วันที่9 ก.ย. 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Anan Jongkaewwattana” ระบุว่า
ผลวัคซีนสูตรไขว้ Version จีน
การใช้ Sinovac ร่วมกับวัคซีนรูปแบบ Viral Vector คงไม่ใช่เป็นงานที่ทำแต่ในประเทศไทยแล้วหล่ะครับ ทีมวิจัยของจีนได้เผยแพร่ผลการทดสอบการใช้วัคซีนแบบไขว้ในอาสาสมัครที่ได้รับ Sinovac 1 เข็ม และ 2 เข็ม ตามด้วย วัคซีน Viral Vector ที่พัฒนาขึ้นในประเทศจีน ชื่อว่า Convidecia ซึ่งเป็น Adenovirus 5-based COVID-19 vaccine ที่พัฒนาโดยบริษัท CanSino Biologics
กลุ่มที่ทำการเก็บข้อมูลจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ
Group A : SV+SV+Ad5
Group B : SV + SV +SV
Group C : SV + Ad5
Group D : SV + SV
โดย Group A และ B คือ กลุ่ม 3 เข็ม และ Group C และ D คือ กลุ่ม 2 เข็ม ทีมวิจัยเก็บข้อมูลทั้งในมิติของระดับภูมิคุ้มกันทั้งแอนติบอดี และ เม็ดเลือดขาว T cell ตลอดจน เรื่องของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น (รายละเอียดอ่านได้จากเอกสารด้านล่าง) เรื่องของภูมิคุ้มกันที่สำคัญคือค่า Antibody ที่ยับยั้งไวรัสได้ จะพบว่า
NAb ที่ 2 สัปดาห์หลังเข็มสุดท้าย A = 197.4 , B = 33.6 , C = 54.4 , D = 12.8
NAb ที่ 4 สัปดาห์หลังเข็มสุดท้าย A = 150.3 , B = 35.3. C = 49.6 , D =10.6
ตัวเลขจะเห็นว่า การกระตุ้นด้วย Ad5 สามารถได้ค่า NAb ที่สูงกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีน Sinovac เอง สอดคล้องกับผลที่ทีมประเทศไทยได้มา แต่ข้อน่าสังเกตคือ จุด peak มันเกิดขึ้นที่ 2 สัปดาห์ แต่ 2 สัปดาห์ต่อมาค่า NAb เริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในกลุ่ม A
ส่วนข้อมูล T cell ดูไม่แตกต่างกันมากในแต่ละกลุ่มครับ