พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

วันที่ 11 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม วาระกระทู้ถามสด โดยนายสหัสวัต คุ้มคง สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ตั้งถาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ต่อประเด็นการขั้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้เปิดเผยผลการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างรายจังหวัด รวมถึงพิจารณาปรับคณะกรรมการไตรภาคีที่พบว่ามีฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง หรือยุบทิ้งได้หรือไม่ อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลส่งเสริมนโยบายการมีบุตร ดังนั้นการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำให้สามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพเลี้ยงครอบครัวได้ ควรพิจารณาให้สอดคล้องกัน

นายพิพัฒน์ ชี้แจงว่า วิธีการคิด และคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ 20- 30 ปีใช้ข้อมูลฐานเดิม คือ ปี 2563 – 2564 ให้อนุไตรภาคีแต่ละจังหวัดเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ที่มีตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างรวมถึงฝ่ายรัฐ ทั้งนี้จากการทำงานของตนเกือบ 4 เดือน ต้องขออภัยที่ไม่สามารถทำให้มีค่าแรงขั้นต่ำได้สูงกว่าที่ประกาศและใช้ไปเมื่อ 1 ม.ค. 2567 อย่างไรก็ดีในการประกาศค่าแรงขั้นต่ำจะมีอีกครั้งในวันปีใหม่ไทย หรือ ในวันสงกรานต์ เดือนเม.ย. นี้ และในปี 2568

ข่าวที่น่าสนใจ

“ผมไม่ขอต่อล้อต่อเถียงในเรื่องกรรมการไตรภาคี เพราะท่านคงมีความรู้มากกว่าผม และทำการบ้านมามากกว่าผม ทั้งนี้กรรมการไตรภาคีนั้นเป็นการเลือกกันเองของลูกจ้างและนายจ้าง โดยกระทรวงแรงงานก้าวก่ายไม่ได้ อย่างไรก็ดีที่ถามถึงขั้นตอนการเลือกโดยไม่มีสหภาพแรงงานนั้นผมจะขอไปสอบถามให้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีผมไม่มีสิทธิเข้าไปร่วมการประชุมไตรภาคี เพราะจะถูกมองว่าแทรกแซงการพิจารณา แม้จะเข้าไปทีแรกเพราะแนะนำตัวเท่านั้นโดยไม่มีสิทธิหน้าที่แทรกแซง” นายพิพัฒน์ ชี้แจง

ไม่มีคำอธิบาย

นายพิพัฒน์ ชี้แจงด้วยว่าที่ผ่านมาขอให้ผ่านไป ไม่ใช่ปัดสวะ ที่ผ่านมาคงแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ต่อไปจะหารือประธานบอร์ด และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ไม่สามารถหารือกับฝ่ายนายจ้างหรือลูกจ้างได้ โดยตนจะดูและให้ความเห็นกับที่ปรึกษากรรมการ ว่าอะไรควรหรือไม่ ส่วนรายละเอียดเจาะลึก จะมุ่งเป้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อาชีพที่ไม่มีจะขึ้นตามอัตภาพ หรืออัตราส่วน สำหรับค่าแรง 3 จังหวัดภาคใต้ ที่อัตราสูงอาจไม่มีผู้ลงทุนในพื้นที่เพราะต้องมีค่าเสี่ยงภัย

นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่าสำหรับค่าแรงของผู้มีบุตรนั้นตนเตรียมเสนอ ครม. เร็วๆ นี้เพื่อพิจารณาการจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนสำหรับผู้ที่ลาคลอดบุตร 98 วัน โดยให้นายจ้างอุดหนุนเงินเดือน 49 วัน และสำนักงานประกันสังคม จ่ายเงิน 49 วัน ซึ่งถือว่าจะได้รับเงินเดือนเต็ม ในช่วงที่ลาคลอด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น