ไม่รู้จริงอย่าหาทำ!! จับชีพจร อนาคตการเมือง “เดียร์ ฉายเดี่ยว” หรือ เดียวดาย ?

ไม่รู้จริงอย่าหาทำ!! จับชีพจร อนาคตการเมือง “เดียร์ ฉายเดี่ยว” หรือ เดียวดาย ?

กลายเป็นอีกหนึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์ สำหรับ กรณีของ เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในการตัดสินใจงดออกเสียง ญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในกรณีของนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมให้เหตุผลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เหตุผลการตัดสินใจลงคะแนนงดออกเสียง รมว.กระทรวงสาธารณสุข “อนุทิน ชาญวีรกูล”

เนื่องจากการอภิปรายข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน แสดงถึงความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค ที่กระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการจัดหาวัคซีนและความโปร่งใสในกระบวนจัดซื้อ #ATK รวมถึงความสามารถในการบริหารงานด้านสาธารณสุขที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความล้มเหลว

แต่คำชี้แจงของรมว. ที่ตอบคำถามเพื่อนสมาชิกฯ ไม่ได้รับความชัดเจน ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ นั่นจึงเป็นผลที่เดียร์ของดออกเสียงในฐานะสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล

ส่วนกรณีของรมว.คมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบที่ถูกอภิปรายเรื่อง #เขากระโดง กรณีดังกล่าว ยังไม่มีข้อมูลใหม่และขณะนี้คดีได้อยู่ภายใต้การตรวจสอบของปปช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งพฤติกรรมเสเพล ที่ถูกอภิปราย ก็ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความผิดได้อย่างชัดเจน นี่คือการแสดงจุดยืนของเดียร์ ในฐานะตัวแทนของประชาชน

ประเด็นทื่ต้องพิจารณาก็คือ การแสดงเหตุผลประกอบการตัดสินใจดังกล่าว เป็นไปโดยข้อเท็จจริงหรือ เกิดขึ้นด้วยเหตุผลอื่น ๆ เพราะ กรณีข้อมูลฝ่ายค้านว่าด้วยการอภิปรายเรื่องการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค มีหลายจุดแสดงให้เห็นข้อผิดพลาด และมุ่งไปที่วิธีการใช้คำพูด ชวนเชื่อ เท่านั้น

เช่นความเห็นจาก รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย อภิปรายเรื่องวัคซีน ว่า หากฝ่ายค้านสามารถนำข้อมูลที่เป็นจริงออกมาตีแผ่ได้ ก็เป็นเรื่องดี เพราะเราจะได้รู้ว่ามีการรับผลประโยชน์จากวัคซีนจริงหรือไม่

แต่กลายเป็นว่า เมื่อตั้งใจตามดูจริงๆกลับผิดหวัง รายละเอียดที่นำแสดง ไม่แน่ใจคุณประเสริฐ เข้าใจความแตกต่างระหว่าง ราคาและวงเงินที่ได้รับอนุมัติกับราคาที่ซื้อได้จริง และจำนวนเงินที่จ่ายจริงหรือไม่

เพราะวงเงินและราคาที่ได้รับอนุมัติเป็นเพียงกรอบซึ่งผู้ตั้งมักจะตั้งเผื่อไว้เสมอ กรอบจึงหมายความว่า ราคาห้ามสูงกว่านี้ แต่ต่ำกว่าได้ ยิ่งซื้อได้ถูกลง ใช้เงินน้อยลงได้เท่าไรยิ่งดี ไม่ว่าจะอนุมัติวงเงินเท่าใด เวลาจ่ายต้องจ่ายตามจริงเสมอ ไม่ใช่อนุมัติเงินแล้วให้ผู้ซื้อถือเงินไปซื้อ ซื้อได้ถูกกว่าก็เก็บเข้ากระเป๋าได้

มีทางเดียวที่จะนำเงินไปเข้ากระเป๋าใครได้ คือจะต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตาม invoice ไปก่อน จากนั้นผู้ขายนำเงินส่วนหนึ่งกลับมาให้ภายหลัง ที่เรียกว่า “เงินทอน” หรือ “kick back” ซึ่งในกรณีนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้

สรุปแล้ว คุณประเสริฐพิสูจน์ได้เพียงว่า ราคาวัคซีนที่ได้รับอนุมัติครั้งหลังๆ สูงกว่าราคาที่ซื้อจริงเท่านั้น ไม่ได้พิสูจน์ได้ว่ามีการทุจริตจริงหรือไม่ ซึ่งความจริงต้องชมผู้จัดซื้อเสียด้วยซ้ำที่ซื้อได้ถูกกว่าราคาที่ได้รับอนุมัติ เท่ากับประหยัดเงินไปได้ประมาณ 2,085 ล้านบาททีเดียว

