ปักหมุด “วันสตรีสากล 8 มีนาคม” ประวัติ ไทยเฉลิมฉลอง ปีที่ 36

ปักหมุด วันสตรีสากล 8 มีนาคม ประวัติ ไทยเฉลิมฉลอง ปีที่ 36

"วันสตรีสากล 8 มีนาคม" นี้ ร่วมเฉลิมฉลอง เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น

TOP News ร่วมฉลอง “วันสตรีสากล 8 มีนาคม” ของทุกปี เดิมมีชื่อว่า วันแรงงานสตรีสากล (International Women’s Day) โดยผู้หญิงออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ด้านแรงงาน เพื่อเฉลิมฉลองและให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีอย่างเท่าเทียมกัน เช็ค ๆ ประวัติ ความสำคัญ ดอกไม้ประจำวัน สตรีสากล ในไทยจัดกิจกรรมอะไรบ้าง

ข่าวที่น่าสนใจ

วันสตรีสากล 8 มีนาคม นี้ ร่วมเฉลิมฉลอง เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น

ประวัติ “วันสตรีสากล 8 มีนาคม”

เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16 – 17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ คลาร่า เซทคิน (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ คลาร่า เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า ขนมปังกับดอกกุหลาบ ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ

  • ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง
  • ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง
  • อีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน

พร้อมกันนี้ ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย มีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็ก และรับรองข้อเสนอของ คลาร่า เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน สตรีสากล

วันสตรีสากล 8 มีนาคม นี้ ร่วมเฉลิมฉลอง เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น

ความสำคัญของ “วันสตรีสากล 8 มีนาคม”

ในวัน สตรีสากล บรรดาผู้หญิงในหลาย ๆ ประเทศจากทุกทวีป รวมทั้งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิง จะรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลองวันสำคัญนี้ และร่วมรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศเห็นความสำคัญของวัน สตรีสากล จึงได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันหยุดประจำชาติ และวัน สตรีสากล ก็ถือเป็นอีกวันหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติจะได้ร่วมเฉลิมฉลองอีกด้วย

ดอกไม้ประจำวัน สตรีสากล

ดอกมิโมซ่าสีเหลือง เป็นดอกไม้ประจำวันสตรีสากล มีความหมายถึงความอ่อนโยนของผู้หญิง แต่แข็งแกร่งเพราะเป็นดอกไม้ที่เติบโตในช่วงฤดูหนาว แม้อากาศจะหนาวเย็นก็อยู่รอดผ่านฤดูหนาวมาได้ บางประเทศใช้ดอกไม้ชนิดอื่นแทนวันสตรีสากล เช่น ดอกทิวลิป ดอกกุหลาบ

วัน สตรีสากล ในไทย?

จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 โดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) สังกัดสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจความสำคัญของวัน สตรีสากล และได้มีการปรับกฎหมายแรงงานต่าง ๆ ของสตรี ให้สอดคล้องกับตามรูปแบบของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี จะมีการจัดการมอบรางวัลให้แก่สตรีที่ทำประโยชน์แก่สังคม ในสาขาอาชีพต่าง ๆ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวว่า ในวันที่ 8 มีนาคม 2567 กระทรวง พม. โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) จะจัดงานวัน สตรีสากล ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น” เนื่องจากวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีนั้น องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้เป็นวัน สตรีสากล และประเทศไทยของเราได้เฉลิมฉลองวัน สตรีสากล มาเป็นเวลา 36 ปี

“ภายในงานจะนำเสนอถึงการส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนบทบาทสตรีทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเมือง ให้มีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้”

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า งานวัน สตรีสากล ปีนี้ จะมีการมอบรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติแก่สตรี บุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานด้านสตรีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และจะมีการจัดแสดงนิทรรศการเครือข่ายด้านสตรีทั่วประเทศ ประชาชน และความเสมอภาคทางเพศ โดยในวันเดียวกันนั้น ทางจังหวัด โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวัน สตรีสากล เช่นเดียวกัน

วันสตรีสากล 8 มีนาคม นี้ ร่วมเฉลิมฉลอง เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น