รู้จัก “เรือพระที่นั่ง” ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567

รู้จัก "เรือพระที่นั่ง" ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ลTOP News รายงานประเด็น “เรือพระที่นั่ง” ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว สำหรับเรือ พระที่นั่ง และ เรือรูปสัตว์ จำนวน 14 ลำ ที่ กองทัพเรือ ได้ดำเนินการซ่อมทำ ให้แก่ กรมศิลปากร เพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ ตามแผนปฏิบัติงานการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วันนี้ จะพาไปรู้จัก เรือพระราชพิธี และ เรือพระที่นั่ง ทั้ง 4 ลำ กัน

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

เรือพระราชพิธี “เรือพระที่นั่ง” ?

เรือพระราชพิธี เป็นเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค อันเป็นริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นเมื่อพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธี หรือในการส่วนพระองค์ในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาติ และขนบธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำ และพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามโบราณราชประเพณีสืบเนื่องตลอดมา เรือพระราชพิธีบรรจงสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีต แสดงภูมิปัญญาของช่างหลายแขนง ทั้งช่างแกะสลัก ช่างรัก ช่างประดับกระจก ช่างไม้ ช่างเขียน เป็นต้น

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

“เรือพระที่นั่ง” สุพรรณหงส์

เรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือ พระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือ พระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์

หัวเรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์นี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัว หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน ทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่น ๆ

สำหรับ เรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า เวิลด์ชิปทรัสต์ (World Ship Trust) เมื่อพุทธศักราช 2535

เรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณ์ เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394)

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

หัวเรือ พระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือ จักร สังข์ คฑา และ ตรีศูล แสดงว่าทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล

โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญา และมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน

เรือ พระที่นั่งอนันตนาคราช

ชื่อเรือ พระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤต แปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาคหรืองู ทั้งหลาย ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้น พระองค์จึงควรมีเรือ พระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราช ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทม บน พญาอนันตนาคราช ในช่วงกาลดับสลายและเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่

เรือ พระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏชื่อว่า เรือ พระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช ส่วนเรือ พระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2457

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์ – พัดโบก – พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน

เรือ พระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

เรือ พระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่สำเร็จในรัชกาลที่ 5 ดังจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2426 มีว่า เรือ พระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์นี้ “โปรดให้ทำขึ้นด้วยเป็นเรือแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำค้างไว้โปรดให้ต่อโขนใหม่ สลักลายนาคทั่วไปทั้งลำ พื้นกระจกขาวลายนาคนั้น เป็นทอง พื้นท้องทาสีชมภู”

เรือ พระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งที่งดงามมากอีกลำหนึ่ง ภายในทาสีแดง ภายนอกสีชมพู มีลายนาคขดพันกันมากมายสมชื่ออเนกชาติภุชงค์ คือนาคจำนวนมาก

รู้จัก เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

Cr. phralan

เรือ พระที่นั่งนี้ มีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 61 นาย ใช้พายทอง พายท่านกบิน

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ใช้เรือพระราชพิธี จำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น 2,200 นาย และงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

‘แอ็คมี่’ นักธุรกิจนักลงทุนหมื่นล้าน หนุนประเทศไทยใช้ Bitcoin เป็นกองทุนสำรอง
อย่ากระพริบตา... ตามไปดูสนามเลือกตั้ง นายก อบจ. เมืองคอนกระแสน้ำวาริน ชิณวงศ์ สร้างปาฏิหาริย์ล้มบ้านใหญ่ ได้จริงหรือไม่-ในขณะที่คอการเมืองชี้บ้านใหญ่"เดชเดโช กนกพร"นอนมากำชัยชนะเป็นนายก อบจ. รอบ 2 อย่างแน่นอน
มติสภากทม.ไฟเขียว งบรายจ่ายเพิ่มปี 68 กว่า 1.4 หมื่นล้าน นำใช้คืนหนี้ BTS
“อี้ แทนคุณ” รัวบาลีใส่ไม่ยั้ง “พระปีนเสา” อ้าปากหวอ-แปลไม่ถูก แถขับรถบิณฑบาตไม่ผิด
ชื่นชมน้องรดายอดกตัญญูขายข้าวไข่เจียวหน้าโรงเรียนเพื่อส่งตนเองเรียนและเลี้ยงแม่ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้าย
ชื่นชม 2 นร. ม. 2 เก็บกระเป๋าเงินได้ โร่ แจ้ง ตร. ส่งคืนเจ้าของ
คอหวยไม่พลาด!! แห่ทุ่มแทงเลข 711 ป้ายทะเบียนรถหน่วยกู้ภัยเพชรเกษมเมืองคอน-หลังช่วยทำคลอดฉุกเฉินบนรถกู้ภัย - ชี้ สถิติหวย 6 งวด ที่ผ่านมา เลขท้าย 3 ตัวรางวัลที่ 1 ออกเลขคู่เลขหามถึง 5 งวดเชื่องวดวันที่ 1 ธันวาคมยัง มีความเป็นไปได้สูงที่จะออกเลขคู่เลขหามอีกครั้ง
"อัจฉริยะ" เข้าให้การตำรวจกองปราบ แฉพฤติกรรม "ทนายตั้ม" สร้างพยานเท็จนาน 6 ปี
รองผู้ว่า ฯเมืองคอนสั่งลุยหารือคณะทำงานร่วมพิจารณารับรองคุณภาพสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เป็นศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูก่อนลงพื้นที่ตรวจกองร้อย อสจ.นครศรีธรรมราชที่ 1 เปิดดำเนินการสถานพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพิ่มอีก 1 แห่ง
กรมที่ดิน ชี้แจงรายละเอียดที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน ตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น