“ปิยบุตร” พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

"ปิยบุตร" พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

ปิยบุตร” พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 67 นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ถ้ารัฐบาลอยากทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยไม่แตะหมวด 1,2 ก็ไม่ควรเสี่ยงกับประชามติ 3 ครั้ง

โดยระบุว่า จุดยืนผมสนับสนุนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ การทำใหม่ทั้งฉบับก็คือ การทำใหม่ทุกหมวด ทุกมาตราอยู่แล้ว มีข้อห้ามแค่เพียงห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครองเท่านั้น ในอดีต 40 ,50 ,60 ก็ปรับปรุงสองหมวดนี้มาโดยตลอด ผมเองก็เห็นว่าในหมวด 1 และหมวด 2 มีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง และเคยยกร่างเป็นแบบไว้แล้ว แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาลประสงค์จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ก็ไม่ควรเดิน “เกมเสี่ยง” ใช้ประชามติ 3 ครั้ง แต่ควรเลือกทางที่ปลอดภัยกว่า ทางใด ทางหนึ่ง ดังนี้

ปิยบุตร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. ดำเนินการตามมติคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงที่สภาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 67 ที่ยืนยันทำประชามติ 2 ครั้ง คือ สส.เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภา ก็ต้องมาประชามติ ครั้งที่ 1 เมื่อผ่านก็เลือก สสร.มาทำใหม่ เมื่อได้ร่างใหม่ ก็เอามาประชามติครั้งที่ 2 หากอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ให้ดี ศาลไม่ได้บอกว่าต้องทำ 3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง หากแก้ในรัฐสภาเพื่อเปิดทางให้มี สสร.ก่อน ก็ต้องไปจบที่ประชามติตามมาตรา 256 อยู่แล้ว เมื่อมี สสร.มาร่างใหม่โดย สสร.นี้ ก็ต้องไปจบที่ประชามติ เช่นนี้ ก็เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ แต่ถ้ายังกังวลกันอีก ก็สามารถอธิบายได้ว่าการทำใหม่แบบไม่แก้ หมวด 1,2 ย่อมไม่ใช่การทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ในความหมายที่ปรากฏในคำวินิจฉัย 4/64

 

2. ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 รายมาตรา ตั้งแต่ มาตรา 25-มาตรา 279 ไปเลย เว้น มาตรา 1-24 ในหมวด 1 และ 2 ไว้ อาจบอกกันว่าแก้รายมาตราจะไปติด สว.อีก แต่สภาพดุลอำนาจตอนนี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะคุยกับ สว.รู้เรื่องกว่าแต่ก่อน และเดือนหน้า สว.250 คน ก็จะพ้นไปแล้ว การใช้วิธีนี้จะเป็นการไม่แก้ หมวด 1,2 โดยไม่ต้องพูดชัดแจ้งว่าจะไม่แก้หมวด 1,2 ให้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา การใช้วิธีนี้เป็นการยกประเด็นการแก้เรื่องหมวด 1 หมวด 2 ออกไปจากรัฐสภาโดยปริยาย สมาชิกและประชาชน ก็ต้องมาโฟกัสหมวดอื่นๆแทน

 

ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่รัฐบาลต้องการ ไม่แตะหมวด 1,2 โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับประชามติรอบแรกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะถ้าไม่ผ่าน พวกสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 60 จะยิ่งอ้างความชอบธรรมมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา และประหยัดเงิน 3,200 ล้านบาท

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น