logo

“ไบโพลาร์” ไม่ใช่เรื่องตลก 7 วิธีรับมืออย่างเข้าใจและเหมาะสม

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก 7 วิธีรับมืออย่างเข้าใจและเหมาะสม

"ไบโพลาร์" ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

TOP News ชวนเข้าใจ “ไบโพลาร์” ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นคำว่า Bipolar ผ่านตาผ่านหูให้ได้ยินกันบ่อยครั้ง คำดังกล่าวมาจากโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่คนเข้าใจในภาพรวมว่าเป็นคนที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวดีใจเสียใจสลับกันไปมา ซึ่งก็ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ผิด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องตลก ที่จะเอามาล้อเล่น ถ้าหากมีคนใกล้ตัวเป็น Bipolar ขึ้นมาล่ะ เราจะมีวิธีพูดสื่อสารอย่างเข้าใจ รับมืออย่างเหมาะสมได้อย่างไรกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

“ไบโพลาร์” ?

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่เรามักเรียกกันทั่วไปว่า ไบ โพ ลาร์ (Bipolar Disorder) สาเหตุสำคัญเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด สารเสพติด การเลี้ยงดู เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า สลับอารมณ์ดีผิดปกติ ราวกับเป็นคนละคน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ แบ่งเป็น

  1. โรค ไบ โพ ลาร์ วัน (Bipolar I) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะอารมณ์ดีอย่างผิดปกติ หรือ แมเนีย (Mania) สลับกับช่วงซึมเศร้า (Depressed) หรือบางรายอาจมีอาการ แมเนีย เพียงอย่างเดียวก็ได้ โดยในกลุ่มนี้อาการ แมเนีย จะชัดเจน
  2. โรค ไบ โพ ลาร์ ทู (Bipolar II) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะอารมณ์ซึมเศร้า (Depressed) สลับกับสภาวะอารมณ์ดีอย่างไม่รุนแรง (Hypomania) หลายครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้าเพราะมีอารมณ์เศร้าที่คล้ายคลึงกัน
  3. โรคไซโคลโทมิก (Cyclothymic disorder) หรือโรคอารมณ์หมุนเวียน เป็นโรคที่มีอาการระหว่างภาวะซึมเศร้า (Depressed) และอารมณ์ดีอย่างไม่รุนแรง (Hypomania) โดยมีอาการเป็นจำนวนมาก แต่ไม่รุนแรง
  4. กลุ่มโรค ไบ โพ ลาร์ อื่น ๆ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีอาการแสดงของภาวะอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ แต่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยของ ไบโพลาร์วัน ไบโพลาร์ทู และไซโคลโทมิก ซึ่งการวินิจฉัยโรคนี้ จะต้องให้จิตแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย?

ผู้ป่วยโรค ไบ โพ ลาร์ จะเกิดการแบ่งอารมณ์เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน ได้แก่ ขั้วอารมณ์คึกคัก (Mania) หรืออารมณ์ดีผิดปกติ และขั้วซึมเศร้า (Depress) โดยระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละขั้วอาจยาวนานหลายวัน หรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์

อารมณ์ของผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง ๆ บางคนอาจมีอารมณ์คึกคักก่อน แล้วจึงมีอาการแบบซึมเศร้าขึ้นมา หรืออาจจะสลับกับอาการปกติต่อเนื่องกันไป โดยอารมณ์ดีผิดปกติ อาทิ

  • คึกคัก มีกำลังวังชา
  • ไม่ยอมหลับ
  • พูดมาก
  • หงุดหงิดง่าย
  • เชื่อมั่นในตัวเองสูง
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • มีอารมณ์ทางเพศสูง

ส่วนอารมณ์เศร้าผิดปกติ ได้แก่

  • เศร้า หดหู่
  • ไม่อยากพบใคร
  • ไม่อยากทำอะไร
  • คิดช้า ไม่มีสมาธิ
  • คิดลบ
  • คิดสั้น เป็นต้น

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

สัญญาณเตือน?

