“สถาพร” ชี้ชัดแก่นแท้คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เตือนอย่าวิจารณ์แบบผิดๆ ด้วยความเขลาของตัวเอง

"สถาพร" ชี้ชัดแก่นแท้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เตือนอย่าวิจารณ์แบบผิดๆ ด้วยความเขลาของตัวเอง

Top news รายงาน วันที่ 8 พ.ค.2567 นายสถาพร เกื้อสกุล ผู้ประกาศข่าวสถานี Top News ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sathaporn Kuasakul-ถา สถาพร เกื้อสกุล ระบุว่า

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่าวิจารณ์ความพอเพียง ด้วยความเขลาของตัวเอง มีแต่คนพูดเรื่อง “พอเพียง” แล้วอะไรคือพอเพียง ที่พวกคุณเข้าใจกัน ดังนั้นวันนี้ ก็อยากจะให้ความกระจ่าง กับคำว่า “พอเพียง” พอเพียง คือ หลักการดำเนินชีวิตโดยยึดแนวทางสายกลาง อันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน หรือประเทศชาติ ให้สามารถรับมือได้กับทุกการเปลี่ยนแปลงในสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
ตามพระราชดำริของพระองค์ จึงเกิดเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” แนวทางการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย และสามารถเอาไปกฎิบัติจริงกับทุกคน ทุกวัย ทุกอาชีพ
เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย “เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข”
เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
– ความพอประมาณ คือ การเดินทางสายกลาง ที่ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป
– ความมีเหตุผล คือ การดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงเหตุผล ความเกี่ยวข้อง และความจำเป็น
– การมีภูมิคุ้มกัน คือ การตื่นรู้ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบต่างๆ
เศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
– เงื่อนไขความรู้ คือ การสร้างองค์ความรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเตรียมวางแผนการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
– เงื่อนไขคุณธรรม คือ หลักคุณธรรมที่ควรยึดถือไว้เสมอ ขณะดำเนินชีวิตประจำวันตามทางสายกลาง
ถ้าดูจากรายละเอียดทั้งหมด ก็จะเข้าใจได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การทำการเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ แบบที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นการใช้ชีวิต ที่รู้จักตน รู้จักประมาณ ไม่ฟุ้งเฟ้อ เกินตัว ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไร คุณก็พอเพียงในวิถีของตัวเองเท่านั้นเอง
ดังนั้น ผมจึงขอยกพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาให้ได้อ่านกันอีกครั้ง จะได้คิด ไตร่ตรอง ก่อนที่จะพูดหรือวิจารณ์ด้วยการขาดความเขลา
“ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ 200-300 บาท ขึ้นไปเป็น 2 หมื่น 3 หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียง ไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันที่​ 17 มกราคม พ.ศ.2544
สถาพร เกื้อสกุล
8 พ.ค.2567

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น