ดราม่า “ใบรับรองแพทย์” ประณามหมอ ลาป่วยไม่ถึง 3 วันไม่มีได้?

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ประณามหมอ ลาป่วยไม่ถึง 3 วันไม่มีได้?

ดราม่า "ใบรับรองแพทย์" ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

TOP News รายงานประเด็น “ใบรับรองแพทย์” ดราม่าตั้งกระทู้ประณามหมอไม่เขียนให้หยุดเพื่อจะเอาไปลางาน Drama-addict ขออธิบายให้คนไข้เข้าใจ ล่าสุด เจ้าของโพสต์ลบแล้ว พร้อม ๆ ข่าวว่า คุณหมอไปแจ้งความดำเนินคดีให้เอาผิดแล้วเช่นกัน ว่าแต่ลืมไปหรือเปล่า กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน คือลา 1 หรือ 2 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้ ส่วนถ้าปลอมใบรับรองแพทย์ เลิกจ้างได้ทันที ไม่ต้องเตือนก่อน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ข่าวที่น่าสนใจ

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

ดราม่า “ใบรับรองแพทย์” ?

Drama-addict ระบุถึงโพสต์ดราม่า กรณีตั้งกระทู้ประณามหมอไม่เขียนให้ลาหยุดเพื่อจะเอาไปลางาน ล่าสุดลบโพสต์ไปแล้ว คือ เจ้าของโพสต์ เล่าว่า เป็นหวัด ไอเจ็บคอ เลยไปหาหมอที่ รพ. ตอนเที่ยงคืน (ซึ่งไปที่ ER แน่ ๆ เพราะทั้ง รพ. เปิดแค่จุดเดียว) แล้วเขาโพสต์ว่า ถ้าจะต้องมา รพ. วันรุ่งขึ้น เพื่อขอใบรับรอง แพทย์ ไปลางาน น่าจะต้องรอคิวนาน คนเยอะ เลยขอให้หมอออก ใบ รับ รอง แพทย์ ให้ตอนนั้นเลย จะเอาไปลางาน หมอก็ไม่ให้ แล้วก็มีปากเสียงกัน หมอออกใบรับรองให้เต็มที่ว่ามาตรวจแค่วันนั้น ไม่ออกใบรับรองว่าให้ลาหยุดต่อ เขาก็เลยเอามาโพสต์ประณามหมอลงเฟซ ซึ่งทัวร์ลงยับ ๆ ขออธิบายให้คนไข้เข้าใจ ดังนี้

  1. ER มีไว้ดูแลเคสฉุกเฉิน จริง ๆ ถ้าเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ อาการไม่มาก จริง ๆ ไม่ควรมาห้องฉุกเฉิน (ยกเว้นอาการหนักมากจริง ๆ หน้ามืด ใจสั่น ความดันตก เหนื่อย แน่นหน้าอก แบบนั้นโอเค)
  2. หมอออกใบรับรอง แพทย์ ให้ตามข้อเท็จจริง ถ้าหมอเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหยุด ก็เขียนไปตามนั้น เขียนตามที่คนไข้บอกไม่ได้ เพราะถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หมอเขียนไป คุกนะ
  3. การคิดว่า ถ้ามาวันเวลาปรกติแล้วคนจะเยอะ เลยมาตอนกลางคืนที่ห้องฉุกเฉิน อันนี้ไม่ควร เพราะถ้าคนคิดแบบนี้กันหมด แห่กันมาห้องฉุกเฉินทั้งที่อาการไม่หนัก ไม่จำเป็นต้องมาที่ ER รักษาที่ OPD ก็ได้ แต่ไม่อยากรอคิว

ห้องฉุกเฉินจะกลายเป็นคลินิกนอกเวลาทันที แล้วถ้ามีเคสหนัก ๆ มานี่ เราจะแบ่งทรัพยากรที่มีจำกัดได้ยากมาก แถมหมออาจเหน็ดเหนื่อยหมดแรงไปกับการดูเคสไม่หนักที่มากันมหาศาลนอกเวลาราชการ

ดังนั้น ขอให้ท่านที่ป่วยไม่หนัก โปรดเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องมา ER ให้กินยาตามอาการก่อน แล้วมารอคิวที่คลินิกผู้ป่วยนอกในวันรุ่งขึ้นในเวลาราชการ และเข้าคิวรออย่างเสมอภาคกัน

ถ้าหนักจริง ๆ ไป ER ได้ เพราะที่นั่นแบ่งคิวตามความหนักเบาของอาการ ยิ่งใกล้ตุยเท่าไหร่ก็ยิ่งได้คิวเร็วเท่านั้น

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

กฎหมายแรงงาน?

