“อนุทิน” ถกเข้มมท. ผู้ว่าฯรุกนโยบายเมืองไทย ไร้อุบัติเหตุ

"อนุทิน" ถกเข้มมท. ผู้ว่าฯรุกนโยบายเมืองไทย ไร้อุบัติเหตุ

วันนี้ (13 ธ.ค. 66) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมประชุม โดยเป็นการประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ (Webex) ไปยังศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟัง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เรื่องของอุบัติเหตุทางถนน ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นเหตุสุดวิสัย และส่วนที่ป้องกันได้ รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งได้สะท้อนอยู่ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ที่ได้มีการกล่าวถึงความเป็นมาในทางถนนและการลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ก็จำเป็นต้องมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน วันนี้จึงขอเชิญทุกท่านร่วมประชุมเพื่อรับทราบสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยกับค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 ซึ่งเป็นแผนหลักในการบูรณาการการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และขอให้ร่วมกันพิจารณาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ. 2567 รวมถึงข้อเสนอในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบาย


การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดอัตราการบาดเจ็บลงให้เหลือน้อยที่สุด และแน่นอนว่าถ้าหากเราสามารถทำให้ตัวเลขการสูญเสียต่ำกว่าเป้าหมายนี้ได้ยิ่งดี ซึ่งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาที่ตนเคยได้ร่วมทำงานติดตามกับคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ทำให้ทราบว่าอัตราอุบัติเหตุจะมีการผันแปรไปกับการสัญจร หากมีการเดินทางมากขึ้นจะมีอัตราอุบัติเหตุสูงขึ้น ซึ่งอุบัติเหตุเกิดได้ทุกพื้นที่ทุกเวลาและส่วนใหญ่มาจากการดื่มแล้วขับ ดังนั้นหากประชาชนที่จะดื่มก็ต้องมีการวางแผน และหากเจ้าหน้าที่ทุกคนเข้มงวดกวดขันก็จะช่วยลดอุบัติเหตุจากดื่มแล้วขับได้ เช่น การควบคุมการจำหน่ายสุราของมึนเมาให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้น เราทุกคนจึงต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ขอให้ทุกท่านช่วยกันหาแนวทางแก้ไขบูรณาการร่วมกัน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้

“จากข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค จะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่มีต้นเหตุมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งขณะนี้ทุกท่านก็คงทราบกันดีว่ากระทรวงมหาดไทยกำลังยกระดับเพิ่มความเข้มงวดกวดขัน ทั้งเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในสถานบริการ ซึ่งตนได้ลงพื้นที่ไปตรวจตราด้วยตนเองซึ่งยังคงพบว่าที่สถานบริการมีความเสี่ยงในการกระทำความผิดจำนวนมาก ทั้งการใช้สารเสพติด การลักลอบอนุญาติให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์เข้าไปใช้บริการ ดังนั้น จึงฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดที่ต้องหามาตรการที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทำความผิดขัดต่อกฎหมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแสดงตัวตนด้วยบัตรประชาชน ท่านต้องทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการให้ชัดเจน หากเราควบคุมสารตั้งต้นได้ก็จะช่วยทำให้เราบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายของเราไม่ใช่ตัวเลขที่ลดลง แต่เป็นมาตราการที่เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่พี่น้องประชาชน หากเราทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มที่ อุบัติเหตุก็จะลดลงตามไปด้วย จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปรับตั้งตัวชี้วัดและเป้าหมายให้เหมาะสม เพื่อใช้ในการติดตามสถาณการณ์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินประชาสัมพันธ์การรณรงค์ “ดื่มไม่ขับ” ทั้งการขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ทุกแห่ง เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักให้กับพี่น้องประชาชน และยิ่งไปกว่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกท่าน ได้รับผิดชอบอยู่ในพื้นที่ของท่านอย่างเต็มเวลา เพื่อจะได้ต้อนรับและดูแลนักท่องเที่ยวและประชาชนในช่วงปีใหม่ได้อย่างเต็มความสามารถ พร้อมดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติภัยได้มากที่สุด และที่ตนได้เน้นย้ำอยู่เสมอว่าหากผู้ว่าราชการจังหวัดได้บูรณาการร่วมกับตำรวจในการขับเคลื่อนปราบปรามป้องกันการกระทำผิดอย่างจริงจัง เราก็จะสามารรถบรรลุเป้าหมายได้” ” นายอนุทิน ฯ กล่าวในช่วงต้น

