“สภาทนายความฯ” ตั้งทีมช่วยปชช.รับผลกระทบ เผย 6 แนวทางดำเนินคดี ขน “กากแคดเมียม”

สภาทนายความฯ เผยในฐานะองค์กรด้านกฎหมาย ที่เคยเข้าไปช่วยเหลือเป็นปากเสียงให้ประชาชน ชาวจ.ตาก ฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการ เหมืองแร่สังกะสี ถึง 6คดี นับตั้งแต่ปี 56 จึงหารือรมว.ยุติธรรมพร้อมวาง 6 แนวทาง ช่วยประชนผู้ได้รับผลกระทบ “กากแคดเมียม” ในคดีปกครองและคดีแพ่ง

“สภาทนายความฯ” ตั้งทีมช่วยปชช.รับผลกระทบ เผย 6 แนวทางดำเนินคดี ขน “กากแคดเมียม”- Top News รายงาน

สภาทนายความฯ

วันนี้ (18 เม.ย. 67) ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อม นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ นางทัดดาว จตุรภากร กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าวให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย กรณีได้รับผลกระทบจากการขุดและส่งต่อกากแร่แคดเมียม จากบ่อฝังกลบโรงงานถลุงแร่สังกะสีใน จ.ตาก พร้อมเสนอข้อเรียกร้องมาตรการด้านกฎหมาย

นายวิเชียร กล่าวว่า จากกรณีการลักลอบขนย้าย “กากเเคดเมียม” จากสถานที่ฝังกลบในพื้นที่ จ.ตาก ไปยังพื้นที่โรงงานใน จ.สมุทรสาคร จ.ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อให้เกิดข้อสงสัย เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีภาระบทบาทสำคัญในฐานะองค์การด้านกฎหมาย คือ ปกป้อง คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชน

ประกอบกับตั้งแต่ปี 2556 สภาทนายความฯ ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง กับกรณีแร่กากแคดเมียม เนื่องจาก ได้รับข้อร้องขอช่วยเหลือทางกฎหมายจากชาวบ้านในพื้นที่ ต.แม่กุ ต.แม่ตาว ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก รวมกว่า 1,000 คน ที่ได้รับผลกระทบ จากการทำเหมืองแร่สังกะสี และได้ยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ชาวบ้าน 6 คดี ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งมี 3 คดีสิ้นสุดในชั้นอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ชาวบ้าน ส่วนอีก 3 คดี อยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลฎีกา

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยสภาทนายความได้มีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยคดีอาญา ให้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษดูแลส่วนคดีปกครองและคดีแพ่ง ขอให้สภาทนายความฯดูแล โดยกําหนด 6 แนวทาง ดังนี้

1.แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

2.ดำเนินการเรียกร้องและดำเนินคดีตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองมลพิษหรือแหล่งกำเนิดมลพิษ

3.ดำเนินการเรียกร้องและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐที่อนุญาตให้ขนย้าย

4.เรียกร้องให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจเลือดและปัสสาวะประชาชน จ.ตาก และชุมชนโดยรอบโรงงานถลุงแร่สังกะสี ที่ได้รับผลกระทบ

5. เรียกร้องให้ภาครัฐให้ผลักดันและผ่านการออกกฎหมายเกี่ยวกับการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ เพื่อเป็นมาตรการให้ผู้ประกอบการต้องเปิดเผยข้อมูลการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการผลิตในโรงงานและตรวจสอบบ่อดักตะกอนแคดเมียมและบ่อฝังกลบกากตะกอนแคดเมียมในบ่อฝังกลบภายในโรงงานว่าปฏิบัติตามขั้นตอนของรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

6. สุดท้ายขอให้นํากากแคดเมียม ทั้งหมดที่ตรวจพบไปกำจัดหรือฝังกลบในโรงงานที่มีใบอนุญาตประเภท 101 หรือโรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม “Central Waste Treatment” ฝังกลบกากของเสียอันตรายเท่านั้น

 

ด้าน นางทัดดาว กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนว่า ขณะนี้ทราบว่า มีการสุ่มตรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนตัวมองว่าควรจะต้องตรวจทุกคนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมถึงผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบคุ้มครองด้านสุขภาพ แม้จะต้องใช้เวลา 5-10 ปี ก็ตาม เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของประชาชน ขณะที่ ว่า ร.ต.สมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการฝ่ายคดีและปฏิบัติการ กล่าวทิ้งท้ายฝากถึงผู้เกี่ยวข้องให้ดําเนินการตรวจสอบหลุมฝั่งกลบต่างๆว่ามีการแอบลักลอบขุดแคดเมียมออกมาใช้ประโยชน์หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น