“ดร.อานนท์” ยกข้อกม. เตือนเจรจาแบ่งผลประโยชน์เกาะกูด ต้องผ่านรัฐสภาเห็นชอบ

"ดร.อานนท์" ยกข้อกม. เตือนเจรจาแบ่งผลประโยชน์เกาะกูด ต้องผ่านรัฐสภาเห็นชอบ

“ดร.อานนท์” ยกข้อกม. เตือนเจรจาแบ่งผลประโยชน์เกาะกูด ต้องผ่านรัฐสภาเห็นชอบ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ได้ใช้เฟซบุ๊ก “Arnond Sakworawich” แชร์โพสต์ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สว. ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับปมเกาะกูด ยืนยันว่าเป็นของไทย และตั้งคำถามถึงการที่รัฐบาลเศรษฐาเจรจาแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลกับฝ่ายกัมพูชา ที่ระบุไว้ว่า

 

 

พี่น้องสองแผ่นดิน สมเด็จฯฮุนเซนมาเยี่ยมพี่ชายที่คบกันมา 32 ปีนับแต่ยุค IBC Cambodia เมื่อวานซืนนี้ถึงบ้านจันทร์ส่องหล้ามีข้อดีอยู่อย่างตรงที่ทำให้สังคมไทยหันมาสนใจแผนที่อ่าวไทยลักษณะประมาณนี้อีกครั้ง แล้วเกิดการถามไถ่วิพากษ์วิจารณ์กันตามสมควร

หนึ่งในประเด็นสำคัญคือเกาะกูด !

กัมพูชามาลากเส้นเขตแดนทะเล (เส้นเขตไหล่ทวีป) ผ่ากลางเกาะกูดของไทยมาตั้งแต่ปี 2515 (ค.ศ. 1972) และยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน

คำถามคือเกิดขึ้นได้อย่างไร จะมีผลกระทบต่อสิทธิอธิปไตยของไทยแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลี่ยม (หรือที่นายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันเรียกใหม่ว่าไฮโดรคาร์บอน) มูลค่า 20 ล้านล้านบาทอย่างไร
.
เพราะเกาะกูดเป็นของไทยอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อโต้แย้งโดยสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ข้อ 2
.
เรื่องนี้มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่กัมพูชาสมัยนายพลลอนนอล
.
จู่ ๆ ก็ประกาศกฤษฎีกากำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 โดยลากออกมาจากแผ่นดินบริเวณหลักเขตแดนไทยกัมพูชาที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ตรงลงทะเลมาทางทิศตะวันตกผ่ากลางเกาะกูดตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้ววกลงใต้ขนานกับแผ่นดินกัมพูชา
.
พูดตรง ๆ เป็น “เส้นฮุบปิโตรเลี่ยม“ โดยแท้ !
.
ภูมิหลังของเรื่องคือไทยกับกัมพูชามีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลและผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลี่ยมในอ่าวไทยมาตั้งแต่ปี 2513 ซึ่งเป็นช่วงที่สองประเทศเริ่มดำเนินการให้สัมปทานบริษัทต่างชาติผลิตปิโตรเลี่ยมในอ่าวไทยมาหมาด ๆ ขณะที่การเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควรในยุคสมเด็จนโรดม สีหนุ ก็พอดีเกิดการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงใหญ่ในกัมพูชา นายพลลอนนอลขึ้นมามีอำนาจตั้งตนเป็นประธานาธิบดีได้ 2 ปีก็ประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปทันที
.
เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร บุคคลในประวัติศาสตร์ของไทยท่านหนึ่งทั้งเขียนและแล่าไว้อย่างเปิดเผยยต่อสาธารณะ

.
พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มายาวนาน เขียนบทความเรื่อง “การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” เผยแพร่ในเว็บไซต์โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล และนำความทำนองเดียวกันมาเล่าด้วยวาจาในเวทีสัมมนาสาธารณะของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา จัดที่สยามสมาคมเมื่อวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 ว่า จอมพลประภาส จารุเสถียรเคยเล่าให้ท่านฟังว่านายพลลอนนอลผู้นำกัมพูชาขณะนั้นบอกท่านว่าเส้นเขตไหล่ทวีปนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลี่ยมในเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเสนอขึ้นมาให้ โดยตัวนายพลลอนนอลและกัมพูชาไม่มีความมุ่งประสงค์ใด ๆ ทั้งสิ้นต่อเกาะกูดของไทย พร้อมที่จะแก้ไข แต่ขอให้ไทยเห็นใจหน่อยว่าการเมืองภายในกัมพูชามีความเปราะบาง หากรัฐบาลทำการใดทำให้ประชาชนไม่พอใจอาจพังได้ ก็เลยไม่มีการแก้ไขใด ๆ ที่ตอบสนองฝ่ายไทยได้
.
เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ประกาศออกมาสร้างความตะลึงและไม่สบายใจให้กับรัฐบาลไทยและคนไทยในช่วงนั้นมาก
.
เพราะเป็นห่วงเกาะกูด !
.
ทำอย่างไรจะให้กัมพูชายกเลิกเส้นเขตไหล่ทวีปนี้ให้ได้ เป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทย

