logo

ถกนิรโทษกรรมเสียงแตกล้างผิดคดี112ส่อเจอทางตัน

กูรูกฎหมาย "เพื่อไทย" อัพเดทถกนิรโทษกรรมเสียงแตกล้างผิดคดี112 ส่อเจอทางตัน "หนุน-ต้าน" ยังไม่ได้ข้อยุติ

นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม กล่าวภายหลังการประชุม ว่า วาระหลักในวันนี้ เป็นการขอฟังความเห็นกรรมาธิการทุกฝ่าย เพื่อแสดงเป้าหมายในการขอนิรโทษกรรม และเพื่อให้แสดงวัตถุประสงค์สำคัญว่า การนิรโทษกรรมในครั้งนี้คืออะไร ซึ่งได้รับฟังเกือบครบทุกคน ยกเว้นกรรมาธิการบางคนที่ไม่ได้มาวันนี้ โดยความเห็นส่วนใหญ่ในที่ประชุม มีเป้าหมายส่วนใหญ่ในการทำนิรโทษกรรมครั้งนี้ คือยุติความขัดแย้งและความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อทำให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ด้วยความปรองดอง และอยู่ด้วยกันได้ หากมีความเห็นต่างก็ขอให้ความเห็นนั้นเป็นความขัดแย้งทางความคิด ไม่ใช่ความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงเหมือนในอดีต ส่วนเหตุผลรองๆ เช่น เพื่อทำให้สังคมไทยกลับคืนสู่ความปกติสุข เนื่องจากทุกคนเห็นว่า ผลการขัดแย้งทางการเมืองเมื่อปี 2549 เป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ประเทศไทยมีปัญหา ไม่สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าได้ เศรษฐกิจที่ตกต่ำก็มีผลมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งนั้น

เมื่อถามถึงการขอนิรโทษกรรมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีคนเสนอเรื่องนี้หรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า มีความเห็นทั้งสองส่วน บางส่วนบอกว่ายังไม่ควรจะมี มีบางส่วนเห็นด้วย บางส่วนก็เห็นด้วยแบบมีเงื่อนไขที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่างๆ เนื่องจากเห็นว่าการนิรโทษกรรมควรต้องมีลักษณะทำให้สิ่งที่เป็นความขัดแย้งนั้นยุติลง และไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก จึงมีเงื่อนไขบ้าง ขณะนี้ก็รับฟัง แต่ยังไม่ได้ตัดสินลงไปว่าจะเป็นอย่างไร

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงการประชุมนัดต่อไปว่า คณะกรรมาธิการฯ จะขอเปิดรับฟังกรรมาธิการที่เหลืออีก 4-5 ท่าน ที่ไม่ได้มาในวันนี้ และจะจัดทำเป็นข้อสรุปว่า ท้ายที่สุดจะมีความเห็นออกมาอย่างไร และจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ในหลักว่า การนิรโทษกรรมจะรวมการกระทำอะไรบ้าง

ขณะที่แนวโน้มความเห็นจากกรรมาธิการมีความเห็นในมาตรา 112 อย่างไรนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะความเห็นยังไม่สามารถจำแนกได้ เป็นเพียงการแสดงความเห็นในเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยแบบมีเงื่อนไข หรือออกมาในรูปแบบมาตรการที่อาจไม่ใช่การนิรโทษกรรมก็ได้ ส่วนจะรวมคดีทุจริตหรือไม่นั้น ในที่ประชุมยังไม่ถึงขั้นได้ข้อสรุปในเรื่องนั้น วันนี้พิจารณาในส่วนของวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อนำไปสู่อะไรเท่านั้น

เมื่อถามว่า จากการเปิดรับฟังความเห็นแล้ว คณะกรรมาธิการฯ จะมีการขยายระยะเวลาพิจารณาให้เกินกรอบเวลา 60 วัน หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า กำลังหารืออยู่เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำในระดับไหน ขณะนี้ก็มีความเห็นที่เป็นข้อยุติแบบพอสมควรแล้วเช่นกัน เช่น หน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ ก็น่าจะเพียงเสนอหลักการเท่านั้น บางท่านก็เสนอว่าให้เป็นทางเลือกหลายๆ แบบด้วยซ้ำ ให้สภาผู้แทนราษฎรตัดสินใจ ตอนนี้กำลังดูกันอยู่ แล้วจะตัดสินใจในครั้งหน้า

นายชูศักดิ์ กล่าวยอมรับว่า การประชุมยังไม่ถึงขั้นให้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับใหม่ ส่วนจะมีโอกาสที่จะทำเป็นร่างกฎหมายควบคู่กันไปหรือไม่นั้น ถ้าคิดจะยกร่างไปด้วยก็ไม่น่าจะทันกรอบเวลาทำงานของคณะกรรมาธิการฯ 60 วัน เนื่องจากกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณารายละเอียด บางครั้งพิจารณาเพียงมาตราเดียวก็ใช้เวลาถึง 2 วันแล้ว

