เตรียมชม “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” ราชาแห่งฝนดาวตก 17-18 พ.ย. นี้

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

ห้ามพลาดชม! ปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566" เจ้าของฉายาราชาแห่งฝนดาวตก ฝนดาวตกที่สว่างที่สุด คืนวันศุกร์ที่ 17 - เช้า 18 พ.ย. นี้

ปักหมุดวันให้พร้อม เช้าวันที่ 17-18 พ.ย. นี้ ชมปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ฝนดาวตกที่สว่างที่สุด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต

  • จะเกิดในช่วงระหว่างวันที่ 6 – 30 พฤศจิกายนของทุกปี ในปี 2566 นี้
  • มีอัตราการตกสูงสุดหลังเที่ยงคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลาประมาณ 01:00 น. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566
  • ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวสิงโต ทางทิศตะวันออก ในคืนดังกล่าวไร้แสงจันทร์รบกวน สามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่าในที่มืดสนิท
  • โดยจะปรากฏให้เห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟ พาดผ่านท้องฟ้า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจาก การเกิดฝนดาวตกจะเกิดขึ้นทั่วท้องฟ้าบริเวณกว้าง

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

 

ฝนดาวตก ลีโอนิดส์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

  • เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ที่มีคาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33 ปี
  • ขณะที่โลกเคลื่อนผ่านวงโคจรของดาวหางดังกล่าว แรงโน้มถ่วงของโลกได้ดึงดูด เศษหิน และเศษฝุ่น ที่หลงเหลือไว้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ
  • เกิดการเสียดสี และเผาไหม้ ปรากฏให้เห็นเป็นแสงคล้ายลูกไฟสว่างวาบเคลื่อนผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตก ลีโอนิดส์นั้นสวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  • ส่งผลให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก มีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที
  • โดยความพิเศษของฝนดาวตก ลีโอนิดส์ เป็นนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า ราชาแห่งฝนดาวตก

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

ผู้สนใจแนะนำชมในสถานที่ที่มืด ไม่มีแสงไฟรบกวนหรือห่างจากเมือง ควรใช้เวลาปรับสายตาในที่มืด ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สายตาคุ้นเคยกับความมืด และให้นอนรอชมปรากฏการณ์ เนื่องจาก ฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้าบริเวณกว้าง สำหรับการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้นแนะนำใช้เลนส์มุมกว้างและถ่ายภาพทั่วทั้งท้องฟ้า เพราะ ไม่สามารถระบุทิศทางได้ ต้องอาศัยการคาดเดาและเปิดหน้ากล้องค้างไว้ให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น