“วราวุธ” ดึง 6 มหาวิทยาลัย “พัฒนาศักยภาพคนพิการ” จ้างงาน – สร้างอาชีพ

“วราวุธ” ระบุ พม. ดึง 6 มหาวิทยาลัย พัฒนาศักยภาพคนพิการ จ้างงาน - สร้างอาชีพเพิ่มทดแทนแรงงานที่หายไป

“วราวุธ” ดึง 6 มหาวิทยาลัย “พัฒนาศักยภาพคนพิการ” จ้างงาน – สร้างอาชีพ – Top News รายงาน

วราวุธ

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 67 ที่อาคาร Knowledge Exchange (KX) กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานแถลงข่าว เปิดตัวโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพผ่านโมเดลการฝึกอบรม – ฝึกงานคนพิการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย และสมาคมคนพิการ

นายวราวุธ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับภาคีเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัย 5 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเครือข่าย ซึ่งล้วนแต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมที่จะขยายผลและสนับสนุนคนพิการให้ก้าวไปสู่การมีศักยภาพ พร้อมที่จะทำงานมีรายได้ในการดำรงชีพอย่างยั่งยืน วันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่จะเริ่มต้นนำร่องโครงการดังกล่าว โดยมีคนพิการ จำนวน 300 คน เข้าร่วม ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้ง 6 สถาบัน ได้สำรวจความต้องการจ้างงานคนพิการในพื้นที่ แล้วนำมาออกแบบเป็นหลักสูตรที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าหมาย คือ คนพิการที่เข้ารับการอบรม ฝึกทักษะแล้ว สถานประกอบการจะมั่นใจได้ว่า จะมีศักยภาพพร้อมทำงานได้ทันที สามารถรองรับการจ้างงานตามมาตรา 33 และยังมีหลักสูตรพิเศษที่ฝึกให้คนพิการ พร้อมเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

นายวราวุธ กล่าวว่า โครงการฯ นี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพของคนพิการผ่านการ Upskill และ Reskill สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวง พม. ที่ส่งเสริมและผลักดันหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการภาคเอกชน ได้จ้างงานคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะตามมาตรา 33 ที่กำหนดให้สถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่คนพิการ 100 คน จะต้องจ้างพนักงานคนพิการ 1 คน และหากไม่มีการจ้างงานคนพิการจะต้องดำเนินการตามมาตรา 34 ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ มาตรา 35 การให้สิทธิประโยชน์ต่อคนพิการ ทั้งนี้ เป้าหมายของกฎหมายดังกล่าว คือให้โอกาสและเปิดพื้นที่ให้คนพิการได้แสดงศักยภาพด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนพิการและครอบครัว โดยเฉพาะขณะนี้ประเทศไทยเรากำลังประสบปัญหาจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดน้อยลง และผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงจำนวนคนที่อยู่ในวัยแรงงานเริ่มจะน้อยลง กระทรวง พม. จึงมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้มีการจ้างงานคนพิการ ซึ่งจะสามารถทดแทนแรงงานในสังคมที่หายไปได้

นายวราวุธ กล่าวว่า ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งบุคลากร สถานที่ เครือข่าย และองค์ความรู้ในการพัฒนา นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษา ซึ่งจะก้าวเข้าสู่วัยแรงงาน ได้เรียนรู้ Disabilities Awareness หรือ การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสามารถของคนพิการ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณและชื่นชมมหาวิทยาลัย ทั้ง 6 แห่ง สำหรับความร่วมมือครั้งนีั ซึ่งกระทรวง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อการพัฒนางานด้านคนพิการอย่างยั่งยืน

พัฒนาศักยภาพคนพิการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น