เบียร์ สรณัฐ "หัวใจวาย" พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช พี่สาวโพสต์อาลัยสุดเศร้า 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?
ข่าวที่น่าสนใจ
เรื่องเศร้าคนบันเทิง
เพจเฟซบุ๊ก ดาราภาพยนตร์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความแจ้ง ข่าวเศร้าของวงการบันเทิงอีกครั้ง กับการจากไปของ เบียร์ สรณัฐ มัสยวานิช นักแสดงที่เคยมีผลงานละครซิทคอมในตำนานที่ครองใจผู้ชมมาอย่างยาวนาน เรื่อง เฮง เฮง เฮง กับบท อาเล้ง และผลงานละครอีกมาก ภายหลังหายหน้าจากหน้าจอการแสดงไปทำงานเบื้องหลัง โดยผันตัวมาเป็นนักดนตรีและโปรดิวเซอร์เพลง ค่าย Summer Sun Records
โดยพิธีสวดอภิธรรม ณ ศาลารับรองหน้าเมรุ วัดบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 8 – 9 – 10 เมษายน 2567 และพิธีฌาปนกิจ วันที่ 11 เมษายน เวลา 16 นาฬิกา 9 นาที ณ เมรุวัดบางพูน
“หัวใจวาย” ?
หัวใจวาย หรือ หัวใจล้มเหลว หมายถึง หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตายไป อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาที และไม่ทุเลาโดยการพักหรือการได้รับยา เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ อย่ารอนานหลายชั่วโมงกว่าจะขอความช่วยเหลือ เพราะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้น จะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีในชั่วโมงแรกที่เกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ ถือเป็นชั่วโมงทองที่ควรรีบแก้ไขในทันที จะช่วยบรรเทาความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักษาชีวิตไว้ได้ โดยสาเหตุหัวใจ วาย ได้แก่
- เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจลดลง
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบรุนแรง ทำให้การสูบฉีดเลือดลดลง หรือลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน ทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
- กลุ่มโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ
- ผู้หญิงครรภ์เป็นพิษ
โรคหัวใจเจ็บหน้าอก?
สำหรับอาการอย่างไรถึงเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจนั้น ได้แก่
- เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก
- อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร
- เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย
- อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน
- อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1 – 10 นาที
- รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร
และหากมี 3 อาการต่อไปนี้ อาจกำลังบ่งบอกว่าหัวใจกำลังจะวายหรือล้มเหลว จึงควรสังเกตอย่างใกล้ชิด ได้แก่
- เหนื่อยง่าย อาการเหนื่อยอาจบ่งบอกว่าหัวใจมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งความรุนแรงของโรคมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำ หากมีอาการเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา มักจะสื่อถึงความผิดปกติที่รุนแรง
- แสบแน่นหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ อาการแสบแน่นหน้าอกที่บ่งบอกว่าหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่จะแน่นบริเวณกลางหน้าอก อาจมีปวดร้าวจากคอขึ้นไปกราม มีอาการตึง ๆ ชา ๆ ที่หัวไหล่ไปถึงช่วงแขน รู้สึกเหมือนมีของหนักทับ หากมีอาการเหล่านี้นานเกิน 20 นาที อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
- อึดอัดเวลานอนราบ อาการอึดอัดเวลานอนราบอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ปริมาณน้ำในหัวใจเพิ่มขึ้นจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติค่อนข้างรุนแรง
“หัวใจวาย” ใครเสี่ยง?
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่เส้นเลือดหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบกับสุขภาพในอนาคตได้ จึงแนะนำให้ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงและชอบอาหารมัน ๆ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คนอ้วน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เครียดง่ายและเครียดบ่อย หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน ตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากรู้ถึงความเสี่ยงโรคหัวใจโดยเร็ว ย่อมสามารถปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คหัวใจเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้ในระยะยาว
การป้องกัน?
- สำหรับการป้องกันโรคหัวใจ วาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีดังต่อไปนี้ คือ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่
- ลดความเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาการเจ็บเค้นหัวใจ เป็นสัญญาณเตือนว่าหลอดเลือดหัวใจเริ่มตีบแคบลง อาจเกิดหัวใจ วาย ได้ ถ้าลักษณะของอาการเจ็บเค้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น เจ็บบ่อยขึ้นหรือเจ็บเค้นหน้าอก แม้ไม่ได้ออกแรงมากเหมือนที่เคย เป็นต้น และยิ่งถ้ามีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน หรือมีปัจจัยเสี่ยงด้วยแล้ว โอกาสที่จะเกิดหัวใจ วาย ยิ่งสูงมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง