“พะยูน” เงือกสาวผมยาว? ปี 67 พบน้อยมาก เสี่ยงเหลือเพียงตำนาน

พะยูน เงือกสาวผมยาว? ปี 67 พบน้อยมาก เสี่ยงเหลือเพียงตำนาน

วิกฤติ "พะยูน" ลดฮวบ ปีที่แล้วพบไม่น้อยกว่า 180 ตัว แม่ลูก 12 คู่ ปีนี้พบ 24 ตัว ไม่พบแม่ลูกเลย คาดสาเหตุหนีตายเพราะอาหารไม่พอ เสี่ยงเหลือเพียงแค่ตำนาน?

TOP News รายงานวิกฤติ “พะยูน” หลายคนคงเคยได้ยินตำนานเงือกสาวผมยาวนั่งอยู่บนโขดหินใกล้ชายฝั่ง ความจริงแล้วอาจจะเป็น พะ ยูน ที่มีหญ้าทะเลคลุมหัวมาหยุดพักที่บริเวณโขดหินก็เป็นได้ พะ ยูน คืออะไร บางคนยังไม่เคยเห็นตัวเป็น ๆ เลยสักครั้ง และอาจจะไม่ได้เห็นแล้วในชีวิตนี้ เมื่อปรากฏว่าถูกพบน้อยลงมาก พะ ยูน หายไปไหน ใครรู้บ้าง

ข่าวที่น่าสนใจ

วิกฤติ พะยูน ลดฮวบ ปีที่แล้วพบไม่น้อยกว่า 180 ตัว แม่ลูก 12 คู่ ปีนี้พบ 24 ตัว ไม่พบแม่ลูกเลย คาดสาเหตุหนีตายเพราะอาหารไม่พอ เสี่ยงเหลือเพียงแค่ตำนาน?

ภาพ : Thon Thamrongnawasawat

อ.ธรณ์ หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์ของ “พะยูน” ในน่านน้ำไทย ปี 2567 ว่า จากการบินสำรวจสัตว์หายากของกรมทะเล พบว่า พะ ยูน ในเขตเกาะลิบง เกาะมุกด์ มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เมื่อเทียบตัวเลข คำว่าตกใจอาจไม่พอ ปีที่แล้วพบไม่น้อยกว่า 180 ตัว แม่ลูก 12 คู่ ปีนี้พบ 24 ตัว (ลิบง 17 มุกด์ 7) ไม่พบแม่ลูกเลย

แต่มีข้อสังเกตว่า จำนวน พะ ยูน ที่ตายมีน้อยกว่าจำนวน พะ ยูน ที่หายไป พะ ยูน บางส่วน อาจมีการอพยพเปลี่ยนแหล่งหากิน เนื่องจากหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะ ยูน มีปริมาณลดลงอย่างมาก เดิมเกาะลิบงและเกาะมุกด์ เป็นแหล่งหญ้าทะเลใหญ่สุดในไทย พะ ยูน จึงมารวมกันอยู่จุดนี้มากที่สุด เมื่อหญ้าทะเลเสื่อมโทรมลง และเหลือน้อย พะ ยูน จึงอาจพยายามอยู่ต่อในจุดเดิม หรือย้ายไปหาแหล่งอาหารใหม่

ทั้งนี้ พิกัดหญ้าทะเลที่ยังพอมีอยู่ ล้วนห่างออกไปจากจุดเดิม ประมาณ 15 – 30 กม. แต่ก็อยู่ในพิสัยที่ พะ ยูน จะไปถึงได้ เช่น เกาะศรีบอยา-เกาะปู แต่ต้องติดตามว่าสภาพหญ้าที่ไม่สมบูรณ์ จะรองรับได้แค่ไหน

ส่วนแหล่งหญ้าที่มีรายงานเบื้องต้นว่ายังไม่มีปัญหาคือ อ่าวน้ำเมา รวมถึงแหล่งหญ้าอื่น ๆ ในกระบี่ตอนบน อ่าวพังงา ภูเก็ต อาจมี พะ ยูน เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแหล่งหญ้าเล็ก ๆ กระจัดกระจาย เดิมทีมี พะ ยูน อยู่บ้างแล้ว ผู้อยู่ก่อนกับผู้มาใหม่จะมีพฤติกรรมเป็นเช่นไร ต้องติดตาม ปัญหาคือบริเวณนั้นมีการท่องเที่ยวหนาแน่น การสัญจรทางน้ำเยอะ จึงจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ

