น่าชื่นชม 2 ศิลปินชาวกวย ออกตระเวนถ่ายทำมิวสิคเพลง หวังสืบสานอนุรักษ์ภาษากวย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของจังหวัดสุรินทร์ ให้คงอยู่สืบไป

สุรินทร์ - ศิลปินกวยโทร๊ะเเถร่ (ศิลปินบ้านนอก) ของแท้ ออกถ่ายทำมิวสิค ฉาก ขุดปู เลี้ยงควาย กันเพียง 2 คน หวังสืบสานอนุรักษ์ภาษากวย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของจังหวัดสุรินทร์ ให้คงอยู่สืบไป

วันที่ 22 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ บ้านฉลีก ต.ตรวจ อ.ศีณรงค์ จ.สุรินทร์ ได้เห็นทีมถ่ายเอมวีเพลงแบบสไตส์อินดี้ทีมหนึ่ง กำลังขนอุปกรณ์การถ่ายทำ มีกีต้าร์สองตัวและกล้อง(โทรศัพท์มือถือ) โดยใช้ยานพาหนะคือรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างพร้อมทีมงาน จากการสอบถามได้ความว่า ทั้งสองเป็นศิลปินนักแต่งเพลง แนวอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น ภาษากวย-กูยคือ คือนายทวี บุญเสก หรืออดีตกำนันตุ้ม กำนันต.ตรวจ หรือในนามชื่อศิลปิน ตุ้ม กอนกวย อยู่บ้านฉลีก อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ ส่วนอีกคนชื่อ นายพูนสิน ยั่งยืน เป็นศิลปินนักแต่งเพลง ชื่อศิลปิน ศิลป์ กลิ่นอักษร ซึ่งทั้งสองกำลังออกไปถ่ายเอมวีเพลงซิงค์ใหม่ของ ตุ้ม กอนกวย ชื่อเพลง จำมองลบดุง (รอเธอกลับบ้าน)คำร้อง-ทำนองของศิลป์ กลิ่นอักษร ซึ่งโดยปกติทั่วไปทีมงานถ่ายทำจะต้องมีหลายชีวิต รถขนย้ายอุปกรณ์อีกจิปาถะ แต่ทีมงานนี้ มีกันแค่สองคน แต่งเอง ร้องเอง ถ่ายกันเอง ตัดต่อเอง โดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นสื่อกลางที่ไม่มีพรหมเเดนทางด้านดนตรี

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ตุ้ม กอนกวย ศิลปินชาวกวย เปิดเผยว่า เราไม่มีทุนเหมือนทีมอื่นๆเขา แค่พอมีเงินทำดนตรีบ้างที่เจียดเงินจากงานประจำ ส่วนคนเเต่งเพลงเอง คือศิลป์ กลิ่นอักษร ซึ่งเขามีอาชีพเป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เเละรับเเต่งเพลงทั่วไป ส่วนการถ่ายทำก็ถ่ายกันเองแบบง่ายๆบ้านๆ ไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากมาย แค่อยากนำเสนอผลงานเพลงแนวภาษาพื้นถิ่น คือภาษากวย กูย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาแม่ ภาษาบ้านเกิด ให้ผู้คนได้รู้จักเท่านั้น โดยปกติเเล้ว คนทั่วไปหรือคนนอกพื้นที่จะเข้าใจว่า จังหวัดสุรินทร์ จะมีเเค่คนพูดภาษาเขมรเท่านั้น เเละมีคนพูดภาษาลาวบางส่วน เเต่ความจริง ที่เป็นภาษาท้องถิ่นควบคู่กันมานาน ก็คือภาษากูย ที่เป็นภาษาชนชาติพันธุ์ มีอาริยธรรมประเพณีที่สอดคล้องกันมา ที่เขมร กวยลาว อยู่ร่วมกันในชุมชนเดียวกัน อย่างปกติสุขมาหลายช่วงอายุคน

 

ซึ่ง “ชาวกูย” มักเป็นที่รู้จักกันในนามกลุ่มที่เลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มย่อยหนึ่งของชาวกูยเท่านั้น ขณะที่ชาวกูยแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง มีความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น กูยมะไฮ จังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อเกี่ยวกับศาลผีอาหย๊ะจำนักที่สถิตอยู่บนภูเขา ว่าเป็นประตูเปิดเข้าสู่ป่าเป็น การอนุญาตใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ในบริเวณกูยมะโล จังหวัดศรีษะเกษ มีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษหรือศาลปู่ตา ในขณะที่กูยมะโลและกูยมะลัวใน จังหวัดสุรินทร์ และ จังหวัดศรีสะเกษ มีความเชื่อเกี่ยวกับตะกวดว่าเป็นสัตว์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นผีบรรพบุรุษผู้คุ้มครองความปลอดภัยแห่งชีวิต และอาจจะมีลักษณะร่วมกันบางประการด้านภาษา ด้านประเพณีการถือผี แต่ชาวกูยเองก็มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองตามพื้นที่เฉพาะแต่ละท้องถิ่น

 

 

 

สำหรับ 2 ศิลปินนี้ก็เช่นกัน ก็ต้องการเพียงเพื่อสืบสานอนุรักษ์ภาษากวย โดยการเเต่งเพลงเอง ร้องเอง ถ่ายมิวสิคเอง เเละเเอบหวังว่าคนที่พูดภาษากูย ที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั้งคนทำงาน ทั้งที่เเยกย้ายไปมีครอบครัวอยู่ต่างถิ่น จะได้คิดถึงภาษาถิ่นเกิด ที่มีขนบ อาริยธรรมที่สืบทอดกันมา เพื่อร่วมกันสืบสานอนุรักษ์สืบต่อกันไปไม่ให้สูญหาย.

 

 

 

 

ทีมข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์ รายงาน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น