“ตัวกินมดหนาม” 60 ปี ที่ไม่ถูกพบเลยจนเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

"ตัวกินมดหนาม" หรือ อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว ถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ล่าสุด ถูกบันทึกภาพไว้ได้

TOP News รายงานการพบ “ตัวกินมดหนาม” หรือ อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ได้เป็นครั้งแรกใน 60 ปี โดยถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

TOP News รายงานการพบ ตัวกินมดหนาม หรือ อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ได้เป็นครั้งแรกใน 60 ปี โดยถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ภาพ : EXPEDITION CYCLOPS

อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว ตั้งชื่อตาม เซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ นักธรรมชาติวิทยาชื่อดังชาวอังกฤษ ถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพของมันได้เป็นครั้งแรก บนเทือกเขาไซคลอปส์ ในภูมิภาคปาปัวของอินโดนีเซีย

ลักษณะของ อิคิดนา (echidna) คือมีหนามเหมือนเม่น ปากยาวแบบตัวกินมด เท้าเหมือนตุ่น เป็นสัตว์กลางคืนและขี้อาย จึงพบตัวได้ยาก โดยเฉพาะ อิคิดนาจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซ้าก – ลอส – ซัส แอตเทน – บะระไฮ (zaglossus attenboroughi) ไม่เคยบันทึกการพบเห็นที่ไหน นอกจากเทือกเขาไซคลอปส์

เจมส์ เคมป์ตัน นักชีววิทยามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หัวหน้าทีมสำรวจ กล่าวว่า เหตุผลที่ “ตัวกินมดหนาม” ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เพราะอยู่ในอันดับ โมโนทรีม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นไข่ ที่แยกสายวิวัฒนาการจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อ 200 ล้านปีก่อน มันจึงได้ชื่อว่าเป็น ฟอสซิลมีชีวิต เพราะมีชีวิตอยู่ตั้งแต่ไดโนเสาร์ยังอยู่บนโลก (สัตว์เลี้่ยงลูกด้วยนมอีกชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ คือ ตุ่นปากเป็ด)

TOP News รายงานการพบ ตัวกินมดหนาม หรือ อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ได้เป็นครั้งแรกใน 60 ปี โดยถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ภาพ : EXPEDITION CYCLOPS

นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษและอินโดนีเซีย ใช้เวลาร่วม 4 สัปดาห์ กับกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ 80 ตัว เพื่อจับภาพ อิคิดนาแอตเทนบะระ และประสบความสำเร็จในวันสุดท้าย แถมยังเป็นเมมโมรีการ์ดอันสุดท้ายอีกด้วย คลิปภาพขาวดำที่กินเวลาแค่สองสามวินาที แสดงให้เห็น อิคิดนาจะงอยปากยาว กำลังเดินอุ้ยอ้ายผ่านพุ่มไม้

เคมป์ตัน กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นผลจากความทุ่มเท และวางแผนงานนานกว่า 3 ปีครึ่ง ทีมสำรวจอาศัยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักในการช่วยนำทางเข้าไปในพื้นที่ป่ารกทึบ และได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ได้ นอกเหนือจากการค้นพบ อิคิดนา ชนิดนี้แล้ว ยังพบนกชนิดหนึ่งที่ไม่เคยพบเห็น 25 ปี กับสัตว์ชนิดใหม่อีกจำนวนหนึ่ง ที่ประหลาดใจมากคือ การพบกุ้งฝอยชนิดใหม่กลางป่า ซึ่งสันนิษฐานว่าสภาพแวดล้อมที่มีฝนมาก ให้ความชื้นมากพอจนกุ้งอาศัยอยู่บนบกได้

นักวิจัย กล่าวว่า ป่าฝนเขตร้อน คือระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ถูกคุกคามหนักที่สุด จึงหวังว่าการค้นพบครั้งสำคัญนี้ จะช่วยตอกย้ำความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์ผืนป่าทุกแห่งของอินโดนีเซียเอาไว้

TOP News รายงานการพบ ตัวกินมดหนาม หรือ อิคิดนาชนิดจะงอยปากยาว จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ได้เป็นครั้งแรกใน 60 ปี โดยถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2504 จนคิดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ภาพ : EXPEDITION CYCLOPS

Banana IT : Intel Acer Beyond Fast 1 Nov – 30 Nov 2023 ช้อปเลย : คลิกที่นี่

  • ไร้ขีดจำกัดไปกับ Acer Predator Helios Neo 16 เมื่อซื้อ Acer Notebook ที่ร่วมรายการ แลกซื้อ Microsoft Office 365 เพียง 1,690.- รับฟรี หูฟังไร้สาย Techpro

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น