“แพ้อาหาร” คืออะไร ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด เผย 6 อาการสังเกตได้

แพ้อาหาร คืออะไร ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด เผย 6 อาการสังเกตได้

"แพ้อาหาร" คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

TOP News รายงานเหตุสลด “แพ้อาหาร” แพทย์หญิงเชื้อสายไทยเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น แพ้อาหารเรื่องใกล้ตัว บางคนอาจเพิ่งพบว่า มีอาการแพ้ในภายหลัง จากที่แต่ก่อนเคยรับประทานได้ปกติ การแพ้อาหารคืออะไร? ผู้ที่แพ้อาหารทะเลจะเกิดอาการแพ้ต่อไอโอดีนหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการใช่หรือไม่ มีคำตอบ

ข่าวที่น่าสนใจ

แพ้อาหาร คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

ภาพ : Jeffrey Piccolo/Facebook

Drama-addict ระบุ เหตุเกิดที่อเมริกา แพทย์หญิงท่านหนึ่ง (เข้าใจว่าเป็น ชาวอเมริกาเชื้อสายไทย) ไปกินอาหารกับสามีที่ร้านอาหารของดิสนีย์เวิลด์ ในฟลอริดา แพทย์หญิงท่านนี้ “แพ้อาหาร” จำพวกถั่วและผลิตภัณฑ์จากนม ตอนสั่งอาหาร ทั้งสองคนกำชับทางร้านอาหารว่าแพ้สองอย่างนี้ ตอนทำอาหารมาเสิร์ฟขอให้ไม่มีอาหารที่แพ้เป็นส่วนประกอบ ทางร้านอาหารยืนยันว่า สามารถทำอาหารที่ไม่แพ้ให้ทานได้ หลังรับประทานอาหารได้ไม่นาน แพทย์หญิงเริ่มมีอาการไม่สู้ดี เธอรู้ตัวว่ากำลังเกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง จึงหยิบเข็มฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยฉีดเข้าร่างกาย แต่อาการไม่ดีขึ้น สุดท้ายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ผลชันสูตรพบว่า เสียชีวิตจากการแพ้อาหาร โดยพบโปรตีนจากถั่วและนมในร่างกายของเธอ ต่อมาสามีได้ยื่นฟ้องทางดิสนีย์เวิลด์ให้ชดเชยความสูญเสียของครอบครัวเขา เรื่องแพ้ อาหารเป็นอะไรที่น่ากลัวมากจริง ๆ

แพ้อาหาร คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

ภาพ : Vajiradhammapadip Temple Ltd./Facebook

อ่านข่าว : NYU doctor dies after dining at Disney restaurant where waitstaff insisted food was allergen-free: lawsuit

การแพ้อาหารคืออะไร?

การแพ้ อาหารเป็นกลไกของระบบภูมิต้านทาน อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ หลังจากได้รับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ร่างกายได้มีการสร้างภูมิต้านทานชนิด อี (Immunoglobulin E: IgE) ออกมา และจะแสดงอาการเมื่อมีการรับประทานอาหารชนิดนั้นเข้าไปอีกครั้ง โดยอาหารนั้นจะไปกระตุ้น IgE ทำให้มีการหลั่งสารเคมีอย่างสารฮีสตามีน ที่ทำให้เกิดอาการแพ้แสดงออกมาในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความสามารถในการสร้าง IgE นั้น อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • สาเหตุจากพันธุกรรม
  • ปัจจัยทางสรีระและสุขภาพตอนที่รับประทานอาหารชนิดนั้น (ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว มีโอกาสแพ้ อาหารได้มากกว่าคนทั่วไป)

นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากการออกกำลังกายหลังจากเพิ่งรับประทานอาหาร สาเหตุนี้ยังไม่ทราบกลไกของการแพ้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า เป็นเพราะร่างกายถูกกระตุ้นมากขึ้นจากการออกกำลังกาย ทำให้มีการหลั่งสารฮีสตามีนออกมา ก็จะเริ่มมีอาการคัน รู้สึกเบาศีรษะ หรือหอบ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรเว้นระยะระหว่างการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ลักษณะอาการแพ้ อาหาร

  • อาการเฉียบพลัน : จะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารนั้นไป 2 – 3 นาที ถึง 1 ชั่วโมง อาหารส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน คือ อาหารทะเล หลังรับประทานไปแล้วก็อาจจะเกิดการคันคอ ปาก จมูก และตา ปากบวม หนังตาบวม ลมพิษพุพอง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หมดสติ เป็นต้น เมื่อพบผู้เกิดอาการเช่นนี้ให้นำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • อาการที่เกิดอย่างช้า ๆ : จะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารนั้นเข้าไปนานกว่า 1 – 24 ชั่วโมง อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างช้า ๆ ได้แก่ ไข่ นม ข้าวสาลี เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ลมพิษพุพอง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ เป็นต้น

แพ้อาหาร คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

แพ้อาหารทะเล?

