"Golden Boy" ดราม่า เขมรเคลม โวยของกัมพูชา เหตุใดคนไทยจึงภูมิใจที่ได้สิ่งที่ไม่ใช่ของตน ล่าสุด พิพิธภัณฑ์ฯ ปลดออกจากการจัดแสดงเพื่อเตรียมส่งกลับแล้ว
ข่าวที่น่าสนใจ
ภาพ : metmuseum.org
จากกรณี พิพิธภัณฑ์ The Metropolitan ในสหรัฐอเมริกา เตรียมส่งโบราณวัตถุเก่าแก่คืนให้ไทย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ “Golden Boy” ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ที่มีอายุราว 900 – 1,000 ปี ซึ่งถือเป็นจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์สำคัญเชื่อมโยงกับพื้นที่ราบสูงโคราช ขณะที่ทาง กัมพูชา ก็อ้างเช่นกันว่า ประติมากรรมดังกล่าวเป็นศิลปะของเขมร และควรถูกส่งกลับมาที่กัมพูชา
อย่างไรก็ตาม ความพยายามของ กัมพูชา ดูจะไร้ผล เมื่อพิพิธภัณฑ์ฯ ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทั้งพยานบุคคลที่ยังมีชีวิต รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ จากนักโบราณคดีไทยที่ไปเจอชุมชนที่ขุดค้นพบ ชี้รอยตำหนิสำคัญ ทำให้สหรัฐฯ ยอมส่งคืนไทย ตามหลักที่ว่า พบที่ไหน ก็คืนที่นั่น นี่ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญในการทวงคืนชิ้นอื่น ๆ ที่ถูกขโมยไปอีกด้วย
แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็เลยเป็นดราม่าทำให้ชาวเขมรต่างออกมาโวยวายด้วยความไม่เข้าใจ หลายคนยังมีความเชื่อว่าประติมากรรมดังกล่าวถูกขโมยมาจากเขมร บ้างก็ว่า
- แม้ว่าโกลเด้นบอยจะถูกนำมาจากจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีต แต่มันก็ยังคงเป็นของอาณาจักรเขมร ที่ไม่ใช่สยามหรือประเทศไทยอยู่ดี
- นี่คือประติมากรรมเขมร ฉันหวังว่าโกลเด้นบอยจะกลับคืนสู่ประเทศที่เป็นเจ้าของ ได้โปรด
- มันเป็นของเขมร แล้วทำไมถึงคืนไปที่ประเทศไทยล่ะ?
- โกลเด้นบอยถูกขโมยมาจากกัมพูชา แต่ถูกค้นพบและมีการซื้อขายจากประเทศไทย
- นี่ถือเป็นข่าวเศร้าที่สุดสำหรับชาวกัมพูชาทุกคน
- เหตุใดประเทศไทยจึงภูมิใจที่ได้สิ่งที่ไม่ใช่ของตน?
- ฉันรู้สึกเสียใจ ว่าทำไมสิ่งประดิษฐ์ของกัมพูชาจำนวนมาก ถึงไปอยู่ในประเทศไทย ฉันรู้แค่ว่ากัมพูชาอยู่ในภาวะสงคราม และสิ่งประดิษฐ์ ก็ถูกขโมยอย่างผิดกฎหมาย
ขณะที่คนไทยก็ได้แสดงความเห็นโดยบอกว่า
- เรามีหลักฐานว่าโกลเด้นบอยอยู่ที่ปราสาทพิมาย นี่เป็นเหตุผลที่อเมริกาจึงส่งโกลเด้นบอยกลับไทย พบที่ไหนก็ต้องคืนที่นั่น
- สวัสดี ฉันเป็นคนไทยและไม่ต้องการก่อสงครามวัฒนธรรมหรืออะไรทำนองนั้น แต่เนื่องจากเราถูกกล่าวหาว่ามีมรดกเขมรในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับโกลเด้นบอยถูกค้นพบจากบ้านยาง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยคนในท้องถิ่น และขายให้กับพ่อค้าของเก่าในราคา 29,000 เหรียญสหรัฐฯ และลักลอบส่งออกอย่างผิดกฎหมาย สิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ควรกลับไปยังโบราณสถานซึ่งเดิมทีเป็นเจ้าของมัน หลังจากถูกขโมยไปในยุคปัจจุบันไม่ใช่หรือ? เช่น ถ้าเราพบสิ่งใดในไทย ที่ถูกขโมยมาจากนครวัด ในยุคปัจจุบัน ฉันยินดีที่จะเห็นมันกลับกัมพูชา มากกว่าที่จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ไทย