 

.
คุณูปการของจอมพลประภาส จารุเสถียรคือท่านลงมากำกับการเจรจาเอง และคุยตรงไปตรงมากับนายพลลอนนอล เพราะเป็นทหารด้วยกัน เดินตามยุทธศาสตร์อเมริกันเหมือนกัน ที่สุดเมื่อคุยไม่เป็นผล ท่านก็รักษาสิทธิของไทยโดยการออกประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเส้นไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมายระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 90 ตอน 60 หน้า 1-2 วันที่ 1 มิถุนายน 2516
.
เป็นเส้นที่ลากจากหลักเขตที่ 73 ลงทะเลตรงจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
.
นอกจากประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปแล้ว รัฐบาลไทยสมัยนั้นสั่งการให้กองทัพเรือเข้าดูแลรักษาสิทธิในน่านน้ำอ่าวไทยเขตไหล่ทวีปของไทยตามประกาศทันที
.
นั่นเป็นเหตุการณ์แค่เพียง 5 เดือนก่อนจอมพลประภาส จารุเสถียรพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
.
การเจรจาระหว่าง 2 ประเทศไม่คืบหน้า
.
เพราะกัมพูชาตกอยู่ในสภาวะสงครามหลายรูปแบบอยู่ยาวนานจึงค่อยฟื้นคืนสู่สันติภาพ
.
กว่าจะมาเริ่มเจรจากันจริงจังอีกครั้งก็ปี 2538
.
ไม่คืบเช่นเคย !
.
กัมพูชาไม่พยายามจะพูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป หรือเรื่องแบ่งเขตแดนทางทะเล จะพูดแต่เฉพาะเรื่องการแบ่งปันปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลเท่านั้น ขณะที่ไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศพยายามพูดทั้ง 2 เรื่อง
.
ในที่สุด MOU 2544 ก็ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544
.
ลงนามในยุคที่พี่น้อง 2 แผ่นดินต่างขึ้นครองอำนาจทางการเมืองในแผ่นดินของตน
.
เกิดเป็นกรอบแนวทางการเจรจาตามภาพกราฟฟิคที่นำมาแสดง
.
ดูเหมือนการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ในปิโตรเลี่ยมจะคืบหน้าไปมาก จนมีตัวแบบและตัวเลขแบ่งผลประโยชน์ออกมา ขณะที่การเจรจาแบ่งเขตแดนแม้จะถูกจำกัดตามกรอบ MOU 2544 ให้ทำเฉพาะส่วนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือเท่านั้นก็ยังคงไม่คืบหน้าเข่นเดิม
,
หลังผู้พี่ตกจากบัลลังก์อำนาจฝั่งไทยเมื่อปี 2549 การเจรจาสะดุดไป เพราะมีปัญหาเขตแดนทางบกบริเวณปราสาทพระวิหารเข้ามาแทรกเสียร่วม 10 ปี
.
วันนี้เมื่อผู้พี่กลับเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้าอีกครั้ง และหัวหน้าคณะรัฐบาลที่มีพรรคของลูกสาวเป็นแกนนำประกาศนโยบายพลังงานว่าจะพยายามนำปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้ให้ “เร็วที่สุด” โดยบอกว่าจะ “แยก” จากเรื่องเขตแดน แม้ผู้น้องจะเพียงมาเยี่ยมไข้ผู้พี่และถือโอกาสเชิญหลานสาวคนเล็กไปเยือนกัมพูชาเดือนหน้า ไม่ได้คุยเรื่องการเมืองใด ๆ ก็ตาม
.
แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ปรากฎการณ์พบกันของพี่น้องสองแผ่นดินคู่นี้จะต้องเป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่งอยู่ดี
.
เส้นฮุบปิโตรเลี่ยมจะยังอยู่หรือไม่ ?
.
สองประเทศจะแบ่งผลประโยชน์จากขุมทรัพย์ 20 ล้านล้านบาทกันได้สำเร็จหรือไม่ตลอดอายุรัฐบาลไทยชุดนี้ และจะมีผลกระทบต่อเขตแดนทางทะเลในอนาคตของไทยหรือไม่อย่างไร ??
.
ล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดย ผศ.ดร.อานนท์ ได้โพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อกฏหมายว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 178 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และหนังสือสัญญาอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

ในการนี้รัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ

หนังสือสัญญาอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้า หรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางตามวรรคสอง ได้แก่ หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือทำให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด หรือบางส่วน หรือหนังสือสัญญาอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ให้มีกฎหมายกำหนดวิธีการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและได้รับการเยียวยาที่จำเป็น อันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาตามวรรคสามด้วย

เมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรี จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

 

 

 

ผศ.ดร.อานนท์ โพสต์เพิ่มเติมอีกว่า มาตรา 119 อาญา “ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”

มาตรา 157 อาญา “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น