“โมร็อกโก” ร่วมฟังพิจารณาคดีอิสราเอล-ปาเลสไตน์ สนันสนุนสันติภาพตะวันออกกลาง

กดติดตาม TOP NEWS

เอกอัครราชทูตโมร็อกโกเข้าร่วมฟังพิจารณาคดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีนโยบายของอิสราเอลและการปฏิบัติในพื้นที่อาณาเขตของปาเลสไตน์ เยรูซาเลมตะวันออก

ระหว่างการพิจารณาคดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ)  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการขอความเห็นเรื่องผลทางกฎหมายที่เกิดจากนโยบายของอิสราเอลและการปฏิบัติในพื้นที่อาณาเขตของปาเลสไตน์ รวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก โมร็อกโกได้กล่าวถึงความยึดมั่นของสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ Al- Quds  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation (OIC)

 

ตัวแทนของราชอาณาจักรโมร็อกโกในการเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-29 กุมภาพันธ์ คือเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก

 

ในเรื่องนี้ เอกอัครราชทูตโมร็อกโกเข้าร่วมเพื่อสนับสนุนการรายงานทางวาจาของปาเลสไตน์ ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ร่วมด้วยคณะผู้แทนจากปาเลสไตน์ นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของปาเลสไตน์

การที่โมร็อกโกเข้าร่วมการพิจารณาคดีทางวาจานี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความยึดมั่นในเรื่องดังกล่าว

 

ในการนี้ โมร็อกโกยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

 

ในคำร้องดังกล่าว ราชอาณาจักรโมร็อกโกยืนยันความมุ่งหมายที่จะ “ทำงานผ่านวิธีการที่ถูกกฏหมายทั้งหลาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎหมาย, ประวัติศาสตร์, การเมือง และจิตวิญญาณของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ และดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่มีสันติภาพ และความเชื่อด้านศาสนาในการนับถือพระเจ้าองค์เดียว”

 

นอกจากนั้น  ราชอาณาจักรโมร็อกโกย้ำถึง “การยึดมั่นในความเคารพในกฎหมายระหว่างประเทศและการสนับสนุนสันติภาพในดินแดนตะวันออกกลาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความยุติธรรม ความเข้าใจ และทางออกที่ยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการของทั้งสองดินแดน นั่นคือ รัฐอิสระปาเลสไตน์ โดยยึดถือเขตแดนที่ระบุไว้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1967 โดยมี East Al Quds Jerusalem เป็นเมืองหลวง และประชาชนอาศัยร่วมกันกับรัฐอิสราเอล โดยสันติและมั่นคง โดยยึดถือตามหลักกฏหมายสากล, ข้อตกลงในสหประชาชาติ และเป็นไปตาม Arab Peace Initiatives

 

คำร้องของโมร็อกโกยึดถือหลักการที่ระบุใน Appeal of Al-Quds Jerusalem ที่มีการลงนาม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ.2019 ระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ผู้เป็นผู้นำด้านความเชื่อ และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

 

เอกสารสำคัญที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาไว้ซึ่งเมืองศักดิ์สิทธิ์ของ Jerusalem A-Quds Asharif ให้เป็นเมืองมรดกร่วมกันด้านมนุษยธรรม และเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อความเชื่อด้านศาสนาในการนับถือพระเจ้าองค์เดียว เป็นเมืองที่ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพร่วมกัน และเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเคารพซึ่งกันและกัน และการเจรจาร่วมกัน

นอกเหนือจากนั้น คำร้องของโมร็อกโกยังแสดงถึง

  • “การมีมติเป็นเอกฉันท์ของประชาคมโลกในเรื่องสถานะทางกฏหมายของการตั้งถิ่นฐานของชาวอิสราเอล ในดินแดนบางส่วนของปาเลสไตน์ รวมถึง East Al Quds Jerusalem” ซึ่งเน้นย้ำถึงการที่พวกเขาขัดขวางสันติภาพและข่มขู่ที่จะทำให้ข้อตกลงแบบมีสองรัฐ (two-state solution) เป็นไปไม่ได้ ข้อตกลงที่ว่า หมายถึงรัฐอิสระปาเลสไตน์ ภายในเขตดินแดนที่ระบุไว้ในปี ค.ศ.1967 อาศัยอยู่ร่วมกันกับประชาชนในรัฐอิสราเอลด้วยสันติภาพและความมั่นคง

 

  • โมร็อกโกเน้นย้ำถึง การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ผ่านการเจรจา ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ โดยเฉพาะข้อตกลงในสภาความมั่นคง ข้อที่ 242 และ 338 ยังคงเป็นจุดสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืนในตะวันออกกลาง

 

  • จุดมุ่งหมายดังกล่าวทำให้การปฏิบัติของราชอาณาจักรโมร็อกโกทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคีภายใต้การทำงานในสหประชาชาติ และคณะกรรมการทั้ง 6 ชุด รวมไปถึงการทำงานในระดับภูมิภาคใน League of the Arab States และองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation (OIC) ซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 เป็นองค์ประธานของคณะกรรมการ Al- Quds

 

ท้ายที่สุด โมร็อกโกแสดงในคำร้องถึงข้อความของสมเด็จพระราชาธิบดี ในโอกาสเฉลิมฉลอง International Day of Solidarity เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2022 ร่วมกับประชาชนชาวปาเลสไตน์ว่า การหยุดชะงักของกระบวนการทางการเมืองระหว่างฝั่งปาเลสไตน์และอิสราเอล ไม่ก่อให้เกิดสันติภาพตามที่พวกเราปรารถนาจะให้เกิดในภูมิภาค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-

ข่าวล่าสุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น