ด้าน “นายชัยธวัช ตุลาธน” ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางตรากฎหมายนิรโทษกรรม กล่าวภายหลังการประชุม กมธ. ว่า วันนี้วาระหลักคือให้พูดถึงเป้าหมายในการนิรโทษกรรม ที่เราวางแผนพิจารณาคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร จึงให้คณะกรรมาธิการทุกคนได้นำเสนอข้อเสนอของตัวเอง ว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้จะต่างจากการศึกษาเรื่องความปรองดองเกือบทุกชุด ยกเว้นของชุดในสมัยรัฐบาลที่แล้ว

เนื่องจากก่อนหน้านี้ การศึกษาข้อเสนอนิรโทษกรรมนั้น สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ไม่เหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงได้เสนอว่า ครั้งนี้จะต้องไม่พิจารณาแค่นิรโทษกรรมอย่างเดียว แต่ให้มองภาพรวมการสร้างความสมานฉันท์ โดยมีนิรโทษกรรมทางการเมืองเป็นหนึ่งในนั้น และในสถานการณ์ที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ยุติ เป้าหมายควรทำเพื่อที่จะหยุดการขยายความขัดแย้ง เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือความรุนแรงที่มากขึ้นในอนาคต และเปิดทางเพื่อให้สามารถหาข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันในทางการเมืองได้

นายชัยธวัช กล่าวต่อว่าดังนั้น หากพูดในแง่นี้ การพิจารณาเรื่องการสร้างสมานฉันท์ โดยเฉพาะเรื่องการออกกฏหมายนิรโทษกรรม และกระบวนการทั้งก่อนและหลังที่จะทำให้ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติลง สามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ ลดการเผชิญหน้า ลดความระแวงลง และสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญ อาจเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนจะเสนอให้มีการนิรโทษกรรมก็ได้ เพราะฉะนั้น เนื้อหาในการพิจารณานิรโทษกรรมอาจไม่ได้จำกัดเฉพาะว่า จะนิรโทษกรรมใครบ้าง มีขอบเขตแค่ไหน จะไม่นิรโทษกรรมใคร ก็ควรมีกระบวนการก่อนหน้านั้น เพื่อให้รองรับการนิรโทษกรรมด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนจะรวมคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยหรือไม่นั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ทุกเรื่อง แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งตนก็ได้นำเสนอในแง่หลักสำคัญ ส่วนความเห็นของพรรคการเมืองที่มีจุดยืนในเรื่องการนิรโทษกรรม มาตรา 112 และการทุจริต แตกต่างกันนั้นเรื่องการทุจริตไม่ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ มาตรา 112 ยอมรับว่า มีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง เห็นด้วยกันในหลักการใหญ่

ดังนั้น วันนี้เป็นวาระที่นำเสนอเป้าหมายก่อนว่า หลักการและเป้าหมายสำคัญของแต่ละคนเป็นอย่างไร จึงค่อยมาถกกันว่า ถ้าออกแบบกลไก และรายละเอียดเช่นนั้นแล้ว จะตอบโจทย์หรือไม่ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน บางคนเห็นว่า ถ้ารวมเข้าไปแล้ว อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคว่าจะทำให้ไม่สามารถนิรโทษกรรมกับใครได้เลย ขณะที่ฝ่ายที่เห็นว่าหากไม่รวม อาจจะไม่ตอบโจทย์ ในการระงับการขยายตัวของความขัดแย้งก็ได้ จึงยังไม่ได้เข้าสู่รายละเอียดของเรื่องนี้ ส่วนแนวโน้มยังไม่มีการสรุปเหลือตัวเลือกเดียวก็ได้อาจจะมีทางเลือกและแนวทางการสร้างโดยเปรียบเทียบข้อเท็จจริง

นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า และแนวโน้ม กมธ. อาจไม่สรุปแค่ตัวเลือกเดียว อาจทำตัวเลือกหลายแนวทางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เราต้องพิจารณากว้างกว่านั้น ไม่เหมือนในต่างประเทศที่เหตุการณ์จบไปแล้ว แต่ตอนนี้ความขัดแย้งยังดำเนินอยู่ ซึ่งในบางกรณีที่เห็นต่างกัน อาจวางเงื่อนไขก่อน เพื่อทำความเข้าใจ และนำไปสู่การนิรโทษกรรม

สำหรับ การดำเนินการของพรรคก้าวไกล ในกรณีที่ผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองอดอาหาร เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมนั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า พรรคยังไม่สามารถเกี่ยวข้องได้ เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พรรคก็เป็นห่วง ซึ่งหากเราคิดว่า นิรโทษกรรมแล้วเว้นบางอย่างไว้ เพื่อให้ได้บางส่วนดีกว่า อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่เข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ที่มีความห่วงใยว่า หากนิรโทษกรรมไปแล้ว จะนำไปสู่สภาวะเดิมอีก

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น