“โรคกระดูกพรุน” คืออะไร ป้องกันได้ง่ายๆ แค่ทานไข่ 1 – 2 ฟอง?

โรคกระดูกพรุน คืออะไร ป้องกันได้ง่ายๆ แค่ทานไข่ 1 - 2 ฟอง?

"โรคกระดูกพรุน" ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

TOP News รายงานประเด็น กินไข่ ช่วยป้องกัน “โรคกระดูกพรุน” จริงหรือไม่ หมอหมู เผยการศึกษาใหม่ล่าสุด บริโภคทั้งฟองอย่างน้อย 3.53 ออนซ์ต่อวัน มีระดับความหนาแน่นของมวลกระดูก ในกระดูกโคนขาและกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อะไรคือสาเหตุโรค กระดูกพรุน อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ รู้ให้ไวป้องกันกระดูกหัก

ข่าวที่น่าสนใจ

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

ไข่ป้องกัน “โรคกระดูกพรุน” ?

หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยการศึกษาใหม่ พบว่า การบริโภค ไข่ มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่มากขึ้นในประชากรสหรัฐอเมริกา งานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 19,000 คน โดยผู้เข้าร่วมที่บริโภคไข่ทั้งฟองอย่างน้อย 3.53 ออนซ์ต่อวัน (ประมาณไข่ขนาดใหญ่ 2 ฟอง) มีระดับความหนาแน่นของมวลกระดูก ในกระดูกโคนขาและกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ไข่ เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นอาหารเช้าที่มีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังมีโปรตีนในปริมาณปานกลาง (ประมาณ 6 กรัมต่อไข่ไก่ขนาดใหญ่ 1 ฟอง) อย่างไรก็ตาม ผู้คนอาจไม่หันมาใช้ ไข่ เพื่อปกป้องสุขภาพกระดูกของตน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ไข่ ไม่ได้อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งมีเพียง 24 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2% ของปริมาณที่แนะนำต่อวันของผู้ใหญ่

แต่จากการศึกษา ไข่ จะกระตุ้นกลุ่มของเอนไซม์ในร่างกายที่เรียกว่า อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (ALP) ซึ่งสามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงได้

นอกจากผลของเอนไซม์แล้ว ไข่ ยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย เช่น ไข่มีวิตามินดี ซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับกระดูกที่แข็งแรง นอกจากนี้ ไข่ยังเต็มไปด้วยโปรตีน สังกะสี และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพกระดูกโดยรวม และที่สำคัญโปรตีนในไข่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความสามารถในการสร้างกระดูก

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

“โรคกระดูกพรุน” ?

โรค กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรค กระดูกพรุน คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง

โรค กระดูกพรุน มักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรค กระดูกพรุน จนเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก โดยจุดเสี่ยงกระดูกหักจากโรค กระดูกพรุน อาทิ กระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือ ต้นแขนบริเวณไหล่ เป็นต้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรค กระดูกพรุน ได้แก่

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มวลกระดูกจะต้องลดลง เป็นผลให้เปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม
  2. การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยลง
  3. กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  4. ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไต และตับ
  5. โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก
  6. การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูก หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล
  7. การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์เร่งการสลาย หรือรบกวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์

ส่วนการป้องกันโรค กระดูกพรุน สามารถลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก ได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
  2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  3. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน และมีค่าความเป็นกรดสูง
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  6. ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

กินไข่กี่ฟอง?

นับเป็นเวลาหลายปีแล้วที่การอภิปรายเกี่ยวกับ ไข่ เต็มไปด้วยความกังวลว่า ไข่ จะนำไปสู่ คอเลสเตอรอลสูง หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตาม การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ไข่ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจได้ และ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ยังสนับสนุนให้ชาวอเมริกันรับประทาน ไข่ ทุกวัน เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง

การศึกษาชี้ให้เห็นว่า การบริโภค ไข่ ในระดับปานกลาง (ประมาณ 1 – 2 ฟองต่อวัน) ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับ คอเลสเตอรอล ในบุคคลที่มีสุขภาพดี สำหรับผู้ที่มี คอเลสเตอรอล สูงอยู่แล้ว ควรปรึกษาเรื่องการบริโภค ไข่ กับแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว การทานไข่ประมาณ 1 – 2 ฟองต่อวัน จะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและกระดูกได้

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คอหวยไม่พลาด!! แห่ทุ่มแทงเลข 711 ป้ายทะเบียนรถหน่วยกู้ภัยเพชรเกษมเมืองคอน-หลังช่วยทำคลอดฉุกเฉินบนรถกู้ภัย - ชี้ สถิติหวย 6 งวด ที่ผ่านมา เลขท้าย 3 ตัวรางวัลที่ 1 ออกเลขคู่เลขหามถึง 5 งวดเชื่องวดวันที่ 1 ธันวาคมยัง มีความเป็นไปได้สูงที่จะออกเลขคู่เลขหามอีกครั้ง
"อัจฉริยะ" เข้าให้การตำรวจกองปราบ แฉพฤติกรรม "ทนายตั้ม" สร้างพยานเท็จนาน 6 ปี
รองผู้ว่า ฯเมืองคอนสั่งลุยหารือคณะทำงานร่วมพิจารณารับรองคุณภาพสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เป็นศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูก่อนลงพื้นที่ตรวจกองร้อย อสจ.นครศรีธรรมราชที่ 1 เปิดดำเนินการสถานพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพิ่มอีก 1 แห่ง
กรมที่ดิน ชี้แจงรายละเอียดที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน ตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
"ศาลรธน." แจงเหตุผล ลงมติไม่รับคำร้อง 6 ประเด็น เอาผิด "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไว้พิจารณา
MEA ชูพลังงานสะอาด เปิดสถานีชาร์จ EV ณ MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางไร้มลพิษ
สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น