“บุ้ง ทะลุวัง” ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ 14 วันช็อกดับ?

บุ้ง ทะลุวัง ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ 14 วันช็อกดับ?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก "ตะวัน-แบม" ถึง "บุ้ง ทะลุวัง" จริง ๆ คนเรา "อดอาหารและน้ำ" อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

TOP News รายงานประเด็น “บุ้ง ทะลุวัง” ประท้วง อดอาหารและน้ำ จริง ๆ แล้วแค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง และคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกันแน่?

ข่าวที่น่าสนใจ

ประท้วงอดอาหารต่อ สำหรับ “บุ้ง ทะลุวัง” หรือ บุ้ง เนติพร เจ้าของสถิติอดอาหารประท้วงนานที่สุด แต่รอบนี้ ขออดอาหารและน้ำด้วย ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกกับการ “อดอาหารและน้ำ” โดยอ้างว่าเพื่อสู้กับกระบวนการยุติธรรม ล่าสุด ก่อนหน้านี้ ตะวัน และ แบม ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112 จากการจัดกิจกรรมสอบถามความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับ ขบวนเสด็จ กับกลุ่ม “ทะลุวัง” บริเวณหน้าห้างสยามพารากอน เมื่อ 8 ก.พ. 2565 ก็ประท้วงอดอาหารและน้ำ ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 2566 จนถึงวันที่ 11 มี.ค. 2566 ซึ่งในช่วงเวลากว่า 52 วัน ทั้งคู่ยอมรับการจิบน้ำและสารน้ำจากแพทย์เพื่อรักษาชีวิต จริง ๆ แล้วแค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง และคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกันแน่?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง?

บทความ “วางชีวิตเป็นเดิมพัน: พลังของการอดอาหารประท้วง กลไกการทำงานในฐานะปฏิบัติการทางการเมือง ผลลัพธ์และการตอบสนองจากรัฐ” โดย เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความรายละเอียดเกี่ยวกับ การอดอาหารประท้วง ในลักษณะปฏิเสธที่จะกินอาหาร หรือสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตโดยสมัครใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อกดดันฝ่ายที่ถูกเรียกร้องให้ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยอำนาจเชิง “การกดดัน” ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้ถูกเรียกร้องจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเปลี่ยนความคิดภายในหรือไม่ สามารถจำแนกออกได้อย่างน้อย 3 ประเภท ได้แก่

  1. การอดอาหารประท้วงอย่างหิวกระหาย (dry hunger strike/fasting) หมายถึง การอดอาหารที่ผู้ประท้วงจะ “ไม่นำอะไรเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารเลย” แม้แต่สารอาหารเหลว หรือน้ำเปล่า วิธีนี้สามารถพบได้น้อย เพราะอาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
  2. การอดอาหารประท้วงทั้งหมด (total hunger strike/fasting) หมายถึง การไม่ทานอาหาร หรือสารอาหารใด ๆ ที่ให้พลังงาน แต่จะรับประทานเพียงเครื่องดื่มที่อาจมี หรือไม่มีเกลือแร่ก็ได้
  3. การอดอาหารประท้วงแบบไม่ทั้งหมด (non-total hunger strike/fasting) หมายถึง การอดอาหารประเภทอื่นนอกเหนือจาก 2 ประเภทข้างต้น โดยอาจมีการดื่มน้ำ หรือทานอาหารเหลวที่ให้พลังงานบ้าง รวมถึงอาหารแข็งบางประเภท เช่น เนย น้ำตาล เป็นต้น

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อัปเดตอาการ “บุ้ง ทะลุวัง” เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2567 ช่วงเช้าทนายความได้เข้าเยี่ยม “บุ้ง เนติพร” (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ซึ่งอดน้ำ อดอาหาร เข้าวันที่ 17 ระหว่างถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 กรณีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ รวมทั้งคดีละเมิดอำนาจศาล และถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567