โรค “ไบโพลาร์” เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ไบ โพ ลาร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
  • มีอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์
  • พูดเร็ว
  • หงุดหงิดง่ายในบางกรณี
  • ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • อารมณ์ดีมากเกินไป หรือที่เรียกว่า ไฮเปอร์
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง

วิธีรับมือ Bipolar ?

วันนี้เราได้รวบรวมวิธีคุยกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ มาไว้แล้ว เชื่อว่าหากได้นำวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กับแนวทางการสื่อสารของตนเอง จะสามารถอยู่ร่วมกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ ได้อย่างเข้าใจและมีความสุขได้ ดังนี้

  1. ไม่ว่าจะช่วงซึมเศร้าหรือช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ หลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยก็อาจจำเป็นต้องมีคนข้าง ๆ คอยช่วยเหลือ เราจึงควรบอกว่า ฉันอยู่ข้าง ๆ และพร้อมที่จะช่วยเหลือเธอนะ
  2. หลายครั้งผู้ป่วยมักเกิดการด้อยค่าและโทษตนเองถึงสิ่งที่เป็นอยู่ เราสามารถอยู่ร่วมโดยเข้าใจและบอกกลับไปว่า มันไม่ใช่ความผิดของเธอนะ
  3. ถามและพูดคุยในเรื่องของอาการ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตนเอง เช่น ช่วงเวลาไหนที่เธอมักจะอารมณ์เศร้า และเธอจัดการอารมณ์ยังไง หรือ เวลาที่ความคิดแล่นเข้ามาในหัวจนเยอะไปหมด เธอจัดระเบียบความคิดอย่างไร เป็นต้น
  4. ฉันยังเป็นเพื่อนเธอเหมือนเดิมนะ นี่คืออีก 1 วิธีสื่อสารกับคนที่เป็น ไบ โพ ลาร์ เพราะหลายคนจะหลีกเลี่ยงพูดคุย หรือตีตัวออกห่างไม่อยากอยู่ร่วม จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าแย่
  5. หลีกเลี่ยงคำว่า ฉันเข้าใจนะ แม้วิธีพูดกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ นี้อาจดูเหมือนเป็นคำที่ดี แต่ก็ไม่เสมอไป ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ อาจเข้าใจผิด ให้ลองพูดว่า ฉันอยากเข้าใจนะ ช่วยเล่าให้ฉันฟังหน่อยได้ไหม
  6. สะท้อนในสิ่งที่เขาเป็นและประสบอยู่ เช่น ฉันเห็นนะว่าสำหรับเธอมันคงยากลำบากมาก ๆ แบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเรานั้นสามารถรับรู้ได้ถึงความยากลำบากของเขาโดยไม่เป็นการตัดสิน หรือตีความจากความเชื่อของตัวเราเอง
  7. ชื่นชมในสิ่งที่ดีของเขา ไม่ว่าจะเป็นการที่เขานั้นไปหาคุณหมอและทานยาอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาในการจัดการอารมณ์ที่ดีขึ้น การที่เราชื่นชมในส่วนที่เขาทำได้ดี ก็จะเป็นกำลังใจที่ดีมาก ๆ สำหรับเขา

การรักษา?

ในปัจจุบัน โรค ไบ โพ ลาร์ สามารถรักษาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ ที่รับการรักษา สามารถกลับมาใช้ชีวิต ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น

  1. การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติ
  2. การบำบัดทางด้านสังคมจิตใจ รับการปรึกษาและการทำจิตบำบัด
  3. คนรอบข้างช่วยกันดูแล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรับการรักษา

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ ที่เข้ารับการรักษา จะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน คนรอบข้างก็ต้องทำความเข้าใจและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ เพราะโรค ไบ โพ ลาร์ สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 – 90 โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ เหตุการณ์สะเทือนใจ เหตุการณ์พลิกผันในชีวิต ภาวะเครียด และการใช้สารเสพติด

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น