“อ.ไชยันต์” เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ “ส.ศิวลักษณ์” ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

"อ.ไชยันต์" เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ "ส.ศิวลักษณ์" ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

อ.ไชยันต์” เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ “ส.ศิวลักษณ์” ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7 หลักฐานชัดทรงเตรียมการมานาน

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 67 ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กให้ข้อมูลตอบโต้นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวลักษณ์ อีกประเด็น หลังส.ศิวลักษณ์วิจารณ์โจมตีหนังแอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

โดยศ.ดร.ไชยันต์ ได้ระบุถึงประเด็น การเตรียมการไปสู่การมีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนที่ 1 หลังในคลิปวิดีโอเรื่อง “คู่มือรับชม แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ” ส.ศิวลักษณ์กล่าวว่า “คนที่บอกว่า ประชาธิปไตย ในหลวงเตรียมพระราชทานอยู่แล้วนั้น เป็นการพูดแบบกึ่งจริง กึ่งเท็จ เป็นการหลอกลวง มอมเมาคน”

อ.ไชยันต์ เบิกเนตรอีกชุดใหญ่ ส.ศิวลักษณ์ ด้อยค่ารธน.ฉบับรัชกาลที่ 7

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งรศ.ดร.สนธิ เตชานันท์ ได้รวบรวมเอการหลักฐานต่างๆที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและพระราชกรณียกิจเตรียมการไปสู่การมีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย มาก่อนที่คณะราษฎรจะทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

หลักฐานต่างๆที่เป็นพระราชดำริและพระราชกรณียกิจนับตั้งแต่ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ถูกจัดหมวดหมู่ไว้ดังต่อไปนี้คือ

หนึ่ง: ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน

สอง: ร่างรัฐธรรมนูญ: แนวพระราชดำรที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง

สาม: สภากรรมการองคมนตรี: พระบรมราโชบายวางรากฐานการปกครองระบอบรัฐสภา

สี่: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อความเห็นของนายมุสโสลินี เรื่อง “การศึกษาของชาติ”

ห้า: พระบรมราโชบายที่จะฝึกฝนประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ซึ่ง ศ.ดร.ไชยันต์ได้ยกตัวอย่างในหมวดที่สองเรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญ: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง” ตามลำดับเวลา อาทิ

-23 กรกฎาคม 2469: พระราชบันทึกเรื่อง “ปัญหาต่างๆของสยาม ” ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระยากัลยาณไมตรี
ซึ่งทรงแสดงพระราชดำริและตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆที่ต้องมีในรัฐธรรมนูญ เช่น ที่มาของพระมหากษัตริย์, พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์, การมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชน, สภานิติบัญญัติ, การจัดการให้มีสภาประชาภิบาล เป็นต้น

-27 กรกฎาคม 2469: บันทึกความเห็นของพระยากัลยาณไมตรี กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบันทึกแสดงความเห็นต่อประเด็นต่างๆในปัญหาต่างๆของสยาม หรือ “Problems of Siam” โดยพระยากัลยาณไมตรีเห็นว่า สยามยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบรัฐสภาและมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชน แต่พระยากัลยาณไมตรีเห็นด้วยกับการให้มีการสภาประชาภิบาล ในฐานะที่เป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนาการเมืองเพื่อเป็นรากฐานไปสู่ประชาธิปไตยในอนาคต

-27 กรกฎาคม 2469: ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Outline of Preliminary Draft

-8 มีนาคม 2474: ร่างรัฐธรรมนูญโดยนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ กับ พระยาศรีวิศาลวาจา

สำหรับหมวดที่หนึ่งว่าด้วย “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล: แนวพระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน” ศ.ดร.ไชยันต์ ให้ข้อมูล อาทิ

 

-12 สิงหาคม 2469 : ร่างพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เรื่อง “คิดจะจัดการประชาภิบาล” สืบเนื่องจากที่ทรงมีพระราชดำริเรื่องสภาประชาภิบาลในปัญหาต่างๆของสยาม และพระยากัลยาณไมตรีเห็นด้วยกับพระราชดำริดังกล่าว

-13 ตุลาคม 2470: หนังสือราชการ: พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เรื่อง “ความเห็นของกระทรวงการคลังฯในเรื่อง จะโอนเงินรายได้ของแผ่นดินไปเพิ่มรายได้สุขาภิบาลท้องที่อีก”

-20 ตุลาคม 2470: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง “สุขาภิบาล” และเรื่อง “ความเห็นของ เซอร์ เอ็ดวาร์ด กุ๊ก”

-18 พฤศจิกายน 2470: รายงานการประชุมอภิรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 เกี่ยวกับเรื่องการจัดสุขาภิบาลตามหัวเมือง, การเงินของสุขาภิบาล, การไปดูการจัดการ municipality ของประเทศใกล้เคียง, การตั้งกรรมการศึกษากิจการ municipality เป็นต้น

-28 พฤศจิกายน 2470: พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเรื่อง “กำหนดตัวผู้ที่จะเป็นกรรมการจัดการ ประชาภิบาล”

ศ.ดร.ไชยันต์ ระบุตอนท้ายว่า ในหมวดที่หนึ่งนี้ยังมีรายละเอียดอีกมาก โปรดติดตามตอนต่อไป
พร้อมระบุแหล่งอ้างอิง: สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475), หน้า 33-40)

(แหล่งอ้างอิง: สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475), หน้า 33-40)

ทั้งนี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนเข้ามาสอบถามศ.ดร.ไชยันต์ว่า “อาจารย์เหนื่อยกับการตอบ ท่าน ส.ไหมคะ” ซึ่งศ.ดร.ไชยันต์ก็เข้ามาคอมเมนต์ตอบว่า “ไม่เลยครับ”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย
"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
อย.ตรวจพบสารอันตรายใน อาหารเสริม “กัมมี่” แบรนด์ดัง เร่งดำเนินคดีตามกม.ผู้ผลิต
กระบะสี่ประตูถอยชนกระบะแคปในปั้มน้ำมันแล้วหนีไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น สาววัย 41 ปี เจ้าของกระบะแคปหวังเพียงคำขอโทษ
ตระกูล "สิงห์โตทอง" ทิ้งกระจาด ข้าวสาร-อาหารแห้ง 1 พันชุด ย้อนรำลึก "อดีตสส.ดรงค์ สิงห์โตทอง" ผู้ก่อตั้งสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี ในวันชาวไร่อ้อยชลบุรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น