“ศธ.” พร้อมทำทันที ว่าจ้างภารโรงแบ่งเบาภาระครูอยู่เวร หลังครม.พิจารณาอนุมัติงบฯ

"ศธ." พร้อมทำทันที ว่าจ้างภารโรงแบ่งเบาภาระครูอยู่เวร หลังครม.พิจารณาอนุมัติงบฯ

ความคืบหน้ากรณีกระทรวงศึกษาธิการตั้งเรื่องของบประมาณปี 2567 ในการจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด เพื่อคืนครูให้นักเรียน โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีความต้องการนักการภารโรงจำนวน 14,210 อัตรา เป็นเงิน 639,450,000 บาท  (อัตราละ 9,000 บาท ต่อเดือน)

โดยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิกา ยืนยันว่า หากครม.อนุมัติงบประมาณก็สามารถเริ่มจ้างนักการภารโรงได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาดแคลนถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยหลังจากเกิดเหตุการณ์ครูที่จังหวัดเชียงรายถูกคนร้ายบุกทำร้ายหวังข่มขืนขณะเข้าเวรดูแลทรัพย์สินโรงเรียนเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567

 

 

อีกทั้งยังต้องการแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการเข้าเวรยามเพื่อคืนครูให้แก่นักเรียน จึงเป็นเหตุให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 มกราคม 2567ยกเลิกมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ที่มอบหมายให้ครูต้องเข้าเวรยาม นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดทำคำขออนุมัติคืนอัตรานักการภารโรงกว่า 14,000 ตำแหน่ง เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีนักการภารโรงประจำ จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงตั้งเรื่องของบประมาณในการจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาดจากครม.เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับการจ้างนักการภารทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 14,210 คน โดยเป็นการจ้งในอัตราละ 9,000 บาท ต่อเดือนถือเป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญ แต่การใช้งบประมาณจำนวนกว่า 600 ล้านบาท จำเป็นต้องให้ครม.อนุมัติจากงบกลาง เนื่องจากเหตุการณ์ครูจังหวัดเชียงรายถูกทำร้ายเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ทำให้กระทรวงศึกษาฯไม่สามารถตั้งงบประมาณในการจ้างนักการภารทั่วประเทศได้ทัน เนื่องจากได้มีการตั้งงบประมาณในส่วนของกระทรวงศึกษาไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

 

 

 

สำหรับร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 นั้น รัฐบาลตั้งวงเงินไว้จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 3.28 แสนล้านบาท โดยกระทรวงศึกษาธิการแบ่งการจัดสรรหน่วยรับงบประมาณ ภายใต้กำกับดูแลของศธ. 11 หน่วยงาน ดังนี้
1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.5 แสนล้านบาท
2.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3.7 หมื่นล้านบาท
3.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2.4 หมื่นล้านบาท
4.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 1 หมื่นล้านบาทเศษ
5.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.6 พันล้านบาท
6.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 419 ล้านบาท
7.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 250 ล้านบาท
8.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 164 ล้านบาท
9.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 160 ล้านบาท
10.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 128 ล้านบาท
11.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) 98 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าในงบประมาณปี 67 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณลงไปใน 11 หน่วยงานแล้ว ดังนั้นการใช้งบประมาณจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อจ้างนักการภารโรงทั่วประเทศ จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากงบกลางเท่านั้น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น