  • แพ้ อาหารทะเล คือ ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในสัตว์น้ำทะเล และสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ สัตว์น้ำมีเปลือกทั้งหลาย เช่น กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ เช่น หมึกยักษ์ หมึกกล้วย ซึ่งอาการแพ้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต

อาการแพ้ อาหารทะเล?

อาการแพ้ อาหารทะเล มักจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาตั้งแต่หลายนาทีหรือเป็นชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เข้าไป และอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จากการได้รับสารก่อภูมิแพ้แต่เด็กจนค่อย ๆ ก่อให้เกิดอาการเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้บางคนอาจเพิ่งพบว่า มีอาการแพ้ในภายหลัง จากที่แต่ก่อนเคยรับประทานได้ปกติ อย่างไรก็ตาม อาการแพ้ที่สังเกตได้ มีดังนี้

  1. เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  2. คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
  3. มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
  4. ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
  5. รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน หรือคล้ายจะเป็นลม
  6. ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก

นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้บางรายอาจมีอาการรุนแรงที่ส่งผลถึงชีวิต มักเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการรับประทานอาหารที่แพ้และถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน ด้วยการฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) และนำตัวส่งห้องฉุกเฉินทันที ทั้งนี้ อาการแพ้รุนแรงจะแสดงให้เห็น ดังนี้

  1. คอบวมหรือมีก้อนในลำคอ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและหายใจลำบาก
  2. ชีพจรเต้นเร็ว
  3. วิงเวียนศีรษะอย่างมาก หรือหมดสติ
  4. มีอาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมาก

สำหรับผู้ที่แพ้ อาหารทะเลรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการพกยาฉีดฉุกเฉินเอพิเนฟริน หรือสวมข้อมือที่บอกข้อมูลการแพ้ อาหาร เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า ตนมีอาการดังกล่าวและสามารถช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

ส่วนความเชื่อที่ว่า ผู้ที่แพ้ อาหารทะเลจะเกิดอาการแพ้ต่อไอโอดีนหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่ประการใด ผู้ที่แพ้ อาหารทะเลสามารถทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสสารไอโอดีนหรือสารทึบรังสีได้ตามปกติโดยไม่ต้องเป็นกังวล

ข่าวดีผู้แพ้ อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่

ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่ หลังจากงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร NEJM ระบุว่า ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดในรูปแบบแอนติบอดี ชื่อว่า Omalizumab สามารถลดความรุนแรงจากอาการแพ้ อาหารเหล่านี้ได้

งานวิจัยได้แสดงผลการทดสอบในอาสาสมัคร 180 คน (เด็ก 177 และ ผู้ใหญ่ 3 คน) ที่ผ่านการยืนยันด้วยการให้รับประทานถั่วลิสง และอย่างอื่นอีกอย่างน้อย 2 อย่างจาก (นม ไข่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ ถั่วชนิดต่าง ๆ) ว่ามีอาการแพ้จริง ๆ โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาโดยการฉีดทุก ๆ 2 – 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 16 – 20 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก หลังจากนั้นทำการทดสอบอาสาสมัครด้วยถั่วลิสง และอาหารอื่น ๆ อีกครั้ง พบว่า 67% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับยา สามารถรับประทานถั่วลิสง และอื่น ๆ ในปริมาณเท่ากับก่อนทำการทดสอบได้โดยไม่มีอาการแพ้เหมือนก่อนการทดสอบ เทียบกับ 7% ในกลุ่มยาหลอก การได้รับยา Omalizumab เหมือนเป็นการเพิ่มระดับของร่างกายที่สามารถทนต่ออาหารที่ก่อการแพ้ได้ให้สูงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ได้รับยาหายจากการแพ้ อาหารนั้น ดังนั้น ถ้าผู้ได้รับยาคิดว่าสามารถทานถั่วลิสงได้แล้ว และเพิ่มปริมาณเกินกว่าที่ยาจะป้องกันได้ ก็จะสามารถเกิดอาการแพ้ได้อีกเช่นกัน

Omalizumab เป็นแอนติบอดีที่ออกแบบมาให้จับกับโปรตีน IgE ซึ่งเป็นโปรตีนของแอนติบอดีเช่นกัน แต่ IgE จะเป็นแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น จากอาหารที่รับประทานเข้าไป การฉีด Omalizumab ก็เป็นการควบคุมปริมาณ IgE ในร่างกายไม่ให้มีสูงจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อปริมาณสารก่อการแพ้มีมากเกิน Omalizumab จะเอาอยู่ IgE ก็จะสูงสร้างจนร่างกายตอบสนองในรูปของการแพ้นั่นเอง

แพ้อาหาร คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

แพ้อาหาร คืออะไร? ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด แพทย์หญิงเสียชีวิต แม้ฉีดยาแก้แพ้ที่พกติดตัวมาด้วยก็ไม่ดีขึ้น 6 อาการแพ้สังเกตได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น