ไม่ทราบว่าก่อนที่จะนำข้อมูลนี้มาอภิปราย พรรคเพื่อไทยได้มีการกรองกันก่อนหรือไม่ ไม่ควรปล่อยให้คนระดับเลขาธิการพรรค ออกมาพลาดพลั้งแบบนี้ ไม่เป็นผลดีต่อพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะมองจากมุมใดก็ตาม

นั่นเป็นประการแรกที่ถูกนำมาใช้อ้าง งดออกเสียง นายอนุทิน หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แต่ถ้าพิจารณาอีกด้านจากมุมมองของ รศ.หริรักษ์ ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่านี่้คือประเด็นข้อกังขา สำหรับจุดยืนของส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อย่าง เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี ซึ่งเป็นแสดงท่าทีทางการเมือง สอดคล้อง ไปกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มสื่อค่ายบางนา ที่มีปมขัดแย้งกับ นายอนุทิน ชาญวีรกุล มาโดยตลอด

ส่วนกรณีการจัดหาวัคซีนและความโปร่งใสในกระบวนจัดซื้อ ชุดตรวจโควิด ATK ชัดเจนว่าปัญหาดังกล่าว เริ่มต้นจาก กลุ่มแพทย์ชนบท ในการออกมาคัดค้านผลการประมูลจัดซื้อชุดตรวจ ATK จำนวน 8.5 ล้านชุด ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. อย่างเร่งด่วน ทั้ง ๆ การประมูลดังกล่าว เป็นไปหลักการ และ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่าย ยี่ห้อ SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test Kit จากบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด และได้รับการขึ้นทะเบียนจาก องค์การอาหารและยา เป็นผู้ชนะการประมูลตามขั้นตอน

แต่ผู้บริหารกลุ่มแพทย์ชนบท อ้างว่าต้องการให้มีการจัดซื้่อชุดตรวจโควิด ที่ได้ผ่านการรับรองโดย WHO เท่าน้ั่น และพบว่ามีเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้น ที่อยู่ในความหมายของกลุ่มแพทย์ชนบท คือ Panbio ของบริษัท แอบบอต และ Standard Q ของ เอ็มพี กร๊ป เท่านั้น และมีราคาสูงถึง 160 บาทต่อชิ้น จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่า ใครกันแน่ที่มีเจตนาล็อคเสป็คการจัดซื้่อชุดตรวจโควิดครั้งนี้

ขณะที่ นางศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยืนยันว่าข้อมูว่า อภ.ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาล (รพ.) ราชวิถี ให้ดำเนินการจัดหาชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด เป็นการเร่งด่วน ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับให้ประชาชนใช้ตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษารวดเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุม

และอภ. เปิดโอกาสให้บริษัทผู้จำหน่าย ATK จำนวน 19 บริษัท จากรายชื่อบริษัทเชิญไป 24 บริษัท เข้าร่วมเสนอราคา และคณะกรรมการพิจารณาในขั้นต้นแล้ว พบว่ามีบริษัทที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนด และสามารถส่งมอบได้ตามกำหนด 16 บริษัท จึงได้ทำการเปิดซองราคาปรากฏว่าบริษัท ออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาต่ำกว่าวงเงินงบประมาณที่ สปสช.ตั้งไว้ ทำให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐได้กว่า 400 ล้านบาท โดยราคาชุดตรวจ ATK จะเหลือประมาณชุดละ 70 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว

กระทั่งเป็นเหตุผล ทำให้ นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม ต้องลุกขึ้นสู้เรื่องนี้ ด้วยการยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบพฤติกรรมของ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท และ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล ในฐานะคณะทํางานกําหนด อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีการจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8.5 ชุด หรือไม่

โดยเฉพาะการแสดงข้อมูลหลักฐานว่า เมื่อเปรียบเทียบมาตรฐานของ WHO และ อย.พบว่า มาตรฐาน อย.สูงกว่า WHO โดย WHO กําหนด sensitivity มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ในขณะที่ อย.กําหนด 90% และ WHO กําหนด specifictity มากกว่าหรือเท่ากับ 97% ในขณะที่ อย.กําหนด 99% จึงเห็นข้อพิรุธอย่างชัดเจน ว่า การที่เพิ่มมาตรฐาน WHO เข้าไป ไม่ได้ทําให้ได้ของที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น แต่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการ รายอื่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน WHO ล็อก spec ให้กับบริษัทเอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q)

เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของข้อเท็จจริงปรากฎต่อสาธารณะ และน่าเสียดายที่ เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี กลับไม่นำมาเป็นข้อพิจารณา ประกอบการทำหน้าที่ส.ส. แต่เลือกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการงดออกเสียง ไว้วางใจ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ตามแนวทางพรรคร่วมรัฐบาล

