“ยกเลิกครูเวร” กว่า 20 ปี หน้าที่ไม่ใช่ สังคมเห็นพ้องไม่คุ้ม

ยกเลิกครูเวร กว่า 20 ปี หน้าที่ไม่ใช่ สังคมเห็นพ้องไม่คุ้ม

"ยกเลิกครูเวร" บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

TOP News รายงานประเด็น “ยกเลิกครูเวร” พาย้อนจุดเริ่มต้นของมหากาพย์ หน้าที่ไม่ใช่? กว่า 20 ปี แม้จะมีการเรียกร้องมาก่อนหน้า แต่เสียงไม่ดังพอ จนเกิดเหตุล่าสุดที่ จ.เชียงราย งานนี้ภาพคลิปว่อนโซเชียล ชาวเน็ตไม่ทนวิจารณ์แซ่ด เรียกร้องผู้เกี่ยวข้องทบทวนด่วน ก่อน ครม. ไฟเขียว จริง ๆ แล้ว ครูเวร มีทำไม มีแล้วได้อะไร จะต้องทำอะไรบ้าง ยกเลิกแล้วจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

จุดเริ่มต้นของการกำหนดให้มีครูเวร

  • เหตุผลที่ต้องมีการทำหน้าที่ครูเวร เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 เมษายน 2536 เรื่องการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ ที่ระบุให้สถานที่ราชการทุกแห่ง ต้องจัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานนอกเวลา และในวันหยุดราชการตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อดูแลป้องกันความเสียหาย อันจะบังเกิดแก่สถานที่ราชการหรือหน่วยงานจากกรณีต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์ ดังต่อไปนี้

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

บทบาทและหน้าที่ครูเวร

  • สำหรับบทบาทและหน้าที่ของครูเวรในแต่ละวันนั้น ตัวอย่างคำสั่งของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เรื่อง แต่งตั้งเวรรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ (โรงเรียน) ประจำปี 2560 ระบุเอาว่า ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของครูเวรประจำวันกลางวัน

  1. เวลามาปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวันตอนเช้า เวลา 06.00 น.
  2. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในจุด หรือบริเวณต่าง ๆ ที่ ประตู 1, 2 และ 3
  3. ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยทั่วไปทั้งภายในและนอกสถานศึกษา รวมทั้งตรวจตราดูแลการทิ้งขยะของนักเรียนให้ถูกต้อง
  4. ตรวจสอบความเรียบร้อยของปลั๊กไฟ, สวิตช์ไฟฟ้า รวมถึงก๊อกน้ำ หากพบว่ามีการเปิดไฟหรือน้ำทิ้งไว้ให้ปิดทันที
  5. ดูแลความปลอดภัยของนักเรียนบริเวณทั่วไปในช่วงเช้า พักกลางวันและหลังเลิกเรียน หากพบว่านักเรียนเจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุและอื่น ๆ แล้วแต่กรณี โดยให้ติดต่อครูประจำชั้น หรือประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้สถานศึกษา
  6. ตรวจตราหรือว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนที่กระทำผิดระเบียบของสถานศึกษา และแจ้งให้ครูที่ปรึกษาหรือฝ่ายปกครองหรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมายเพื่อพิจารณาโทษ ควบคุมสัญญาณเข้าเรียน พัก และเลิกเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่เวร จดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ลงในสมุดบันทึกประจำวัน
  7. ให้เข้าประจำจุดต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในตอนเย็น หลังเลิกเรียนให้ตรงเวลา โดยดูแลนักเรียนออกจากโรงเรียน ยานพาหนะของผู้ปกครองให้จอดและดับเครื่องยนต์ตามที่โรงเรียนกำหนด ตลอดจนเน้นในเรื่องการทำความเคารพและระเบียบวินัย หมดเวลาของการปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวันเวลา 18.00 น.
  8. ปฏิบัติ หน้าที่เวรประจำเวร เวรวันหยุด ด้วยความรับผิดชอบ ในกรณีไม่มาโรงเรียนควรแจ้งให้ผู้ตรวจเวร หรือผู้ที่รับผิดชอบตามลำดับ และรีบรายงานผู้บริหารทราบโดยด่วน