เพจ กฎหมายแรงงาน ให้ข้อมูลเอาไว้ กรณีถ้าลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน นายจ้างอาจให้แสดง “ใบรับรองแพทย์” ได้ ดังนั้น การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันจึงต้องมีใบรับรอง แพทย์ เพราะถ้านายจ้างให้แสดง ใบ รับ รอง แพทย์ (แต่ถ้าไม่มีจริง ๆ กฎหมายให้ชี้แจงได้) แล้วไม่มี หรือไม่อาจชี้แจงได้ว่าทำไมไม่มี อาจเป็นเหตุให้นายจ้างอ้างว่าไม่ป่วยจริง และเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาทำงาน 3 วันได้

ด้วยเหตุที่กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย เช่นนี้ นายจ้างจะออกกฎระเบียบให้ขัด หรือแย้งกับที่กฎหมายเขียนไว้ โดยเขียนว่า ลาป่วย 1 ถึง 2 วัน ต้องมีใบรับรอง แพทย์ ย่อมเป็นโมฆะ เพราะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยผลของกฎหมาย (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม. 32)

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

ส่วนลาป่วยบ่อยได้หรือไม่ กฎหมายแรงงานกำหนดว่า ให้ลูกจ้างลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง หมายความว่า จะใช้สิทธิลากี่วันก็ได้ ถ้าป่วยจริง ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาได้ แต่ถ้าลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน ต้องมีใบรับรอง แพทย์ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น

แม้กฎหมายให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่การที่นายจ้างได้คนที่ป่วยมาทำงาน ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ว่า ลูกจ้างคนนั้นเป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เมื่อหย่อนสมรรภาพในการทำงาน นายจ้างจึงสามารถหยิบเอาเหตุลาป่วยบ่อย แม้การป่วยจะน่าเห็นใจ แต่นายจ้างก็นำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างลูกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (ตาม ม.49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ) แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะเลิกจ้างด้วยเหตุที่ลูกจ้างป่วยไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย

และคิดดี ๆ คิดใหม่ ถ้าลูกจ้างจะปลอมใบ รับ รอง แพทย์ เพราะแม้จะมีปัญหาว่า ข้อบังคับฯ ของนายจ้าง ไม่ได้ระบุว่าการปลอมใบ รับรอง แพทย์ เป็นเรื่องร้ายแรง แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความร้ายแรงอยู่ในตัวการกระทำนั้น เช่นนี้ แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องเตือนก่อนก็สามารถเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ดราม่า ใบรับรองแพทย์ ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ท็อปนิวส์ร่วมยินดี "ยุพา" รับตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ พร้อมนำความรู้ความสามารถ ขับเคลื่อนงานอย่างเต็มกำลัง
ระทึก! ไฟไหม้ ‘เครื่องบินรัสเซีย’ กลางรันเวย์ในตุรกี
“บิ๊กเต่า” ลั่น เตรียม “กุญแจมือ” เป็นของขวัญเหล่าอินฟลูฯ
ผู้นำสูงสุดอิหร่านชี้เนทันยาฮูควรโดนโทษประหาร
ฮิซบอลเลาะห์ยิงจรวด 250 ลูกถล่มอิสราเอลในวันเดียว
“ไอซ์ รักชนก” ระทึกหนัก ศาลนัดพิจารณาคำร้องขอถอนประกันคดี 112 พรุ่งนี้
รู้ตัวแล้วโจรขโมยรองเท้าที่โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น
หนุ่มเกาหลีใต้ถูกจำคุกหลังกินหนักหวังหนีทหาร
“อานนท์ นำภา” ยื่นขอประกันตัว คดี112 ลั่นยอมรับทุกเงื่อนไขศาล ยินดีติดกำไล EM
"สภาพัฒน์" สรุปไตรมาส 3/67 หนี้สินครัวเรือนลดลง ว่างงานพุ่ง 4.1 แสนคน จับตา NPL สูงขึ้น 12.2%

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น