ไม่เท่านั้นกับข้ออ้างว่า ไม่งดออกเสียง กรณีของ นาย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เนื่องจากไม่มีข้อมูลใหม่ และคดีอยู่ภายใต้การตรวจสอบของป.ป.ช. รวมถึงพฤติกรรมเสเพล ที่ถูกอภิปราย ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความผิดได้อย่างชัดเจน แล้วระบุว่านี่คือการแสดงจุดยืน ในฐานะตัวแทนของประชาชน ทำให้กรณีนี้เป็นประเด็นน่าสงสัย ว่า การตัดสินใจในฐานะส.ส. เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี เป็นไปโดยความเข้าใจหรือไม่ อย่างไร หรือเกิดขึ้นจากเหตุผลอะไรแน่

เพราะอย่างกรณีข้อพิพาทเรื่อง ที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ได้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ตั้งแต่ปี 2560-2561 แล้วว่า ที่ดินกว่า 5 พันไร่ เป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันอยู่ในระหว่างที่กรมที่ดิน กำลังเร่งพิจารณารายละเอียดการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน แปลงดังกล่าวให้เป็นไปตามคำพิพากษา

ในทางตรงข้ามกับวิถีการเมือง ต้องถือว่า เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี ได้แสดงจุดยืนชัดเจนว่า อนาคตเส้นทางการเมือง คงไม่อาจร่วมกิจกรรมกับพรรคพลังประชารัฐ ได้อีกต่อไป ในขณะที่อดีตกลุ่มส.ส.ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม ดาวฤกษ์ ก็มีเส้นทางการเมืองชัดเจน ในการร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐต่อไป โดยการทำตามมติพรรคในการลงคะแนนเสียงโหวต เพียงแต่ กรณีของ เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี จะเป็นการยืนเดี่ยว และปิดฉากอดีตกลุ่มดาวฤกษ์ อย่างเป็นทางการหรีอไม่

หลังจาก 6 ส.ส. พลังประชารัฐ เคยถูกมติพรรคลงโทษ ให้พ้นจาก คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ (วิปรัฐบาล) และทุกตำแหน่งเกี่ยวกับการเมือง เป็นเวลา 3 เดือน จากการร่วมกันงดออกเสียง ไว้วางใจนายศักดิ์์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในการอภิปรายซักฟอกเมื่อ วันที่ 20 ก.พ 2564 และต่อมาต่างฝ่าย ต่างปฏิเสธจะพูดถึงกัน พร้อมหยุดการทำกิจกรรมร่วมกัน ในนามกลุ่มดาวฤกษ์ อย่างสิ้นเชิง จากที่มีการลงพื้นที่ชุมชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

จนมาถึงการลงมติครั้งล่าสุด ปรากว่า 4 อดีตส.ส.ดาวฤกษ์ แสดงจุดยืน ลงมติไปในทิศทางเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ ขณะที่ กรณีของ น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าจะมีคำพิพากษา จากกรณี ป.ป.ช. ส่งคำร้องกล่าวหา กระทำผิดมาตรฐานจริยธรรมฯอย่างร้ายแรง จากกรณีการเสียบบัตรแทนกัน ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ

และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการระบุชื่อ ว่า ใครคือบุคคลที่เสียบบัตรแทนให้กับ น.ส.ธณิกานต์ ซึ่งผู้กระทำในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ สองหมื่นถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกเหนือจาก ความผิดฐานฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 226 ประกอบมาตรา 235

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นักเขียนซีไรท์" ชวนให้คิด ถ้า "พรรคส้ม" มีอำนาจ ทำไมอยากยุบ 1 สถาบัน 5 องค์กร
“สุชาติ” รมช. พาณิชย์ ยืนยันไม่ได้หายไปไหน เดินหน้าผลักดันส่งออก ชี้ต้องการทำให้ FTA มีประโยชน์สูงสุด
เหนือ-อีสาน หนาวจัด บางพื้นที่มีน้ำแข็งค้าง 8 จว.ใต้ เจอฝนฟ้าคะนอง กทม.มีหมอกบางช่วงเช้า เย็นสุด 19 องศา
"ปลาหมอคางดำ" แก้เป็นระบบเดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา หนุนคืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศ 
ผลงานชิ้นโบว์แดง "หิมาลัย" เผย "พีระพันธุ์-เอกนัฏ" ผสานกำลังปลดล็อก "โซลาร์รูฟท็อป" ได้สำเร็จ
“อรรถวิชช์-พงศ์พล-ฐิติภัสร์” พร้อมใจโพสต์ปกป้อง “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา “พีระพัง” ลั่นพร้อมพังทุกรูปแบบการโกงกิน
"การรถไฟฯ" ออกแถลงการณ์ ยันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ "ที่ดินเขากระโดง" เดินหน้าทวงคืนตามกม. ไม่ใช่ละเมิดสิทธิปชช.
‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น