บทบาทหน้าที่ของครูเวรกลางคืน

  1. ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่แต่งตั้งให้ข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาสถานที่และอยู่ในสถานที่ที่ได้กำหนด
  2. จะต้องระวังทรัพย์สิน อาคารสถานที่ สาธารณูปโภคของโรงเรียน ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น จะต้องป้องกันจนสุดความสามารถ และแจ้งให้ผู้บริหารทราบโดยด่วน
  3. ผู้อยู่เวรจะออกจากสถานที่เขตความรับผิดชอบได้ต่อเมื่อผู้อยู่เวรต่อมารับหน้าที่แล้ว
  4. ผู้อยู่เวรจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะ ในกรณีลาหรือไปราชการจะต้องเสนอหรือแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้รักษาการอนุมัติ
  5. ผู้อยู่เวรจะต้องส่งสมุดบันทึกให้เวรต่อไป และจะต้องบันทึกการปฏิบัติหน้าที่ โดยลงชื่อผู้อยู่เวรให้ครบ และมอบหมายหน้าที่ให้เรียบร้อย
  6. ในกรณีเปลี่ยนแปลงเวร ผู้ขอเปลี่ยนเวรต้องทำหนังสือขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าก่อนการอยู่เวร
  7. ปฏิบัติหน้าที่เวรกลางคืน เวรวันหยุด ด้วยความรับผิดชอบ ในกรณีไม่มาโรงเรียนควรแจ้งให้ผู้ตรวจเวร หรือผู้ที่รับผิดชอบตามลำดับ และรีบรายงานผู้บริหารทราบโดยด่วน
  8. ปฏิบัติหน้าที่เวรกลางคืนร่วมกับนักการภารโรง ควบคุมและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนักการภารโรง โดยปิด-เปิดไฟภายในและภายนอกอาคารเรียน อาคารเอนกประสงค์ตามที่กำหนดโดยเฉพาะไฟฟ้าแสงสว่างภายในโดมหน้าเสาธง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. – 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้นและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
  9. การปฏิบัติหน้าที่เวร เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบตามคำสั่งของโรงเรียนที่ได้แต่งตั้งไปแล้ว ผู้ไม่มาปฏิบัติหน้าที่จะมีความผิดและรับโทษทางวินัย หากเกิดความเสียหายกับทางราชการ
  10. ทุกครั้งที่มาอยู่เวร จะต้องลงบันทึกในสมุด หากไม่บันทึกถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่

ผู้ตรวจเวร

  1. ตรวจเวรและตรวจความเรียบร้อย อย่างน้อย 1 ครั้ง และตรวจให้ครบทุกจุดในบริเวณ
  2. ทุกครั้งที่มาตรวจเวร จะต้องลงบันทึกในสมุด หากไม่บันทึกถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจเวร หากไม่พบผู้อยู่เวร จะต้องตามผู้อยู่เวรมาทำหน้าที่ หรือผู้อยู่เวรแทน
  3. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ตรวจเวรจะต้องทำหนังสือแจ้งผู้บังคับบัญชา เพื่อขออนุญาต

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

บุกทำร้ายครูเวรสาหัส

สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567 เวลาประมาณ 13.30 น. นายนิ (นามสมมติ) ได้เข้ามาภายในโรงเรียน และได้เข้ามาภายในห้องเรียน ซึ่ง นางเอ (นามสมมติ) ปฏิบัติหน้าที่ครูเวรอยู่ภายในโรงเรียน นายนิได้ใช้อาวุธปืนปลอมจี้ศีรษะของนางเอ และเกิดการขัดขืน จึงได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนนางเอได้รับบาดเจ็บ ต่อมาได้มีชาวบ้านและครูคนอื่นมาพบเห็นเหตุการณ์ จึงได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ