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเน้นย้ำอีกว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ตนเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งนี้ จึงได้มีข้อสั่งการในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการดังนี้ 1) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 12 คน ต่อแสนประชากร ภายในปี 2570 และบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ “ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง” เกิดการสัญจรทางถนนที่ปลอดภัย ให้คนไทยห่างไกลอุบัติเหตุ “เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” พร้อมทั้งเร่งระบายการจราจรให้ประชาชนถึงที่หมายอย่างปลอดภัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนทุกคน 2) ในระดับพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใช้กลไกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 ขอให้บูรณาการทุกหน่วยงานในพื้นที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขต และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม ทุกประเภทยวดยานภาหนะ และทุกช่วงวัย รวมถึงนักท่องเที่ยว 3) ให้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ควบคู่กับการสร้างความตระหนัก จิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 4) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกรอบแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 อย่างเข้มข้น โดยเน้นมาตรการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเชิงรุกในพื้นที่ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการสัญจรให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชน

ด้านนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยกับค่าเป้าหมาย ตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565-2570 เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยงานทุกภาคส่วนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ภายในปี พ.ศ. 2570 ประกอบด้วย 1) ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเหลือ 8,474 คน หรือ 12 คนต่อแสนประชากร 2) ลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนน เหลือ 106,376 คน ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะสำนักงานเลขานุการฯ ได้แจ้งค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้รับทราบและไปบูรณาการการดำเนินการในระดับพื้นที่แล้ว

“ในส่วนของแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ. 2567 ที่ประชุมได้เห็นชอบในการใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด โดยมีข้อสรุปสาระสำคัญ คือการรณรงค์จะรณรงค์ภายใต้หัวข้อ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ซึ่งแผนมีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน ให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคม โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับภาพรวม ระดับหน่วยงาน และระดับพื้นที่ สำหรับการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ และช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 โดยมีมาตรการดำเนินการ 5 มาตรการ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ อาทิ จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลทุกระดับ มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงโดยใช้แนวทางการจัดทำ “ประชาคมชุมชน/หมู่บ้าน” และการจัดกิจกรรมทางศาสนา “1 อำเภอ 1 กิจกรรม” 2) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม อาทิ กำหนดให้ถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกเส้นทางเป็นถนนปลอดภัย แก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางร่วม ทางแยก 3) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ อาทิ กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด 4) ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย อาทิ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย และ 5) ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ อาทิ จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” นายไชยวัฒน์ ฯ กล่าวเพิ่มเติม

แพทย์หญิงศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ ผู้แทนกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย จากข้อมูลจำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2566 เป็นระยะเวลา 6 เดือน มีรายงานผู้เสียชีวิตทางถนน จำนวน 12,730 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.54 ต่อประชากรแสนคน หากเปรียบเทียบเป้าหมายกับ มีอัตราเสียเสียชีวิตในระยะเวลา 9 เดือน คิดเป็นร้อยละ 94.44 ของค่าเป้าหมายปี 2566 หากเปรียบเทียบปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันมีผู้เสียชีวิตลดลง 80 ราย หากวิเคราะห์ข้อมูลรายจังหวัดพบว่า มี 24 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตเกินกว่าเป้าหมายทั้งปีไปแล้ว ในส่วนของข้อมูลผู้ขับขี่ที่ดื่มแล้วขับจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 ยังคงมีอัตราส่วนคงที่ อยู่ในช่วงร้อยละ 20.84-22.28 โดยวิเคราะห์ตามช่วงเวลาที่เกิดเหตุ พบว่า ช่วงเวลาตั้งแต่ 0.00 – 23.00 น. และ 18.00 – 23.00 น. มีผู้บาดเจ็บจากการดื่มแล้วขับรวม คิดเป็นร้อยละ 71 ของทั้งหมด ซึ่งอัตราพื้นที่ดื่มขับจำแนกรายจังหวัด ปี 2566 โดยมีจำนวน 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนดื่มขับมากที่สุด คือ จังหวัดนครพนม น่าน เชียงราย อุบลราชารนี แพร่ จันทบุรี ยโสธร ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และมุกดาหาร ในส่วนของอัตราการสวมหมวกนิรภัยและอัตราการบาดเจ็บศีรษะในกลุ่มผู้ใช้จักรยานยนต์ ปี 2560-2566 พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ คำนวนจากผู้บาดเจ็บและเข้ารับการรักษา โดยผู้บาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่สวมหมวกนิรภัย คิดเป็นร้อยละ 15.94-18.1 เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สวมหมวกมีอัตราบาดเจ็บ คิดเป็นร้อยละ 45 จากทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น