อ.ธรณ์ ย้ำว่า นี่เป็นผลสำรวจขั้นต้น คงต้องรอผลเป็นทางการจากกรมทรัพยากรทางทะเลอีกครั้ง แต่จำนวนคงน้อยลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม 24 ตัวมันเป็นตัวเลขที่โหดร้ายและทำร้ายจิตใจเกินไป

วิกฤติ พะยูน ลดฮวบ ปีที่แล้วพบไม่น้อยกว่า 180 ตัว แม่ลูก 12 คู่ ปีนี้พบ 24 ตัว ไม่พบแม่ลูกเลย คาดสาเหตุหนีตายเพราะอาหารไม่พอ เสี่ยงเหลือเพียงแค่ตำนาน?

ภาพ : Thon Thamrongnawasawat

“พะยูน” คืออะไร?

พะ ยูน (Dugong) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณชายฝั่งที่น้ำตื้น ไม่ลึกมาก

พะ ยูน มีรูจมูกอยู่ด้านบนเพื่อให้ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้โดยไม่ต้องโผล่ส่วนอื่นขึ้นมา โดยจะหายใจทุก 1 ถึง 2 นาที

ลักษณะทางกายภาพ คือมีรูปทรงกระสวยคล้ายโลมา แต่อ้วนกลมกว่า ผิวหนังเรียบลื่น ลำตัวมีสีเทาอมชมพูหรือน้ำตาลเทา มีขนสั้น ๆ ตลอดลำตัว มีหางแฉก ซึ่งเป็นวิวัฒนาการให้ พะ ยูน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำได้

และถึงแม้ พะ ยูน จะมีลักษณะทางกายภาพคล้ายโลมา แต่กลับมีวิวัฒนาการมาสายเดียวกับช้าง หรือเรียกว่าเป็นญาติห่าง ๆ กับช้างนั่นเอง เมื่อ 55 ล้านปีก่อน บรรพบุรุษของ พะ ยูน เคยอาศัยอยู่บนบก แต่ได้มีวิวัฒนาการให้ลงไปอยู่ในทะเล ขาหลังลดขนาดลงและหายไป ขาหน้าเปลี่ยนแปลงไปให้มีลักษณะคล้ายใบพาย เพื่อให้สามารถว่ายน้ำได้ มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนมีลักษณะรูปร่างเป็น พะ ยูน อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

พะ ยูน กินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) โดยเฉพาะหญ้าทะเลชนิดต่าง ๆ ตามแนวชายฝั่ง และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ไม่ห่างจากบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเลหนาแน่นและกว้างใหญ่เพียงพอ จึงถือได้ว่า พะ ยูน เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหญ้าทะเลได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งหญ้าทะเลยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก เป็นทั้งออกซิเจน แหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย ที่วางไข่และหลบซ่อนศัตรู ช่วยลดมลพิษในทะเล ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยป้องกันการพังทลายของชายฝั่งได้ดี ในบริเวณที่มีหญ้าทะเลขึ้นอยู่ จึงจัดเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลไทยอีกด้วย

แม้ พะ ยูน จะเป็น 1 ใน 20 สัตว์ป่าสงวนของไทย และอยู่ในบัญชี 1 ของบัญชีไซเตส ห้ามค้าโดยเด็ดขาด แต่ พะ ยูน ในประเทศไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักจากกิจกรรมมนุษย์ ทั้งการสูญเสียถิ่นอาศัย และการทำลายหญ้าทะเล แหล่งอาหารของ พะ ยูน รวมถึงการล่า การติดเครื่องมือประมง และปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ พะ ยูน ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

วิกฤติ พะยูน ลดฮวบ ปีที่แล้วพบไม่น้อยกว่า 180 ตัว แม่ลูก 12 คู่ ปีนี้พบ 24 ตัว ไม่พบแม่ลูกเลย คาดสาเหตุหนีตายเพราะอาหารไม่พอ เสี่ยงเหลือเพียงแค่ตำนาน?

ภาพ : Thon Thamrongnawasawat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น