โดยอภิปรายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตามที่กรรมาธิการแก้ไข ตั้งแต่
– มาตรา 32 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานขององค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ ลดลงเหลือ 8,848,475,400 บาท จากเดิมที่เสนอเข้ามา 8,473,099,000 บาท
– มาตรา 33 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับลดลงเหลือ 100,655,847,900 บาท จากเดิมที่เสนอมา 101,003,850,900 บาท
– มาตรา 34 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 282,029,100 บาท
– มาตรา 35 งบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย จำนวน 8,867,485,700 บาท
– มาตรา 36 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ จำนวน 8,478,383,000 บาท
– มาตรา37 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการ ปรับลดลงเหลือ 213,106,725,100 บาท จากเดิมที่เสนอเข้ามา 214,601,711,500 บาท
– มาตรา 38 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ ปรับลดลงเหลือ 785,795,806,000 บาท จากที่เสนอมา 785,957,643,800 บาท
– มาตรา 40 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้ตั้งเป็นงบประมาณ รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 346,380,068,300 บาท ไม่มีการเสนอปรับลด
– มาตรา 41 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ให้ตั้งเป็นจำนวน 118,361,130,500 บาท
ภายหลังจบการพิจารณาเรียงลำดับ ในวาระ 2 และเช็คองค์ประชุม อยู่ที่ 461 คน