“ดร.อานนท์” ชี้ถ้าสภาจุฬาฯยังรีรอ ไม่กล้าถอดถอนปริญญาบัตร “ณัฐพล” มีอีกวิธีลงโทษให้ลองทำ

"ดร.อานนท์" ชี้ถ้าสภาจุฬาฯยังรีรอ ไม่กล้าถอดถอนปริญญาบัตร "ณัฐพล" มีอีกวิธีลงโทษให้ลองทำ

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่าเรื่องวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง ที่มีทั้ง data falsification (การปลอมแปลงข้อมูล) และ data fabrication (สร้างข้อมูลเท็จ) นั้น
สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหลังพิงในการถอดถอนปริญญาบัตรแล้ว ดังนี้

1.ผลวินิจฉัยข้อหารือในการถอดถอนปริญญาของนายศุภชัย หล่อโลหะการในปี 2554 ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่าผู้ใดมีอำนาจสถาปนา ผู้นั้นมีอำนาจถอดถอน

2. คำพิพากษาศาลอาญา ที่นายณัฐพล ใจจริง ฟ้องหมิ่นประมาท ศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร

3. ผลการสอบสวนของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง มีมติ 3 ใน 4 ว่างานของณัฐพล ใจจริง เกินเลยต่อความเป็นจริงไปมาก น่าอัปยศอดสูทางวิชาการ มีการกระทำผิดจริง

สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจจะรอคำพิพากษาคดีที่ ม.ร.ว. ปรียนันทนา รังสิตฟ้องณัฐพล ใจจริง และท้ายฟ้องขอให้ศาลสั่งทำลายวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริงทุกเล่ม

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผศ.ดร.อานนท์ ระบุอีกว่า ระหว่างสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรอคำพิพากษาก่อนจะตัดสินใจลงมติถอดถอนปริญญาของณัฐพล ในประเทศไทยนั้นมีผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลจริยธรรมการวิจัยโดยตรง ดังมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยทั่วไป พ.ศ. 2565

เราจะพบว่านายณัฐพล ใจจริง ทำผิดระเบียบข้อ 13 และ 14 เพราะวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลนั้นมี data falsification (การปลอมแปลงข้อมูล) และ data fabrication (สร้างข้อมูลเท็จ) นอกจากนี้ยังกระทบต่อบุคคลอื่นคือ สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านและนำเสนออย่างมีธงในใจและมีอคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ข้อ 13 นักวิจัยต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือสร้างข้อมูลเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยตามที่ตนต้องการหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

ข้อ 14 ในการวิจัยที่มีเนื้อหาสาระกระทบถึงบุคคลอื่นไม่ว่าในทางเป็นคุณหรือเป็นโทษ นักวิจัยจะต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงรอบด้าน การใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงเพียงแหล่งเดียวย่อมไม่เป็นไปตามมาตรฐานการวิจัย

ในการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีเนื้อหากระทบถึงบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่ง นักวิจัยต้องนำเสนอโดยปราศจากอคติ ไม่ชี้นำไปในทางที่นักวิจัยต้องการ

หากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องการให้เกิดความรอบคอบและมีหลังพิงเพิ่มขึ้นไปอีก สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบนี้ข้อ 29 และมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตามข้อ 30 วงเล็บ 6 ทั้งยังมีอำนาจลงโทษตามข้อ 38

โดยข้อ 38 กำหนดว่า ในกรณีที่ผลงานวิจัยกระทำโดยฝ่าฝืน ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 19 ข้อ 20 หรือข้อ 26 คณะกรรมการอาจมีมติให้ดำเนินการตามลักษณะและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดจริยธรรม ดังนี้
(1) ถอดถอนผลงานวิจัย
(2) ประกาศการกระทำผิดดังกล่าวให้ทราบเป็นการทั่วไป
(3) ดำเนินการอื่นตามที่ กสว. ประกาศกำหนด

ขอให้สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลองพิจารณาดำเนินการต่อไปครับ ระหว่างนี้อาจจะมีผู้ที่ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปร้องเรียนให้คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย มีวินิจฉัยก็ได้ครับ

ตอนท้าย ผศ.ดร.อานนท์ ตั้งคำถามว่า มีใครพร้อมทำหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์บ้างหรือไม่ครับ?

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น