“ครอบครองปรปักษ์” มหากาพย์ฮุบบ้าน รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง?

ครอบครองปรปักษ์ มหากาพย์ฮุบบ้าน รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง?

"ครอบครองปรปักษ์" รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดูแล้วไม่เป็นธรรม มีประโยชน์อะไร

TOP News รายงานประเด็น “ครอบครองปรปักษ์” มหากาพย์ฮุบบ้าน เพื่อนบ้านฟ้องอ้างสิทธิ ยึดบ้านร้างที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้ ย่านรามอินทรา 58 เป็นข่าวดังตั้งแต่ปลายปี 2566 กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง ต้นปี 2567 ซึ่งแน่นอนว่า การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ฟังดูแล้วไม่เป็นธรรมกับเจ้าของที่ดินเลย แล้วประโยชน์การครอบครอง ปกปักษ์ คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไร รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง?

ครอบครองปรปักษ์ รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดูแล้วไม่เป็นธรรม มีประโยชน์อะไร

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อยึดครองจนได้ครอบครอง ความเป็นเจ้าของก็ไม่ไกลเกินเอื้อม” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

“ครอบครองปรปักษ์”

  • ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของผู้อื่น โดยสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
  • ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (5 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์)

ครอบครองปรปักษ์ รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดูแล้วไม่เป็นธรรม มีประโยชน์อะไร

รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง?

  1. ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีการเข้าไปยึดถือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้อื่น จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินของผู้ครอบครอง ปรปักษ์เอง เพราะการครอบครอง ปรปักษ์ จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
  2. ทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น และหากที่ดินดังกล่าวทางราชการเพิ่งจะออกโฉนดที่ดิน ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินจะออกโฉนดจะไม่นำมานับรวมเพื่อได้สิทธิ์ ที่ดินมีการออกโฉนดเมื่อใดก็เริ่มนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปจนครบสิบปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดินตาม ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะมีได้เพียงสิทธิ์ครอบครองเท่านั้น
  3. ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกำจัดให้ออกไป หรือถูกฟ้องร้องมีคดีความกัน หรือโต้เถียงกรรมสิทธิ์กัน เช่น ต่างฝ่ายต่างหวงห้ามต่อกันโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของจะถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบไม่ได้
  4. ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย คือ ไม่ได้มีการปิดบังอำพราง หรือซ่อนเร้นเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น สร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน ไม่อาจถือว่าครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยเปิดเผย ตามมาตรา 1382
  5. ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การยึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอย่างสิทธิ์ครอบครองเท่านั้น แต่จะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ต้องมีการทำประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินนั้น, มีการขัดขวางห้ามบุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น และไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ์ หรือยอมรับอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย
  6. ระยะเวลาในการได้กรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ มีคำกล่าวติดตลกกันว่าแย่งครอบครองไม้ขีดไฟต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ แต่แย่งครอบครองที่ดินมือเปล่าใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี ก็ได้ไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองแล้ว
  7. ประการสุดท้ายแม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ครอบครองจะต้องกระทำด้วยความสุจริตก็ตาม แต่การใช้สิทธิ์แห่งตนบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต การใช้สิทธิ์ทางศาลจึงต้องมาด้วยมือที่สะอาด การแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต เช่น ลักทรัพย์ บุกรุก ฉ้อโกง ฯลฯ อันมีพฤติกรรมเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย ก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ครอบครองปรปักษ์ รู้ทัน 7 หลักเกณฑ์แย่งชิง? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดูแล้วไม่เป็นธรรม มีประโยชน์อะไร

สำหรับเจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ดินทุกแห่งหากเอาไปทำการเกษตรย่อมผลิดอกออกผลได้อย่างแน่นอน จึงลงโทษเจ้าของที่ไม่ใส่ใจในที่ดินของตนเองโดยการที่ หากมีคนอื่นมาครองครองที่ดินดังกล่าวเป็นระยะเวลารวม 10 ปี แล้ว คนที่ครอบครองนั้นก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปทันทีตามกฎหมาย แม้ว่าชื่อในโฉนดจะยังเป็นของเจ้าของเดิมก็ตาม ผู้ครอบครองก็มีสิทธิ์จะไปร้องขอกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นต่อศาลได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชลบุรี หนุ่มโรงงานหัวร้อน อ้างถูกเพื่อนร่วมงานไม่ให้เกียรติก่อนกลับบ้าน คว้าปืนมายิงกลางร้านอาหาร
เพื่อไทยประกาศชัยชนะ เลือกตั้งนายกอบจ.อุดรธานี "ศราวุธ" คะแนนทิ้งห่าง "คณิศร" จากพรรคปชน.
เลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช “น้ำ วาริน” คะแนนนำ “กนกพร” โค่นแชมป์เก่า
เล็ก ฝันเด่น มอบสิ่งของที่มีสารไอโอดีนให้ ทรภ.1 นำสู่น้อง ๆ สู่พื้นที่ภาคเหนือ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดงานวันเบาหวานโลก “World Diabetes Day 2024”
เลือกตั้ง นายก ทต. ท่าพริกเนินทราย คึกคัก
รถบรรทุก 6 ล้อ ไหลลงเนินเขา เบรกไม่อยู่ พุ่งชนร้านค้า โชคดีไร้ผู้บาดเจ็บ
“ปานเทพ” แนะ “หมอบุญ” กลับไทยยังไม่สาย ลั่นหากคิดว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาแสดงความบริสุทธิ์
"แสวง" เลขากกต.รับ ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกนายกอบจ.อุดรธานี บางตา ย้ำรู้ผลคะแนนไม่เกิน 3 ทุ่มวันนี้
สดุดีทหารกล้า สละชีวิตเหตุคนร้ายซุ่มยิงทหารพราน ในพื้นที่ยะลา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น