จากนั้นนายนิได้หลบหนีไป โดยชาวบ้านได้นำตัวนางเอที่ได้รับบาดเจ็บส่งรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และได้เข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงราย ซึ่งในเบื้องต้นนายนิได้รับสารภาพในข้อหาทำร้ายร่างกาย แต่ปฏิเสธในข้อกล่าวหาข่มขืนกระทำชำเรา

แฮชแท็กร้อน #ยกเลิกครูเวรกี่โมง

หลังภาพคลิปเหตุการณ์นี้ปรากฏผ่านสื่อโซเชียล โลกออนไลน์ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก โดยประเด็นเรื่องการอยู่เวรยามของครูทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน เป็นประเด็นที่กลุ่มคนในแวดวงการศึกษาได้ออกมาสะท้อนปัญหาและเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาอย่างยาวนาน เนื่องจากการอยู่เวรยามมีความเสี่ยงและอยู่นอกเหนือจากหน้าที่ของครู ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาครูเวรถูกทำร้ายเคยเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่กลับไม่มีท่าทีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะเข้ามาแก้ไขระเบียบการดังกล่าวเลย ขณะที่คอมเมนต์บางส่วนจากชาวเน็ต ระบุว่า

  • “ต้องยกเลิกมติครม. !!! 6 กรกฎาคม 2542 ครับ. โรงเรียนจะสามารถใช้กล้อง หรือระบบทดแทนครูอยู่เวรได้”
  • “ยกเลิกได้แล้วครับ ให้ครูมาอยู่เวรเนี่ย ทั้งกลางวันและกลางคืนเลย รักษาทรัพย์สินของราชการ ถ้าครูถูกทำร้ายแบบนี้ ใครจะมารักษาชีวิตครูกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาใหม่ครับ”
  • “ทรัพย์สินราชการเสียหายครูเวรรับผิดชอบ แล้วถ้าเกิดอะไรขึ้นกับครูใครจะรับผิดชอบคะ วอนกระทรวงแก้ระเบียบข้อนี้ทีค่ะ”
  • “ถึงเวลาหรือยัง ที่จะยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ #เลิกให้ครูมาอยู่เวร #ครูเวร #ยกเลิก”

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

ครม. ไฟเขียว ยกเลิกครูเวร

  • เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ที่ ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเหตุการณ์คนร้ายทำร้ายครูเวรระหว่างการเข้าเวรในพื้นที่ จ.เชียงราย ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นกับครูในการอยู่เวร คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณายกเว้นมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 42 ซึ่งกว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไป จึงให้มีการยกเลิก ยกเว้น โดยให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จะรับไปพิจารณาต่อไป และได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ดูแลความปลอดภัยพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ หรือเร่งจัดหางานไม่ให้เกิดความรุนแรงของกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเริ่มมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

เปิดคำสั่ง สพฐ. ยกเลิกครูเวร

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ทำหนังสือ ถึงผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต และผู้อํานวยการสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจในการดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ขอให้สํานักงาน เขตพื้นที่การศีกษา แจ้งสถานศึกษาในสังกัด และขอให้สถานศึกษาสังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ ความแจ้งแล้วนั้น

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้สถานศึกษาได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ ประจําสถานที่ราชการ และดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

  • การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
  1. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ ระดับจังหวัด ประสานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อบูรณาการการทํางานร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตํารวจนครบาล เพื่อให้ได้ซึ่งมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการและแผนเผชิญเหตุ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ ให้แก่สถานศึกษาในจังหวัดตามบริบทของพื้นที่และความเหมาะสม
  2. ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่น นอกเหนือจากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สรุปข้อมูลจํานวนสถานศึกษาในสังกัดเพื่อบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงาน ฝ่ายปกครองและสถานีตํารวจนครบาล เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาความปลอดภัยสถานศึกษาให้เหมาะสมกับ บริบทของพื้นที่และให้สอดคล้องตามข้อ 1
  • การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการในพื้นที่จังหวัดอื่น
  1. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 เป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ ระดับจังหวัด ประสานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อบูรณาการการทํางานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บังคับการ ตํารวจภูธรจังหวัด เพื่อให้ได้ซึ่งมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการและแผนเผชิญเหตุให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการให้แก่ สถานศึกษาในจังหวัดตามบริบทของพื้นที่และความเหมาะสม
  2. ให้สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอื่น นอกเหนือจากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา เขต 1 ดําเนินการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานฝ่ายปกครองระดับอําเภอและสถานีตํารวจภูธร เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาในสังกัดให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และให้สอดคล้องกับแผนระดับจังหวัดตามข้อ 1
  • ให้สถานศึกษายกเลิกคําสั่งอยู่เวรรักษาการณ์ที่สั่งไว้เติมโดยทันที
  • ส่วนมาตรการอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ อยู่ระหว่างดําเนินการ หากตาเนินการแล้วเสร็จจะแจ้งให้ทราบต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติต่อไป

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

ยกเลิกครูเวร บทบาทและหน้าที่ ที่ไม่ใช่ กว่า 20 ปี มีทำไม ต้องทำอะไรบ้าง กระแสสังคมเรียกร้องให้ทบทวนด่วน เพราะไม่คุ้มค่ากับการแลกชีวิตปกป้องทรัพย์สิน

สุ่มเสี่ยงออกคำสั่งขัดกับมติ ครม.

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ ได้รับผลตอบรับดีมากจากครูทั้งประเทศ รวมทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เข้าใจเจตนาของการ “ยกเลิกครูเวร” หลายแห่งได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแทนการให้ครูนอนเฝ้า เช่น ระบบกล้องวงจรปิดควบคุมจากระยะไกล แอปพลิเคชันที่ตรวจตราและประสานหน่วยงานด้านความปลอดภัยได้ตลอดเวลา รวมทั้งการร่วมมือจากภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามาสนับสนุนตู้แดง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติตามมติ ครม. พบว่า สถานศึกษาบางแห่งยังให้ครูทำหน้าที่อยู่เวรตามเดิมอยู่ โดยปรับเปลี่ยนการออกคำสั่งจากคำว่าอยู่เวรเป็นคำว่าให้ครูปฏิบัติหน้าที่ดูแลโรงเรียนแทนนั้น ทำให้ครูไม่ได้รับการให้เลิกอยู่เวรตามมติ ครม. ที่ให้มีผลทันที

วิธีการเช่นนี้สุ่มเสี่ยง เป็นการออกคำสั่งที่ขัดกับมติ ครม. จึงอยากขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวนี้ ปรับเปลี่ยนวิธีในการดูแลความปลอดภัยให้ถูกต้องและเหมาะสมโดยไม่ต้องให้ครูมานอนเฝ้าโรงเรียน

“วันนี้เราปลดล็อกเรื่องครูอยู่เวรได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือดูแลกันและกัน คืนครูให้ห้องเรียน พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสมกับพื้นที่ มีความทันสมัย ร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ตามแนวคิดการทำงาน จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัจฉริยะ" เข้าให้การตำรวจกองปราบ แฉพฤติกรรม "ทนายตั้ม" สร้างพยานเท็จนาน 6 ปี
รองผู้ว่า ฯเมืองคอนสั่งลุยหารือคณะทำงานร่วมพิจารณารับรองคุณภาพสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เป็นศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูก่อนลงพื้นที่ตรวจกองร้อย อสจ.นครศรีธรรมราชที่ 1 เปิดดำเนินการสถานพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพิ่มอีก 1 แห่ง
กรมที่ดิน ชี้แจงรายละเอียดที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน ตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
"ศาลรธน." แจงเหตุผล ลงมติไม่รับคำร้อง 6 ประเด็น เอาผิด "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไว้พิจารณา
MEA ชูพลังงานสะอาด เปิดสถานีชาร์จ EV ณ MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางไร้มลพิษ
สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น