นักวิจัยชี้ ฟาร์มงูหลาม เป็นแหล่งโปรตีนยั่งยืน รับมือกับโลกร้อน

นักวิจัยกลุ่มหนึ่งเข้ามาศึกษา งูหลาม-งูหลือมที่ฟาร์มในประเทศไทยและเวียดนาม เป็นเวลากว่า 1 ปี พบว่า งูใหญ่ไร้พิษสองชนิดนี้ มีศักยภาพเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อ ได้ยั่งยืนกว่าปศุสัตว์หลายชนิด

 

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร “ไซแอนทิฟิก รีพอร์ตส์” ระบุว่า การทำฟาร์มงูหลาม อาจเป็นหนทางหนึ่งในการรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหาร ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับไคลเมต เชนจ์ หรือภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว โดยจากการศึกษา งูเหลือมและงูหลามพม่า ( Burmese and reticulated python) กว่า 4,600 ตัว พบว่า มันโตไวมากในช่วงปีแรก ใช้อาหาร สำหรับกระบวนการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักเนื้อ (feed conversion) น้อยกว่าสัตว์เลี้ยงในฟาร์มชนิดอื่น อย่างไก่ วัว หมู แซลมอน หรือจิ้งหรีด

แหล่งอาหารของงู ก็หาได้จากในท้องถิ่น เช่น สัตว์ฟันแทะจับในธรรมชาติ ผลพลอยได้จากหมู หรือปลา น้ำหนักงูจะเพิ่มเฉลี่ยวันละ 1.6 ออนซ์ หรือประมาณ 45 กรัม งูตัวเมียจะโตไวกว่าตัวผู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินเป็นเวลานาน โดยที่น้ำหนักตัวไม่ได้ลดมากนัก นั่นหมายความว่า การใช้แรงงานคนเพื่อให้อาหาร จะน้อยกว่าฟาร์มสัตว์ทั่วไป นอกจากนี้ งูยังกินน้ำน้อยมาก ในตอนเช้า แค่กินน้ำค้างเกาะบนเกล็ดก็เพียงพอ กล่าวในทางทฤษฎี งูอยู่ได้โดยไม่ต้องให้อาหารเลยเป็นปี

แดเนีนล นาทัช ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่าในโลกที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ไคลเมทเชนจ์ จะทำให้สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว จนสภาพแวดล้อมปรับตัวไม่ทัน สัตว์ที่สามารถทนร้อน อยู่ได้ในภาวะอาหารขาดแคลนและยังสร้างโปรตีนได้อีก งูคือสัตว์ที่ให้ประสิทธิผลมากกว่าชนิดใด ๆ เท่าที่มีการศึกษามา

สำหรับรสชาติเนื้องู ในระหว่างทำการศึกษา นาทัช ได้ลองกินทั้ง งูบาร์บีคิว งูย่าง งูผัด ตลอดจนแกงงู และงูแดดเดียว ได้ข้อสรุปว่า รสชาติคล้ายเนื้อไก่ แต่มีกลิ่นมากกว่าเล็กน้อย ข้อดีอีกอย่างของเนื้องู คือมันไม่มีแขนขา เวลาแล่แทบไม่มีของเหลือทิ้ง นักวิจัยท่านนี้บอกว่า แค่นำมีดมา 1 เล่ม กรีดกลางก็จะได้เนื้อสัตว์ 1 ชิ้นความยาว 4 เมตรไปเต็มๆ

กระนั้น นักวิจัยยอมรับว่า คงไม่ง่ายที่เนื้องูจะเป็นเมนูของชาวตะวันตก และเขาไม่ได้มองไปถึงว่า
จะเป็นทางออกของปัญหางูหลามพม่าขยายพันธุ์ในบึงเอเวอร์เกลด รัฐฟลอริดา กลายเป็นสัตว์รุกรานต่างถิ่นจับกันไม่หวาดไม่ไหวในทุกวันนี้ แต่อาจเป็นทางออกของเกษตรกรในประเทศแถบแอฟริกา ที่ความไม่มั่นคงทางอาหาร เป็นปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกที และเทคโนโลยีก้าวตามไม่ทันกับสภาพอากาศแปรปรวนสุดขีด อย่างถ้าเกษตรกรที่นั่น จับหนูที่กัดกินข้าวโพดในไร่ เอาไปเลี้ยงงูหลามสักตัว ก็อาจจะได้โปรตีนชั้นดีสำหรับรับประทาน

ส่วนการที่นักอนุรักษ์บางคนเป็นห่วงว่า การทำฟาร์มงูเชิงพาณิชย์ อาจนำไปสู่การล่างูในธรรมชาตินั้น นาทัช ซึ่งเป็นประธานกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเรื่องงู ให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN แย้งว่า ผลตามมาจะเป็นตรงกันข้าม เพราะเป็นการให้แรงจูงใจทางการเงินแก่ชุมชน ให้ช่วยกันอนุรักษ์งูและแหล่งอาศัยที่พวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยมากกว่า

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ย้ำ "แบงก์ชาติ" ต้องปลอดการเมืองครอบงำ ชี้วิกฤตศก.ปี 40 ไทยล้มละลาย เพราะนักการเมืองร่วมมือต่างชาติ
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้อาคารหอพักนักเรียน จ.เพชรบูรณ์ จนท.ระดมกำลังควบคุมเพลิงนานกว่า 1 ชั่วโมง
"กรมอนามัย" เตือนชุมชนรอบรัศมี 5 กม. ย่านประเวศ เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าระบาด งดสัมผัสสัตว์จร
บางซื่อแทบแตก! เจ้าพ่อนักบุญ "ชัช เตาปูน" แจกข้าวสารหอมมะลิกว่า 20,000 ถุง
“ทนายรณณรงค์” จับโป๊ะ! “ทนายตั้ม” ค้านประกันเมีย แห่ยุ “เดือน” หยุดปกป้องผัวเนรคุณ
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือน 13 จังหวัด ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ยิงยกครัว หลังฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ดับ 4 ศพ พบเด็ก 8 ขวบอาการสาหัส
รวบหนุ่มวัย 36 ปี คาสนามบินสุวรรณภูมิ หลังลวงเชิดกระเป๋าหรูจากเพื่อน เสียหายกว่าสิบล้าน
“เบส คำสิงห์” แจ้งข่าว “พ่อสมรักษ์” ป่วยเข้า ICU แฟนคลับแห่ส่งกำลังใจเพียบ
ปภ. จับมือ 8 หน่วยงานและเครือข่าย ร่วมเฝ้าระวัง ดูแลรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น