"ส.ว." ติงทำประชามติผลาญภาษีทำ3ครั้งหมดหมื่นล้านยังไม่รวมตั้ง "ส.ส.ร." ถลุงไปอีกหมื่นล้าน ทำแค่ 2 หนก็มากเกินพอแล้ว หนุน "ศาลรธน." ชี้ขาดแก้ "รธน."คลายข้อสงสัยให้หมดเรื่อง
ข่าวที่น่าสนใจ
“ส.ว.” ติงทำประชามติตั้ง “ส.ส.ร.” ผลาญภาษีเพื่อแก้ “รธน.” หมด 2หมื่นล้านบาทคุ้มค่าหรือไม่
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายว่าการใช้รัฐธรรมนูญปี 60 มาแล้ว 6 – 7 ปี มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและมีข้อเสนอว่าจะต้องแก้ตรงนั้นตรงนี้มาตรานั้นมาตรานี้ แต่มีประเด็นทีจะต้องแก้ไข คือ 1.ที่มาขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะคุณสมบัติ เพราะ สว.โหวตเลือกมา 5 ปี ยากมาก 2.การได้มาซึ่ง สว.ที่จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.โดยเฉพาะกระบวนการที่จะได้มา 3.การปฏิรูปประเทศ แต่เวลาปฏิบัติจริงที่เป็นมรรคเป็นผลไม่มีเลย เป็นเพียงแค่ตัวหนังสือเท่านั้น แต่คนที่จะปฏิรูปจริงคือรัฐบาล การที่เสนอญัตติให้แก้ไขประชามติถึง 3 ครั้ง อะไรกันหนักหนาต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 และปี 60 ทำเพียงครั้งเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญปี 40 ก็ให้รัฐสภาลงมติ แต่ครั้งนี้แสดงว่าปวงชนชาวไทยซ้อนปวงชนชาวไทย ซึ่งการทำประชามติครั้งละ 3 พันล้านบาท รวม 3 ครั้งแล้วเกือบหมื่นล้าน แต่ยังไม่รวมการตั้ง ส.ส.ร.ก็ใช้เงินอีก 3 พันล้าน และทำงาน 1 – 2 ปี ใช้เงินอีกหมื่นล้านบาท จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่ต้องใช้เงินเกือบ 2 หมื่นล้าน แต่ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แค่ 2 ครั้งก็มากเกินพอแล้ว
“วันชัย” เห็นด้วยชง “ศาลรธน.” แก้ปัญหาคลายข้อสงสัย
ทั้งนี้เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว เมื่อผ่านสภาไปแล้วว่าจะมีการทำรัฐธรรมนูญ แล้วใช้การตั้ง ส.ส.ร.ถามไปคราวเดียวกันกับมาตรา 256 (8) เพราะเป็นเพียงปฐมบทเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้แก้ไขใหม่ แต่สมาชิกหลายคน หลายพรรคเห็นว่าถ้าทำไปแล้วจะมีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญและเสียของไปเปล่า เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้ง และประธานก็ไม่กล้าบรรจุ เกิดความขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นองค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ชอบแล้ว เพราะต่างฝ่ายก็มีข้อสงสัย ดังนั้น เพื่อหาข้อยุติก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลจะรับหรือไม่อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่สมาชิกรัฐสภาดำเนินการตามญัตตินี้ชอบแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง