วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ การยกระดับการทำงานของคนไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องจัดประชุมสัมมนา B1-3 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา
วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ การยกระดับการทำงานของคนไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องจัดประชุมสัมมนา B1-3 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา
ข่าวที่น่าสนใจ
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานฝีมือ เพื่อรองรับและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติตามนโยบายรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการลงทุน การสนับสนุนนโยบายด้านการลงทุนของประเทศไทย ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค ทั้งในส่วนการผลิตและประกอบยานยนต์ แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และอะไหล่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ในปี 2568 กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีเป้าหมายพัฒนาแรงงานฝีมือ จำนวน 10,097,015 คน การพัฒนาแรงงานนวัตกรรมเพื่อรองรับการลงทุน จำนวน 100,000 คน การเร่งติดอาวุธและพัฒนาคุณภาพแรงงาน ตั้งแต่วัยเรียนเพื่อลดการขาดแคลนแรงงานในระยะสั้น 1,000,000 คน
นายพิพัฒน์ ยังกล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยว่า จำนวนแรงงานฝีมือที่มีความรู้ความเข้าใจในงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ที่มีอุปสงค์น้อยกว่าอุปทานของอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีงบประมาณภาครัฐที่จะช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาแรงงานฝีมือที่ตอบสนองอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนจำกัด จึงทำให้การพัฒนาแรงงานฝีมือยังคงมีจำนวนแรงงานฝีมือไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาของคู่แข่งสำคัญของประเทศไทย ทั้งในส่วนการส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนามในนาม “VIN FAST”การเร่งพัฒนาแรงงานฝีมือที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในส่วน TECHNICIAN วิศวกรยานยนต์ วิศวกรไฟฟ้า นักพัฒนาซอฟแวร์
เพื่อสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
“แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างยั่งยืน จะต้องอาศัยการพัฒนาให้ประเทศไทยจากประเทศผู้รับจ้างผลิตไปสู่ประเทศผู้ผลิต ซึ่งนำมาสู่การจ้างงานที่ยั่งยืน รวมทั้งการเร่งพัฒนาแรงงานฝีมือเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในส่วนระดับผู้ปฎิบัติการ อาทิ ช่างเทคนิครวมถึงวิศวกรยานยนต์ วิศวกรไฟฟ้า นักพัฒนาซอฟแวร์ เป็นต้น รวมถึงการสร้างนโยบายส่งเสริมการลงทุน จากบริษัทฯ ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลกในประเทศไทย พร้อมกำหนดข้อตกลงในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการวิจัย พัฒนา รวมถึงการผลิตและประกอบยานยนต์ แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และ อะไหล่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นที่แพร่หลาย โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์สาธารณะ และยานยนต์ในองค์กรของรัฐ ตลอดจนการศึกษาอย่างจริงจังในส่วนการนำแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้สำหรับกิจการอื่นๆ รวมถึงการรีไซเคิลชิ้นส่วน และการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม” นายพิพัฒน์ กล่าว
“กระทรวงแรงงานจะทำงานร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสำนักงานอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานนานาชาติ สนับสนุนและติดอาวุธสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่ศึกษาในภาควิชาด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านการอบรมทักษะที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งผลักดันโครงการ CREDIT BANK เพื่อการกระตุ้นในนักเรียน นักศึกษา มีความสนใจในการพัฒนาทักษะฝีมือ พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งนำมาสู่การลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือในระยะยาว
อีกทั้งพัฒนาระบบแนะแนวอาชีพที่มีความต้องการของอุตสาหกรรม
ในอนาคต และการลงทุนในประเทศไทยช่วงระยะ 10 ปีข้างหน้า ในกลุ่มครูแนะแนวในระดับประถมศึกษา และ มัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนในการเลือกศึกษาต่อ และตรงตามแผนการพัฒนาแรงงานฝีมือ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม และแผนส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยต่อไป” นายพิพัฒน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น