“หมออ๋อง” โอ่รับผิดชอบ ปม 1 ใน 44 สส. หนุนแก้ม.112

"หมออ๋อง" พร้อมรับผิดชอบ ปมเป็น1ใน 44 สส. หนุนแก้ม.112

วันที่ 6 ก.พ.67 ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี เป็น 1 ในสส. 44 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่านโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลมีการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จะมีการเตรียมการชี้แจงอะไรหรือไม่ ว่า ยังไม่มีการเรียกแต่อย่างใด และคิดว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบการทำงาน ซึ่งคงต้องหารือสส.ของพรรคก้าวไกล ทั้ง 43 คนที่ร่วมกันลงชื่อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะตนอยู่ในกรรมการบริหารพรรคชุดนั้นจริง และเห็นด้วยกับการออกนโยบาย 300 ข้อในการหาเสียง เรื่องในอดีตตนมีส่วนรับผิดรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ที่จะมีการเรียกไต่สวน เรียกพยาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ตนก็พร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่

หมออ๋อง" ยันตั้งงบดูงานสิงคโปร์โปร่งใส ขอให้รอดูผลการทำงาน - สยามรัฐ

ส่วนการชี้แจง ที่ผ่านมาสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระบวนการยื่นกกต.ในเรื่องของนโยบาย รวมไปถึงการตอบคำถามกับสื่อมวลชน ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ทำงานพูดไปตามข้อเท็จจริงที่ เราเตรียมการ

ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะกระทบต่อตำแหน่งในอนาคต นายปดิพัทธ์ ระบุว่า กังวลว่าจะกระทบสิทธิและเสรีภาพของกระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจอื่นหรือองค์กรอื่นมาบอกว่าสส.ทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ ตนยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะอยู่ในตำแหน่งนาน แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้น ออกจากอำนาจที่จะอยู่เหนือหรือล้ำรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อถามว่าทางออกควรเป็นอย่างไรนายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ขบวนการพิจารณาระยะสั้นสังคมจะเจอคำถามว่ากระบวนการพิจารณาความยุติธรรมขององค์กรอิสระมีความยุติธรรม และเป็นไปตามจริยธรรมหรือไม่ และเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราไม่ได้ไปก้าวร่วงในการพิจารณาคดี แต่หากคำตัดสินไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ นักวิชาการจำนวนมากก็พูดว่าแบบนี้จะเป็นการใช้อำนาจเกินไปหรือไม่ ส่วนเรื่องระยะยาว องค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 60 ถึงจะมีต้นกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 แต่เรื่องนี้ถึงเวลาต้องทบทวนอย่างหนักในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขององค์กรอิสระเหล่านี้ ที่ไม่ได้รับการประเมินอย่างตรงไปตรงมาถึงความจำเป็นที่จะมีอยู่ในอนาคต

เมื่อถามว่าในอนาคตการนำเสนอนโยบายและการแก้กฎหมาย จะต้องกลั่นกรองหรือไม่ เพราะต่อไปจะทำให้สส.ไม่กล้าเสนอกฎหมาย นายปดิพัทธ์ ย้ำว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องของนิติบัญญัติที่โดนดูถูก และตกต่ำ ว่าถ้าสส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่สามารถที่จะเสนอกฎหมายได้ ทุกเรื่องต้องผ่านศาลก่อน จึงสามารถดำเนินการได้ ตนกลัวว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นไปตามการแบ่ง 3 อำนาจ

ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้น ตนมองว่า หากคนในกระบวนการยุติธรรมทำความผิด ก็ควรมีกระบวนการในการเอาผิด ไม่เช่นนั้นจะมีอำนาจล้นเกินของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ ว่าเราจะจัดสมดุลอำนาจกันอย่างไร ตนไม่เห็นด้วยที่นิติบัญญัติจะเป็นเอกเทศ โดยไร้การตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจสอบกลับไม่มีอะไรไปตรวจสอบเขา เรื่องนี้ต้องมากลับมาจัดสมดุลอำนาจใหม่ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.ลงพื้นที่ "นครพนม" ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย
"พิพัฒน์" ยันค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ประกาศขึ้น 1 ต.ค.นี้ ชี้เตรียมมาตรการช่วยทั้ง "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ไว้พร้อมแล้ว
"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น