“วันช้างไทย” 13 มีนาคม ช้างเผือกคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

วันช้างไทย 13 มีนาคม ช้างเผือกคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

13 มีนาคม "วันช้างไทย" ประวัติ ความเป็นมา ความสำคัญ สิ่งที่ควรรู้ ช้างเผือก สัญลักษณ์ประจำชาติ สัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

TOP News ร่วมรำลึก “วันช้างไทย” ครั้งหนึ่งประเทศสยามเคยใช้ ช้างเผือก เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ซึ่ง ช้าง มีบทบาทสำคัญในการสร้างชาติตามประวัติการทำยุทธหัตถี เป็นสัตว์มงคลประจำรัชกาล เครื่องเชิดชูเกียรติ คู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ เพื่อให้คนไทยทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของช้าง จึงมีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา กำหนดวัน ช้างไทย ขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี

ข่าวที่น่าสนใจ

13 มีนาคม วันช้างไทย ประวัติ ความเป็นมา ความสำคัญ สิ่งที่ควรรู้ ช้างเผือก สัญลักษณ์ประจำชาติ สัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

ประวัติ “วันช้างไทย” ?

วัน ช้างไทย ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีที่มาจากคณะกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานองค์การภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานเกี่ยวกับช้างไทย ร่วมกับคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาหาวันที่เหมาะสมเพื่อเป็นวันระลึกและจัดกิจกรรมวัน ช้างไทย จึงได้เลือกวันที่ 13 มีนาคมเป็นวัน ช้างไทย อันเป็นวันที่ตรงกับการทำยุทธหัตถีของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ พระมหาอุปราชา และทรงมีชัยชนะ และคณะกรรมการได้คัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ ช้างเผือก เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวัน ช้างไทย และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

ความสำคัญ?

วัน ช้างไทย ของทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดกิจกรรมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับช้างไทย ในอดีตเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ร่วมรบทำยุทธหัตถี เป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความเป็นอยู่และความสำคัญของช้าง ช่วยเหลือและอนุรักษ์ รวมถึงเป็นการยกย่องให้เกียรติช้างว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ควรรู้?

ช้างมีอายุขัยอยู่ที่ 50 – 70 ปี ใช้เวลาตั้งท้องนานถึง 22 เดือน และธงชาติของประเทศไทยเคยใช้รูปธงช้างเผือกเป็นธงสัญลักษณ์ประจำชาติในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

13 มีนาคม วันช้างไทย ประวัติ ความเป็นมา ความสำคัญ สิ่งที่ควรรู้ ช้างเผือก สัญลักษณ์ประจำชาติ สัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

“วันช้างไทย” ช้างเผือก?

ช้างเผือก ถือว่าเป็นช้างมงคล นอกจากช้างเผือกมีลักษณะพิเศษตามตำราคชลักษณ์ ประกอบด้วย

  • ตาขาว
  • เพดานปากขาว
  • เล็บขาว
  • ขนขาว
  • พื้นหนังขาว
  • ขนหางขาว
  • อัณฑโกสขาว หรือคล้ายสีหม้อใหม่

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ การกำเนิดของช้างสร้างโลก เล่าขานว่า พระนารายณ์บรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร ทรงแสดงเทวฤทธิ์อธิษฐาน ด้วยเทวฤทธิ์ให้ดอกบัวผุดขึ้นที่พระอุทร ดอกบัวนั้นมี 8 กลีบ 173 เกสร จึงนำดอกบัวนั้นไปถวายพระอิศวร พระอิศวรจึงแบ่งดอกบัวนั้นเป็น 4 ส่วน ส่วนหนึ่ง 8 เกสร เป็นของพระอิศวร ส่วนหนึ่ง 24 เกสร เป็นของพระพรหม ส่วนหนึ่ง 8 เกสร เป็นของพระนารายณ์ ส่วนหนึ่ง 133 เกสร เป็นของพระเพลิง (พระอัคนี) โดยมหาเทพทั้งสี่ได้สร้างช้าง 4 ตระกูล ประกอบด้วย พรหมพงศ์ วิษณุพงษ์ อัคนีพงศ์ และ อิศวรพงศ์

นอกจากนี้ ช้างเผือกยังเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี และช้างเผือกยังมีฐานะเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่อดีต รวมไปถึงช้างเผือกยังเป็นอีกสัญลักษณ์ 1 ในแก้ว 7 ประการ

ทุกรัชกาลเมื่อมีช้างเผือกเข้าสู่พระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง ตามโบราณราชประเพณี พระราชทานนามเป็น พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทย มีช้างคู่พระบารมีประจำรัชกาล ดังนี้

  • รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีช้างเผือก 10 ช้าง
  • รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีช้างคู่บารมี 6 ช้าง
  • รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีช้างคู่บารมี 20 ช้าง
  • รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีช้างคู่บารมี 15 ช้าง
  • รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีช้างคู่บารมี 19 ช้าง
  • รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีช้างคู่พระบารมีประจำรัชกาล 1 ช้าง
  • รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีช้างคู่พระบารมีประจำรัชกาล 1 ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
  • รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีช้างเผือก 10 ช้าง

และ รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พบ พลายเอกชัย เข้าข่ายช้างสำคัญ

ซึ่งหากพิจารณาตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่กำหนดช้างตามตำราคชลักษณ์ช้าง 4 ตระกูล คือ อิศวรพงศ์ พรหมพงศ์ วิษณุพงศ์ และ อัคนีพงศ์ นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการศูนย์อนุรักษ์ช้าง บริษัทช้างทองคำ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า พลายเอกชัย จัดอยู่ในตระกูล พรหมพงศ์ เพราะมีผิวหนังอ่อนนุ่ม หน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ ขนขึ้นขุมละ 2 เส้น โขมดสูง คิ้วสูง มีกระเต็มตัว งาเรียวรัด อกใหญ่ หลังโก่งก้านกล้วย โดยช้างทั่วไปจะมีรูระบายอากาศที่เพดานเหงือก 2 รู แต่ว่า พลายเอกชัย จะมีรูระบายเพียง 1 รู ถือเป็นคุณลักษณะพิเศษ ด้านอุปนิสัยและเสียงร้องดังคำรามไม่เหมือนช้างทั่วไป

รวมถึงเสียงกรนที่แตกต่างจากช้างเชือกอื่น ตามคชลักษณ์ กำหนดไว้ว่า เวลาช้างหลับ ต้องมีเสียงกรนประดุจเสียงแตรสังข์ ถือว่าเป็นมงคล ด้วยลักษณะทางกายที่โดดเด่น พลายเอกชัย ยังเป็นที่เกรงขามของช้างเชือกอื่นในศูนย์อนุรักษ์ช้าง มีความเฉลียวฉลาด สุขุมและใจดี

ระหว่างนี้ อยู่ในขั้นตอนตามระเบียบ “พลายเอกชัย” ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ หากผลการตรวจสอบครบสมบูรณ์ ว่า พลายเอกชัยเป็นช้างสำคัญ ตามตำราคชลักษณ์ ทางบริษัท จะได้ดำเนินการขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย “พลายเอกชัย” เป็นช้างคู่พระบารมี รัชกาลที่ 10

13 มีนาคม วันช้างไทย ประวัติ ความเป็นมา ความสำคัญ สิ่งที่ควรรู้ ช้างเผือก สัญลักษณ์ประจำชาติ สัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น