แต่กลับถูกชาวเขมรตอบกลับว่า โอ้พระเจ้า ฉันเพิ่งเคยเห็นคนไทยแบบคุณ เข้าใจประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างเขมรกับไทย บุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของเขมร ฉันหวังว่าผู้คนในบุรีรัมย์ที่มีสายเลือดเขมรจะไม่ลืมตรงนี้
ทำไมกัมพูชาถึงอยากครอบครอง
ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี เปิดเผยว่า ประติมากรรมสำริด มีชื่อเรียกถึง 3 ชื่อ ชื่อแรกมาจาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน ได้ขึ้นป้ายจัดแสดงว่า พระศิวะในอิริยาบถยืน ชื่อที่สองมาจาก หนังสือที่พิพิธภัณฑ์ตีพิมพ์รูป นักวิชาการจัดทำ ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เพราะถ้าเป็นพระศิวะ ต้องมีดวงตาที่สามบริเวณหน้าผาก ประกอบกับรูปแบบศิลปะไม่ใช่แบบบาปวน หรือนครวัด แต่เหมือนกับแบบของปราสาทหินพิมายที่สร้างถวายให้กับ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ส่วนชื่อที่สามคือ “Golden Boy” ใช้ในตลาดขายวัตถุโบราณ โดยนายดักลาส แลตช์ฟอร์ด นายหน้าค้าโบราณวัตถุใช้ชื่อนี้ เพราะทำด้วยกะไหล่ทองทั้งองค์ ชื่อนี้สื่อความหมายถึง ศิลปะชิ้นเยี่ยมที่สุด ดังนั้นทาง กัมพูชา จึงอยากได้มาก ถึงขนาดที่ตอนนำหลักฐานไปยืนยันกับอเมริกา มีการนำนักวิชาการชาวกัมพูชามายืนยันว่าเป็นศิลปะสมัยใดของเขมร แต่อธิบายได้ไม่ชัดเจน
ศิลปะแบบพิมาย ไม่พบในกัมพูชาแต่อย่างใด
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์สายราชสกุลมหิธรปุระ เป็นชาวพิมายในที่ราบสูงโคราช ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระองค์นับถือศาสนาพุทธ หลังจากที่พระเจ้าหรรษวรรมันที่ 3 กษัตริย์ แห่งเมืองนครธม สวรรคต ทำให้เกิดความวุ่นวาย ตอนนั้นมีกษัตริย์ 3 องค์ขึ้นครองราชย์พร้อมกัน และต่างฝ่ายต่างขัดแย้งกัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 จึงลงไปปราบกบฏและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเมืองนครธม พระองค์ใหม่ รวมถึงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ มหิธรปุระ อันมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงโคราช
เชื้อสายของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 อยู่ปกครองเมืองนครธมมาอีก 250 ปี รวม 11 รัชกาล จนถึงสมัยของพระชัยวรมันที่ 9 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง คือ นายแตงหวาน หรือ ตระซอกปะแอม ได้ทำการโค่นล้มราชวงศ์วรมัน และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร ทำให้ไม่มีสร้อยพระนามลงท้ายพระนามกษัตริย์ด้วย วรมัน มาจนถึงปัจจุบัน
ภาพ : metmuseum.org
ล่าสุด ป้ายชื่อของ “Golden Boy”
พิพิธภัณฑ์เมท อธิบายว่า รูปพระศิวะ ในป้ายจัดแสดง, หรือรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ในหนังสือที่พิมพ์จำหน่าย, หรือรูป โกลเด้นบอย ในหนังสือการค้าโบราณวัตถุของดักลาส แลตช์ฟอร์ด ฯลฯ สำคัญที่บรรทัดท้ายสุด พิพิธภัณฑ์เมท เขียนไว้ว่า “ถูกปลดออกจากการจัดแสดงเพื่อเตรียมส่งกลับประเทศไทย ปี 2023”
Studio7 : Apple Watch 11 Dec – 31 Dec 2023
- Apple Watch มอบสุขภาพดี รับปีใหม่ ลดปังกว่าเดิม! สูงสุด 1,400.- Watch Serie 9 เริ่มต้น 14,500.- l Watch Ultra 2 เหลือเพียง 31,200.- ช้อปเลย : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง