดปกติของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นกับดาวเคราะห์แก๊สทั้ง 2 ดวงนี้ได้
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 


Mercular MEGA 11.11

ช้อปสินค้า Under Armour 11.11 Singles’ Day ส่วนลด 60% ออนไลน์ : ช้อปที่นี่

Super Flash Sale ลดสูงสุด 80% Highlight Deals ไอเทมเด็ด

คูปองลดเพิ่มสูงสุด 11,111 Clearance Sale ลด ล้าง คลัง

ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน รับประกันของแท้ ส่งฟรี! ทั่วประเทศ* เริ่มต้น 199.- : ช้อปที่นี่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น