บุ้งถูกคุมขังครั้งนี้หลังศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งถอนประกันในคดี 112 ดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2567 รวมทั้งมีคำสั่งลงโทษจำคุก 1 เดือน ในวันเดียวกัน ในคดีละเมิดอำนาจศาล หลังจากฟังคำสั่งในทั้งสองคดี บุ้งตัดสินใจว่าจะไม่ยื่นประกันตัว ทำให้บุ้งถูกส่งตัวเข้าทัณฑสถานหญิงกลางในเย็นวันที่ 26 ม.ค. เป็นต้นมา ก่อนที่เธอตัดสินใจอดน้ำอดอาหาร (Dry Hunger Strike) ตั้งแต่เย็นวันที่ 27 ม.ค. เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และจะต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองอีก

จากการเข้าเยี่ยมของทนายความครั้งล่าสุดนี้ บุ้งตัวเหลือง ตาเหลือง มีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนแรงมาก อาเจียนตลอดเวลาขณะทนายเยี่ยม และปัสสาวะครั้งละ 1-2 หยด เท่านั้น

บุ้งดูเหนื่อยล้ามาก ตัวเหลือง ตาเหลือง จากภาวะตับอักเสบ แต่แววตายังคงสู้อยู่ และได้ถามถึงผลประกันตัวผู้ต้องขังการเมืองทั้ง 15 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งศาลมีคำสั่งแล้ว 3 คน แต่เป็นคำสั่งไม่ให้ประกัน

แค่ไหนเรียกอดอาหารประท้วง? จาก ตะวัน-แบม ถึง บุ้ง ทะลุวัง จริง ๆ คนเรา อดอาหารและน้ำ อาการจะเป็นอย่างไร อยู่ได้นานแค่ไหนกันแน่?

“บุ้ง ทะลุวัง” อยู่ได้โดยไม่กินอะไรจริงหรือ?

ข้อมูลจากเพจหมอเวร และโรงพยาบาลพญาไท ระบุถึงการอดอาหารแต่ละระยะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ก็ตามนี้เลย คือ

  • ใน 3 – 4 ชม. แรก ร่างกายจะดึงพลังงานจากอาหารมื้อล่าสุดที่กิน เพื่อเอามาใช้งานก่อน หลังจากนั้นถ้าพลังงานตรงนี้หมด จะไปดึงพลังงานส่วนไกลโคเจนมาใช้แทน ขั้นนี้ยังสบาย ๆ อยู่
  • พอครบ 24 ชม. ร่างกายจะเริ่ม โหย ๆ เพลีย ๆ นิดหน่อย ท้องจะเริ่มส่งเสียงร้องระงมว่าต้องการอาหาร ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น ความดันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พอไกลโคเจนในเลือดหมดแล้ว ร่างกายจะดึงพลังงานมาใช้ก็คือ กลูโคส หรือ น้ำตาลส่วนที่เล็กที่สุดในร่างกายนั่นเอง หลัก ๆ จะดึงกลูโคสไปใช้งานกับสมองก่อน เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
  • ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง เพราะว่าไม่มีสารอาหารประเภทคาร์บหรือไขมันตกถึงท้อง ถ้ากลูโคสหมด ร่างกายจะดึงโปรตีนมาใช้ต่อ หรือถ้าไม่พอก็จะเริ่มดึงไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังมาใช้แทน ผิวหนังจะเริ่มซีดลง ลิ้นแห้งและอาจมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณลิ้น เริ่มมีกลิ่นปากที่รุนแรงขึ้น เพราะของเสียจากการเผาไขมันจำพวกคีโตนทำให้มีกลิ่นที่รุนแรง
  • พอครบสองวัน ดวงตาจะเริ่มอ่อนแรง อาจมีอาการแทรก เช่น การปวดหัว หรือรู้สึกไม่มีแรง ร่างกายจะขุดไขมันสะสมมาใช้อย่างจริงจัง ปกติไขมันสำรองของคนทั่วไป มักจะสามารถถูกเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานต่อไปได้อีกอย่างน้อย 60 – 80 ชม. ใครที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีไขมันสะสมเยอะก็จะอยู่ได้นานขึ้น
  • เข้าวันที่สาม ความหิวเราจะลดลง ตอนนี้ร่างกายจะเริ่มดึงทั้งไขมันและดึงกล้ามเนื้อมาเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ เป็นจังหวะที่ร่างกายเราจะเริ่มปรับตัวได้แล้ว ถ้ายังมีน้ำกินอยู่ จะรู้สึกตัวเบา และค่อนข้าง Active เป็นพิเศษได้อีกหลายวัน ถือเป็นกลไกธรรมชาติเหมือนสั่งให้เราห้ามตาย และพยายามลุกออกไปหาอาหารมาเติมลงกระเพาะให้ได้
  • ครบ 72 ชม. อย่างที่บอกว่าร่างกายเราจะยังค่อนข้างตัวเบา ๆ โหวง ๆ อาจจะมีวูบ ๆ บ้างเวลาลุกเร็ว ๆ เพราะน้ำตาลในเลือดเราลดลงอย่างฮวบฮาบ รวมถึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานแทน
  • มาถึง ชม. ที่ 90 ตรงนี้เริ่มน่าเป็นห่วงเล็กน้อย เพราะปกติแล้วเราจะกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารต่าง ๆ แต่พอเราขาดคาร์บจากการกิน ร่างกายเราเลยไปทำปฎิกิริยากับโปรตีนและไขมันในเส้นเลือด ทำให้เลือดในร่างกายเริ่มค่อย ๆ เสียไปเรื่อย ๆ ทีละน้อย ๆ ส่วนการดำรงชีพก็ยังคงดึงชั้นไขมันมาใช้ได้อยู่เหมือนเดิม
  • ซึ่งจุดวิกฤต คือประมาณ 7 – 10 วัน ร่างกายเคย Active หรือกระปรี้กระเปร่า จะเริ่มหมดเรี่ยวแรงไม่สามารถขยับไปไหนได้แล้ว อวัยวะภายในตับไตเริ่มพังทีละส่วน เนื่องจากเลือดเป็นพิษ ถ้าเลือดเป็นพิษถึงระดับ 30% ของเลือดในร่างกายทั้งหมด ก็จะเป็นจุดที่อันตรายที่สุด เพราะทำให้มีสารพิษวิ่งเข้าสู่สมองได้ นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของจริง

“ถ้าถามว่า คนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกัน? ก็ต้องตอบว่า คนเราขาดสารอาหารจะอยู่ได้ประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ ต้องแยกว่าเราขาดสารอาหาร..แล้วเราขาดน้ำด้วยไหม? เพราะการที่ร่างกายขาดน้ำ โดยทั่วไปจะอยู่ได้ไม่เกิน 7 – 14 วัน เท่านั้น เนื่องจากการที่ขาดน้ำเรื่อย ๆ จะทำให้ขับปัสสาวะไม่ออก ของเสียภายในร่างกายเกิดการสะสมมากขึ้น อาจเกิดภาวะไตวาย ความดันต่ำลง หรืออาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เจ้าคณะอำเภอสั่งนิมนต์  “พระอาจารย์ชิน” พ้นสำนักสงฆ์ใน 7 วัน หลังปลุกเสก “หมูเด้ง” ลูกศิษย์เศร้าพระอาจารย์เป็นพระสายปฏิบัติ
ผบ.ทร.ชื่นชมนักรบ 356 นาย เสียสละช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่เชียงราย
"ผบ.ทร" ตรวจเยี่ยม หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด ยกระดับกำลังพล-เครื่องมือ ทุกมิติ ย้ำรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่
"เจ้าอาวาสวัดดัง" พิษณุโลก เครียดหนัก เจ้าภาพกฐินเทงาน ซ้ำจ้างลิเกคณะดังมาแสดง กลับไม่จ่ายเงิน
“ชูศักดิ์” เผยเพื่อไทยตั้งวงวาง 3 สถานการณ์เร่งแก้ รธน. ย้ำยังเป็นเรื่องที่อยู่ในเป้าหมาย
"บิ๊กเต่า" เผยกองปราบเร่งสอบปม "ทนายตั้ม" รีดเงินบอสพอล 7.5 ล้าน
Ripley's Believe It or Not! Pattaya เปิดตัวเครื่องเล่นใหม่ตัวที่ 9 THE LOST PYRAMID การผจญภัย ล่าสมบัติในพีระมิดที่สูญหาย
"ทนายเจ๊อ้อย" เผยเหตุสอบปากคำนานเ ชี้ตร.เก็บทุกประเด็น ลั่นไม่มียอมความ
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น